เครือข่ายเยาวชนฯ พบ “พงศ์เทพ” วอนผลักดัน กม.ร้านเหล้ารอบสถานศึกษาให้มีผลบังคับใช้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เผยผลสำรวจพบกว่า 70% เยาวชนอยากให้รัฐเข้มงวดหวังหวังลดนักดื่มหน้าใหม่ โดยเฉพาะอยากให้ออกประกาศ ศธ.ถึงทุกสถานศึกษาไม่ร่วมทำกิจกรรม CSR กับ บ.น้ำเมา
วันนี้ (27 พ.ย.) ที่อาคารรัฐสภา นายธีรภัทร คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และนักเรียนนักศึกษาจากเครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ จำนวน 30 คน เข้าพบนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้เร่งผลักดันมาตรการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีผลบังคับใช้ โดย นายธีรภัทร กล่าวว่า ขณะนี้มีร้านเหล้า ผับ บาร์รอบสถานศึกษาจำนวนมากทั้งที่มีใบอนุญาตและไม่มีใบอนุญาต จึงทำให้การเข้าถึงง่าย และผู้ขายส่วนใหญ่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งที่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ส่งผลให้เยาวชนกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มถึง 26,000 รายต่อปี นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนที่ก่อคดีจนต้องอยู่ในสถานพินิจฯ มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งพบกว่า 60% ดื่มสุราก่อนก่อเหตุ สอดคล้องกับการที่เครือข่ายฯ ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และร้านเหล้ารอบสถานศึกษาจาก 5 พื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม ที่ผ่านมา จำนวน 1,703 ราย อายุ 15-25 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 100% มีประสบการณ์การดื่มหรือเคยเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนจุดเริ่มต้นในการทดลองดื่ม คือ เบียร์ 36% เหล้าปั่น 34% และเหล้าสี 21% ตามลำดับ
จากข้อมูลดังกล่าว ยังชี้ให้เห็นว่า 76% เชื่อว่า ถ้ามีร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษา จะเป็นแรงจูงใจให้เยาวชนดื่มและเข้าถึงได้ง่าย ส่วนใหญ่จึงต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการควบคุมดูแลอย่างจริงจัง และการควบคุมเข้มงวดการขายใกล้สถานศึกษา เพราะจะช่วยลดผลกระทบและลดการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ได้ ที่ผ่านมาเกือบทุกร้านใช้กลยุทธ์ดึงดูดให้เข้าไปใช้บริการ เช่น ใช้ดนตรีเรียกแขก จัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ใช้หญิงสาวบริการ หรือบริการส่งถึงที่ เป็นต้น ขณะที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำการตลาดแฝงในรูปแบบ CSR ที่มุ่งไปที่เด็กและเยาวชน จัดแคมเปญเข้ามหาวิทยาลัย มีกิจกรรมภายนอกสถานศึกษา ซึ่ง ศธ.ยังไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะป้องกันแก้ไขปัญหานี้ ต่างจากประเด็นบุหรี่ที่ ศธ.ได้มีนโยบายและประกาศออกมาชัดเจน จึงมีข้อเสนอกับ ศธ.ดังต่อไปนี้
1.ขอให้ ศธ.เร่งผลักดันมาตรการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา กับกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีผลบังคับใช้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว 2.ขอให้ ศธ.ออกประกาศไปยังสถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีการทำกิจกรรม CSR ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดกับสถาบันการศึกษา ทั้งในและนอกสถานที่ ตลอดจนห้ามไม่ให้รับสปอนเซอร์ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ3.ขอให้สถาบันการศึกษาจัดรณรงค์ให้ความรู้ถึงพิษภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ด้าน นายพงศ์เทพ กล่าวว่า การที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่บริเวณรอบสถานศึกษาต่างๆ มากขึ้น หรือบางแห่งอยู่ติดสถานศึกษา ยิ่งทำให้สะดวกแก่นักศึกษามากขึ้นที่จะใช้บริการ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง จึงจะพยายามไม่ให้นักศึกษาตกเป็นเป้าหมายต่อไปของผู้ที่ค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะรับข้อเสนอไปพิจารณา ตัวอย่างที่ได้พบเห็นคือ ในปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วมงานคืนสู่เหย้าโรงเรียน พบเห็นนักเรียนหญิงอายุไม่ถึง 18 ปี นั่งดื่มเบียร์ในงานเลี้ยงของโรงเรียน จึงจะกลับไปตั้งคำถามในกระทรวงศึกษาธิการ ว่า ทำไมงานเลี้ยง หรือการจัดงานรื่นเริงในสถานศึกษาบางกรณี จึงมีข้อยกเว้นให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ส่วนในบางแห่งก็ดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร จะให้เงินสนับสนุนเจ้าภาพที่จัดงานเลี้ยงในบริเวณอำเภอ หากไม่มีการบริการสุราหรือเบียร์ในงานเลี้ยงของตน จะได้รับเงินจำนวน 5,000-10,000 บาท เพราะเงินดังกล่าวถือว่าคุ้มมาก เมื่อเทียบกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากงานเลี้ยง
“การผลักดันทำความเข้าใจเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากจะต้องรณรงค์ทำความเข้าใจกับเยาวชนที่อาจจะกลายนักดื่มหน้าใหม่ เพื่อให้เป็นเกราะคุ้มกันตนเองแล้ว ควรจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่ดื่มเป็นประจำด้วย เพราะคนกลุ่มนี้แม้จะรณรงค์อย่างไรก็คงจะดื่มต่อไป ดังนั้น ควรจะแยกกลุ่มรณรงค์ให้เห็นถึงผลเสียหรือโทษของการดื่มแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นมากกว่า” รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับกฎหมายหรือมาตรการควบคุมต่างๆ ในการบังคับใช้นั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมจะผลักดันมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย และหากเครือข่ายต้องการให้มีส่วนร่วมรณรงค์เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ก็พร้อมยินดีให้การสนับสนุนต่อไป
