อึ้ง! คนไทยตกอยู่ในสภาวะแน่นิ่ง ไม่ขยับร่างกายมากถึง 13.4 ชั่วโมงต่อวัน ขยับเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น เป็นบ่อเกิดภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง ขณะที่เด็กมีภาวะอ้วนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เหตุแม่บำรุงร่างกายเยอะ ส่งผลคลอดยาก 5 ราชวิทยาลัยร่วม สสส.ลงนาม MOU เตรียมปรับหลักสูตรการสอนแพทย์ พยาบาล ในการจัดการปัญหาอ้วน
วันนี้ (22 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินโรคอ้วนและอ้วนลงพุง เพื่อประสานความร่วมมือและดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ
ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ กล่าวว่า คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนมากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจเมื่อปี 2552 พบว่า อัตราส่วนผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนคือ 1 ต่อ 3 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งพบอัตราส่วนที่ 1 ต่อ 5 คน ทั้งนี้ คนอ้วนส่วนใหญ่จะมีไขมันที่หน้าท้องมาก และมักเพิ่มมากภายในช่องท้องด้วย เรียกว่า กลุ่มโรคไขมันในช่องท้องเกิน (Metabolic Syndrome) นำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ โดยรอบพุงที่เพิ่มทุก 5 เซนติเมตร จะเพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 3-5 เท่า ดังนั้น ยิ่งพุงใหญ่เท่าไร ยิ่งตายเร็วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานแก้ปัญหาภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงนั้น จะต้องทำงานในรูปแบบของเครือข่าย จึงนำมาสู่การลงนาม MOU ของสถาบันด้านสุขภาพ เพื่อจัดการโรคอ้วนแบบบูรณาการให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มวัย
รศ.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผอ.สำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส.กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนไทยเกิดภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นคือ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งจากการวิจัยพบว่าในเวลา 1 วันหรือ 24 ชั่วโมงนั้น คนไทยมีการเคลื่อนไหวขยับร่างกายน้อยหรือที่เรียกว่าอาการแน่นิ่งสูงมาก คือ 13.4 ชั่วโมงสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 6-7 ชั่วโมง ขณะที่อัตราการเคลื่อนไหวร่างกายมีแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 6 ชั่วโมง ส่วนอีกประมาณ 8 ชั่วโมง คือ การนอนหลับพักผ่อน
“พฤติกรรมที่เข้าข่ายการแน่นิ่ง อาทิ นั่งอยู่บนรถขณะรถติด นั่งทำงาน นั่งฟังประชุมเสวนา นั่งแชท แม้แต่การนั่งเรียนก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมแน่นิ่ง ซึ่งขณะนี้เราพยายามรณรงค์ Active People เพื่อให้ประชาชนมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น และ Active Place คือให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ซึ่งต้องประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ อาทิ การวางผังเมืองเพื่อให้คนอยากเดินมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน กระทรวงคมนาคม ฯลฯ” รศ.วิลาสินี กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีน้ำหนักเกินถึงร้อยละ 19 เนื่องจากเด็กรับประทานมากขึ้น ยิ่งมีสื่อโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดพฤติกรรมเล่นไปกินไป ไม่มีการออกกำลังกาย ประกอบกับพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจผิดว่าเด็กยิ่งรับประทานได้เยอะจะยิ่งมีสุขภาพดี ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะการอ้วนแต่เด็กจะทำให้มีเซลล์ไขมันเยอะ ตอนโตก็จะทำให้อ้วนง่าย และเป็นโรคเรื้อรังได้ง่าย นอกจากนี้ ภาวะอ้วนระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยง คือ มีโอกาสแท้งสูง ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง ทารกตายในครรภ์สูง โรคแทรกซ้อนสูง ทั้งเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ และความดัน รวมไปถึงเด็กมีน้ำหนักสูงกว่าปกติ ทำให้การคลอดแบบธรรมชาติยากขึ้น
