“ชัยพฤกษ์” รับห่วงยอดรับ ปวช.ลดเหตุ สพฐ.ปรับเกณฑ์รับเด็ก ม.4 ใหม่ เบนเป้าหมายเร่งประชาสัมพันธ์ดึงเด็กหันมาเรียนในวิทยาลัยเกษตรฯ และวิทยาลัยการอาชีพเพิ่มมากขึ้น
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีนโยบายจะเพิ่มจำนวนผู้เรียนในสายอาชีพให้มากขึ้นนั้น ในปีการศึกษา 2556 สอศ.วางเป้าหมายไว้ว่า จะต้องรับเด็กในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไม่น้อยกว่าเดิม ซึ่งเดิมอยู่ที่ 15,000-17,000 คน และรับเด็กประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ให้เพิ่มขึ้น จากเดิม 100,000 คน โดยที่ผ่านมาพบว่ามีผู้เรียนระดับปวส.เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคิดว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยที่สำคัญ คือ ความต้องการแรงงานในระดับ ปวส.มีมากขึ้น และเด็กยังมองเห็นอนาคตแล้วว่าถ้ามาเรียนในสายอาชีพ จะสามารถเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้ ขณะเดียวกันในส่วนของ สอศ.เองปีหน้าจะเริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจำนวนผู้เรียนระดับ ปวช.ปีนี้ คิดว่า อาจจำนวนผู้เรียนจะน้อยลง โดยตัวแปรที่เป็นผลกระทบสำคัญ คือ นโยบายการรับนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ประกาศให้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียน ม.4 โรงเรียนเดิมที่เกรดเฉลี่ย 1.5 และการขยายห้องเรียนชั้น ม.4 ของหลายโรงเรียน จึงคิดว่าจะกระทบกับเด็กที่จะมาเรียนปวช.มากพอสมควร รวมถึงตัวแปรอื่นๆ เช่นค่านิยมของผู้ปกครอง เป็นต้น
“แม้ตัวแปรดังกล่าวจะมีผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ในความเป็นจริง สพฐ.ยังมีข้อจำกัดในเชิงกายภาพ ทั้งจำนวนห้องเรียนและอาคารเรียนที่ใช้อย่างเต็มที่แล้ว ส่วนที่สองคือข้อจำกัดในเรื่องครูที่ยังขาดแคลนจำนวนมาก ขณะเดียวกัน สพฐ.ได้ประกาศนโยบายจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ดังนั้น สพฐ.คงจะไม่เพิ่มปริมาณ โดยการไปไปลดหย่อนคุณภาพ” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า การรับเด็กในปีการศึกษา 2556 สอศ.จะเน้นประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นในวิทยาลัยการอาชีพและวิทยาลัยเกษตร ส่วนในเขตเมืองไม่น่าจะมีปัญหามากนัก เพราะที่ผ่านมา พบว่า จำนวนเด็กเข้าเรียนมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะ วิทยาลัยเทคนิค มีการแข่งขันสูงมาก ยิ่งถ้าเป็นวิทยาลัยอาชีวะที่มีโครงการพิเศษ เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ การแข่งขันบางแห่งสูงกว่าโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดบางแห่ง
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีนโยบายจะเพิ่มจำนวนผู้เรียนในสายอาชีพให้มากขึ้นนั้น ในปีการศึกษา 2556 สอศ.วางเป้าหมายไว้ว่า จะต้องรับเด็กในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไม่น้อยกว่าเดิม ซึ่งเดิมอยู่ที่ 15,000-17,000 คน และรับเด็กประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ให้เพิ่มขึ้น จากเดิม 100,000 คน โดยที่ผ่านมาพบว่ามีผู้เรียนระดับปวส.เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคิดว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยที่สำคัญ คือ ความต้องการแรงงานในระดับ ปวส.มีมากขึ้น และเด็กยังมองเห็นอนาคตแล้วว่าถ้ามาเรียนในสายอาชีพ จะสามารถเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้ ขณะเดียวกันในส่วนของ สอศ.เองปีหน้าจะเริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจำนวนผู้เรียนระดับ ปวช.ปีนี้ คิดว่า อาจจำนวนผู้เรียนจะน้อยลง โดยตัวแปรที่เป็นผลกระทบสำคัญ คือ นโยบายการรับนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ประกาศให้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียน ม.4 โรงเรียนเดิมที่เกรดเฉลี่ย 1.5 และการขยายห้องเรียนชั้น ม.4 ของหลายโรงเรียน จึงคิดว่าจะกระทบกับเด็กที่จะมาเรียนปวช.มากพอสมควร รวมถึงตัวแปรอื่นๆ เช่นค่านิยมของผู้ปกครอง เป็นต้น
“แม้ตัวแปรดังกล่าวจะมีผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ในความเป็นจริง สพฐ.ยังมีข้อจำกัดในเชิงกายภาพ ทั้งจำนวนห้องเรียนและอาคารเรียนที่ใช้อย่างเต็มที่แล้ว ส่วนที่สองคือข้อจำกัดในเรื่องครูที่ยังขาดแคลนจำนวนมาก ขณะเดียวกัน สพฐ.ได้ประกาศนโยบายจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ดังนั้น สพฐ.คงจะไม่เพิ่มปริมาณ โดยการไปไปลดหย่อนคุณภาพ” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า การรับเด็กในปีการศึกษา 2556 สอศ.จะเน้นประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นในวิทยาลัยการอาชีพและวิทยาลัยเกษตร ส่วนในเขตเมืองไม่น่าจะมีปัญหามากนัก เพราะที่ผ่านมา พบว่า จำนวนเด็กเข้าเรียนมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะ วิทยาลัยเทคนิค มีการแข่งขันสูงมาก ยิ่งถ้าเป็นวิทยาลัยอาชีวะที่มีโครงการพิเศษ เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ การแข่งขันบางแห่งสูงกว่าโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดบางแห่ง