วันนี้ (27 พ.ย.) ที่อาคารรัฐสภา นายธีรภัทร คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และนักเรียนนักศึกษาจากเครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ จำนวน 30 คน เข้าพบนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้เร่งผลักดันมาตรการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีผลบังคับใช้ โดย นายธีรภัทร กล่าวว่า ขณะนี้มีร้านเหล้า ผับ บาร์รอบสถานศึกษาจำนวนมากทั้งที่มีใบอนุญาตและไม่มีใบอนุญาต จึงทำให้การเข้าถึงง่าย และผู้ขายส่วนใหญ่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งที่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ส่งผลให้เยาวชนกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มถึง 26,000 รายต่อปี นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนที่ก่อคดีจนต้องอยู่ในสถานพินิจฯ มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งพบกว่า 60% ดื่มสุราก่อนก่อเหตุ สอดคล้องกับการที่เครือข่ายฯ ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และร้านเหล้ารอบสถานศึกษาจาก 5 พื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม ที่ผ่านมา จำนวน 1,703 ราย อายุ 15-25 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 100% มีประสบการณ์การดื่มหรือเคยเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนจุดเริ่มต้นในการทดลองดื่ม คือ เบียร์ 36% เหล้าปั่น 34% และเหล้าสี 21% ตามลำดับ
จากข้อมูลดังกล่าว ยังชี้ให้เห็นว่า 76% เชื่อว่า ถ้ามีร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษา จะเป็นแรงจูงใจให้เยาวชนดื่มและเข้าถึงได้ง่าย ส่วนใหญ่จึงต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการควบคุมดูแลอย่างจริงจัง และการควบคุมเข้มงวดการขายใกล้สถานศึกษา เพราะจะช่วยลดผลกระทบและลดการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ได้ ที่ผ่านมาเกือบทุกร้านใช้กลยุทธ์ดึงดูดให้เข้าไปใช้บริการ เช่น ใช้ดนตรีเรียกแขก จัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ใช้หญิงสาวบริการ หรือบริการส่งถึงที่ เป็นต้น ขณะที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำการตลาดแฝงในรูปแบบ CSR ที่มุ่งไปที่เด็กและเยาวชน จัดแคมเปญเข้ามหาวิทยาลัย มีกิจกรรมภายนอกสถานศึกษา ซึ่ง ศธ.ยังไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะป้องกันแก้ไขปัญหานี้ ต่างจากประเด็นบุหรี่ที่ ศธ.ได้มีนโยบายและประกาศออกมาชัดเจน จึงมีข้อเสนอกับ ศธ.ดังต่อไปนี้
1.ขอให้ ศธ.เร่งผลักดันมาตรการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา กับกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีผลบังคับใช้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว 2.ขอให้ ศธ.ออกประกาศไปยังสถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีการทำกิจกรรม CSR ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดกับสถาบันการศึกษา ทั้งในและนอกสถานที่ ตลอดจนห้ามไม่ให้รับสปอนเซอร์ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ3.ขอให้สถาบันการศึกษาจัดรณรงค์ให้ความรู้ถึงพิษภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ด้าน นายพงศ์เทพ กล่าวว่า การที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่บริเวณรอบสถานศึกษาต่างๆ มากขึ้น หรือบางแห่งอยู่ติดสถานศึกษา ยิ่งทำให้สะดวกแก่นักศึกษามากขึ้นที่จะใช้บริการ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง จึงจะพยายามไม่ให้นักศึกษาตกเป็นเป้าหมายต่อไปของผู้ที่ค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะรับข้อเสนอไปพิจารณา ตัวอย่างที่ได้พบเห็นคือ ในปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วมงานคืนสู่เหย้าโรงเรียน พบเห็นนักเรียนหญิงอายุไม่ถึง 18 ปี นั่งดื่มเบียร์ในงานเลี้ยงของโรงเรียน จึงจะกลับไปตั้งคำถามในกระทรวงศึกษาธิการ ว่า ทำไมงานเลี้ยง หรือการจัดงานรื่นเริงในสถานศึกษาบางกรณี จึงมีข้อยกเว้นให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ส่วนในบางแห่งก็ดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร จะให้เงินสนับสนุนเจ้าภาพที่จัดงานเลี้ยงในบริเวณอำเภอ หากไม่มีการบริการสุราหรือเบียร์ในงานเลี้ยงของตน จะได้รับเงินจำนวน 5,000-10,000 บาท เพราะเงินดังกล่าวถือว่าคุ้มมาก เมื่อเทียบกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากงานเลี้ยง
“การผลักดันทำความเข้าใจเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากจะต้องรณรงค์ทำความเข้าใจกับเยาวชนที่อาจจะกลายนักดื่มหน้าใหม่ เพื่อให้เป็นเกราะคุ้มกันตนเองแล้ว ควรจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่ดื่มเป็นประจำด้วย เพราะคนกลุ่มนี้แม้จะรณรงค์อย่างไรก็คงจะดื่มต่อไป ดังนั้น ควรจะแยกกลุ่มรณรงค์ให้เห็นถึงผลเสียหรือโทษของการดื่มแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นมากกว่า” รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับกฎหมายหรือมาตรการควบคุมต่างๆ ในการบังคับใช้นั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมจะผลักดันมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย และหากเครือข่ายต้องการให้มีส่วนร่วมรณรงค์เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ก็พร้อมยินดีให้การสนับสนุนต่อไป