ทปอ.ไม่สนเลื่อนกำหนดรวมอาเซียนล่าช้าไป 1 ปี เดินหน้าเลื่อนเปิดเทอมตามแผนที่วางไว้ เล็งจัดคอร์สปรับพื้นฐานช่วงรอยต่อให้ นศ.ใหม่ก่อนเปิดเทอมจริงเดือน ส.ค.
วันนี้ (20 พ.ย.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่จะมีการเปลี่ยนกำหนดการเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ที่เคยประกาศไว้ว่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 (ค.ศ.2015) แต่ทำท่าจะเลื่อนไปอีกเกือบ 1 ปี เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ค.ศ.2015) เนื่องจากความไม่พร้อมของสมาชิกบางประเทศ ว่า แม้จะมีการเลื่อนกำหนดการเข้าสู่อาเซียน แต่ ทปอ.ยังคงยืนยันเลื่อนกำหนดเปิด-ปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยเป็นตามที่ประกาศไว้ นั่นคือ ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียนกลางเดือน ส.ค.ถึงกลางเดือน ธ.ค.และภาคเรียนที่ 2 เปิดเรียนกลาง ม.ค.ถึงกลาง พ.ค.โดยจะเริ่มปีการศึกษา 2557 ทั้งนี้ การเลื่อนเปิดเทอมให้ตรงกับสากลนั้นเพื่อประโยชน์แก่นักศึกษา ไม่ใช่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมหาวิทยาลัย
ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อาจจะเลื่อนเปิดเทอมออกไป 20 วันตามข้อเสนอร่วมกันระหว่าง สพฐ.และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่จบชั้นปีที่ 4 สามารถเข้าฝึกสอนในโรงเรียนได้ทันเวลานั้น ประธาน ทปอ.กล่าวว่า หาก สพฐ.จะเลื่อนไป 20 วัน ก็ไม่มีผลกระทบใดๆ ซึ่ง ทปอ.เคยได้หารือกับทางคณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ.ว่า อาจจะให้นักศึกษาจากครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไปฝึกสอนเมื่อจบชั้นปี 2 หรือ 3 แทน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ อย่างไรก็ตาม ทปอ.ยืนยันมาแต่ต้นว่าไม่ต้องการให้โรงเรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลื่อนมาเปิดเทอมตรงกับ ทปอ.เพราะอยากให้นักเรียนที่จบการศึกษาและผ่านกระบวนการสอบระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือ แอดมิชชันกลาง ได้มีเวลาในการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย
“มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ.ได้หารือกันว่าในช่วงเวลารอยต่อประมาณ 4-5 เดือนก่อนเปิดเทอมกลางเดือน ส.ค.นั้น มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าว สอนปรับพื้นฐานให้กับนักเรียน คล้ายเป็นการเตรียม Pre-University ให้แก่นักศึกษาพอถึงเวลาเปิดเทอมเด็กก็จะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเต็มตัว เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เตรียมจะสอนภาษาอังกฤษ สอนวิชาพื้นฐานรวมถึงการแนะนำมหาวิทยาลัย เป็นต้น ตรงนี้เพื่อให้นักศึกษาไม่รู้สึกเคว้งคว้าง และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
วันนี้ (20 พ.ย.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่จะมีการเปลี่ยนกำหนดการเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ที่เคยประกาศไว้ว่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 (ค.ศ.2015) แต่ทำท่าจะเลื่อนไปอีกเกือบ 1 ปี เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ค.ศ.2015) เนื่องจากความไม่พร้อมของสมาชิกบางประเทศ ว่า แม้จะมีการเลื่อนกำหนดการเข้าสู่อาเซียน แต่ ทปอ.ยังคงยืนยันเลื่อนกำหนดเปิด-ปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยเป็นตามที่ประกาศไว้ นั่นคือ ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียนกลางเดือน ส.ค.ถึงกลางเดือน ธ.ค.และภาคเรียนที่ 2 เปิดเรียนกลาง ม.ค.ถึงกลาง พ.ค.โดยจะเริ่มปีการศึกษา 2557 ทั้งนี้ การเลื่อนเปิดเทอมให้ตรงกับสากลนั้นเพื่อประโยชน์แก่นักศึกษา ไม่ใช่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมหาวิทยาลัย
ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อาจจะเลื่อนเปิดเทอมออกไป 20 วันตามข้อเสนอร่วมกันระหว่าง สพฐ.และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่จบชั้นปีที่ 4 สามารถเข้าฝึกสอนในโรงเรียนได้ทันเวลานั้น ประธาน ทปอ.กล่าวว่า หาก สพฐ.จะเลื่อนไป 20 วัน ก็ไม่มีผลกระทบใดๆ ซึ่ง ทปอ.เคยได้หารือกับทางคณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ.ว่า อาจจะให้นักศึกษาจากครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไปฝึกสอนเมื่อจบชั้นปี 2 หรือ 3 แทน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ อย่างไรก็ตาม ทปอ.ยืนยันมาแต่ต้นว่าไม่ต้องการให้โรงเรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลื่อนมาเปิดเทอมตรงกับ ทปอ.เพราะอยากให้นักเรียนที่จบการศึกษาและผ่านกระบวนการสอบระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือ แอดมิชชันกลาง ได้มีเวลาในการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย
“มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ.ได้หารือกันว่าในช่วงเวลารอยต่อประมาณ 4-5 เดือนก่อนเปิดเทอมกลางเดือน ส.ค.นั้น มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าว สอนปรับพื้นฐานให้กับนักเรียน คล้ายเป็นการเตรียม Pre-University ให้แก่นักศึกษาพอถึงเวลาเปิดเทอมเด็กก็จะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเต็มตัว เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เตรียมจะสอนภาษาอังกฤษ สอนวิชาพื้นฐานรวมถึงการแนะนำมหาวิทยาลัย เป็นต้น ตรงนี้เพื่อให้นักศึกษาไม่รู้สึกเคว้งคว้าง และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์” ศ.ดร.สมคิด กล่าว