“การรับประทานและบำรุงร่างกายมากๆ ระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้เด็กในครรภ์มีน้ำหนักเกิน ซึ่งปกติควรมีน้ำหนักไม่เกิน 3 กิโลกรัม แต่ทุกวันนี้เด็กบางรายคลอดออกมามีน้ำหนักมากถึง 4-5 กิโลกรัม ทำให้คลอดยากเนื่องจากติดไหล่เด็ก ซึ่งอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทของเด็ก ทำให้หมอสูติฯถูกฟ้องร้องมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อคลอดยากก็จะนำมาซึ่งการผ่าตัด ทำให้มีการตกเลือดมากขึ้น และน้ำหนักคุณแม่ก็ลดลงยาก ทั้งนี้ หากตั้งครรภ์คุณแม่ปกติควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 12-16 กิโลกรัม หากคุณแม่มีภาวะอ้วนควรมีน้ำหนักเพิ่มเพียง 5-9 กิโลกรัมเท่านั้น” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ด้าน ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ กล่าวว่า การลงนาม MOU ในครั้งนี้ เพื่อให้องค์กรวิชาชีพทั้ง 5 ด้าน มีความตระหนักถึงโรคอ้วน และไม่มองว่าการจัดการปัญหาอ้วนเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องดำเนินการด้วยตัวเอง แต่แพทย์สาขาต่างๆ และพยาบาลควรตระหนักและแนะนำวิธีปฏิบัติให้แก่ประชาชน จึงเตรียมที่จะดำเนินพันธกิจต่างๆ ร่วมกัน เช่น สร้างบัณฑิตให้มีความตระหนักรู้ มีแนวทางปฏิบัติในการจัดการโรคอ้วน รณรงค์ให้โรงเรียนแพทย์มีการใช้ดัชนีมวลกายมากกว่าดูเรื่องของส่วนสูงและน้ำหนัก เป็นต้น
ทั้งนี้ การลงนาม MOU ในครั้งนี้ จะประสานความร่วมมือ 5 เรื่อง ได้แก่ 1.รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการปัญหา 2.ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์และพยาบาล ให้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และอ้วนลงพุง 3.จัดอบรมแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการปัญหาตามวัยและสภาวะ 4.จัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติในการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และอ้วนลงพุง และ 5.ร่วมรณรงค์ในแต่ละบริบทที่เกี่ยวข้องจากการหารือร่วมกัน
วันนี้ (22 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินโรคอ้วนและอ้วนลงพุง เพื่อประสานความร่วมมือและดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ
ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ กล่าวว่า คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนมากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจเมื่อปี 2552 พบว่า อัตราส่วนผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนคือ 1 ต่อ 3 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งพบอัตราส่วนที่ 1 ต่อ 5 คน ทั้งนี้ คนอ้วนส่วนใหญ่จะมีไขมันที่หน้าท้องมาก และมักเพิ่มมากภายในช่องท้องด้วย เรียกว่า กลุ่มโรคไขมันในช่องท้องเกิน (Metabolic Syndrome) นำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ โดยรอบพุงที่เพิ่มทุก 5 เซนติเมตร จะเพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 3-5 เท่า ดังนั้น ยิ่งพุงใหญ่เท่าไร ยิ่งตายเร็วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานแก้ปัญหาภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงนั้น จะต้องทำงานในรูปแบบของเครือข่าย จึงนำมาสู่การลงนาม MOU ของสถาบันด้านสุขภาพ เพื่อจัดการโรคอ้วนแบบบูรณาการให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มวัย
รศ.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผอ.สำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส.กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนไทยเกิดภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นคือ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งจากการวิจัยพบว่าในเวลา 1 วันหรือ 24 ชั่วโมงนั้น คนไทยมีการเคลื่อนไหวขยับร่างกายน้อยหรือที่เรียกว่าอาการแน่นิ่งสูงมาก คือ 13.4 ชั่วโมงสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 6-7 ชั่วโมง ขณะที่อัตราการเคลื่อนไหวร่างกายมีแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 6 ชั่วโมง ส่วนอีกประมาณ 8 ชั่วโมง คือ การนอนหลับพักผ่อน
“พฤติกรรมที่เข้าข่ายการแน่นิ่ง อาทิ นั่งอยู่บนรถขณะรถติด นั่งทำงาน นั่งฟังประชุมเสวนา นั่งแชท แม้แต่การนั่งเรียนก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมแน่นิ่ง ซึ่งขณะนี้เราพยายามรณรงค์ Active People เพื่อให้ประชาชนมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น และ Active Place คือให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ซึ่งต้องประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ อาทิ การวางผังเมืองเพื่อให้คนอยากเดินมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน กระทรวงคมนาคม ฯลฯ” รศ.วิลาสินี กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีน้ำหนักเกินถึงร้อยละ 19 เนื่องจากเด็กรับประทานมากขึ้น ยิ่งมีสื่อโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดพฤติกรรมเล่นไปกินไป ไม่มีการออกกำลังกาย ประกอบกับพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจผิดว่าเด็กยิ่งรับประทานได้เยอะจะยิ่งมีสุขภาพดี ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะการอ้วนแต่เด็กจะทำให้มีเซลล์ไขมันเยอะ ตอนโตก็จะทำให้อ้วนง่าย และเป็นโรคเรื้อรังได้ง่าย นอกจากนี้ ภาวะอ้วนระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยง คือ มีโอกาสแท้งสูง ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง ทารกตายในครรภ์สูง โรคแทรกซ้อนสูง ทั้งเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ และความดัน รวมไปถึงเด็กมีน้ำหนักสูงกว่าปกติ ทำให้การคลอดแบบธรรมชาติยากขึ้น
“การรับประทานและบำรุงร่างกายมากๆ ระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้เด็กในครรภ์มีน้ำหนักเกิน ซึ่งปกติควรมีน้ำหนักไม่เกิน 3 กิโลกรัม แต่ทุกวันนี้เด็กบางรายคลอดออกมามีน้ำหนักมากถึง 4-5 กิโลกรัม ทำให้คลอดยากเนื่องจากติดไหล่เด็ก ซึ่งอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทของเด็ก ทำให้หมอสูติฯถูกฟ้องร้องมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อคลอดยากก็จะนำมาซึ่งการผ่าตัด ทำให้มีการตกเลือดมากขึ้น และน้ำหนักคุณแม่ก็ลดลงยาก ทั้งนี้ หากตั้งครรภ์คุณแม่ปกติควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 12-16 กิโลกรัม หากคุณแม่มีภาวะอ้วนควรมีน้ำหนักเพิ่มเพียง 5-9 กิโลกรัมเท่านั้น” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ด้าน ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ กล่าวว่า การลงนาม MOU ในครั้งนี้ เพื่อให้องค์กรวิชาชีพทั้ง 5 ด้าน มีความตระหนักถึงโรคอ้วน และไม่มองว่าการจัดการปัญหาอ้วนเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องดำเนินการด้วยตัวเอง แต่แพทย์สาขาต่างๆ และพยาบาลควรตระหนักและแนะนำวิธีปฏิบัติให้แก่ประชาชน จึงเตรียมที่จะดำเนินพันธกิจต่างๆ ร่วมกัน เช่น สร้างบัณฑิตให้มีความตระหนักรู้ มีแนวทางปฏิบัติในการจัดการโรคอ้วน รณรงค์ให้โรงเรียนแพทย์มีการใช้ดัชนีมวลกายมากกว่าดูเรื่องของส่วนสูงและน้ำหนัก เป็นต้น
ทั้งนี้ การลงนาม MOU ในครั้งนี้ จะประสานความร่วมมือ 5 เรื่อง ได้แก่ 1.รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการปัญหา 2.ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์และพยาบาล ให้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และอ้วนลงพุง 3.จัดอบรมแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการปัญหาตามวัยและสภาวะ 4.จัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติในการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และอ้วนลงพุง และ 5.ร่วมรณรงค์ในแต่ละบริบทที่เกี่ยวข้องจากการหารือร่วมกัน