นักวิชาการไทย ร่วมค้านเปลี่ยนแหล่งอารยธรรม “เมส อาแน็ค” ในอัฟกานิสถาน เป็นเหมืองทองแดง ชี้ เป็นสถานที่สำคัญประเมินค่าด้วยเงินไม่ได้ เล็งล่ารายชื่อผู้คัดค้านส่งยูเนสโก ด้าน “เชฟหมี ครัวกากๆ” เผย โบราณสถาน คือ สมบัติของทุกคน ควรรักษาความรู้และความรู้สึกของคนโบราณไว้ ขณะที่เยาวชนจัดตั้ง “กลุ่มเอสมาไทย” แสดงพลังคัดค้านด้วย
ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงกรณีการปรับแหล่งอารยธรรม “เมส อาแน็ค (Mes Aynak)” ในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ให้กลายเป็นเหมืองทองแดงในเดือนธันวาคมนี้ ว่า เมส อาแน็ค เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่อายุ 5,000 กว่าปี ซึ่งไม่ได้เป็นมรดกทางอารยธรรมของประเทศอัฟกานิสถานเท่านั้น แต่ยังเป็นมรดกทางอารยธรรมของโลกอีกด้วย จึงขอวอนให้รัฐบาลอัฟกานิสถาน ฟังกระแสของชาวโลก ซึ่งต้องการปกป้องมรดกของโลก
“การที่รัฐบาลอัฟกานิสถาน มองเห็นถึงผลประโยชน์จากตัวเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของชาวโลกในระยะยาว นับว่าเป็นมูลค่าที่เล็กน้อยมาก เนื่องจากมรดกหรืออารยธรรมของโลกนั้น มีความเกี่ยวโยงกัน และมีความสำคัญต่อทุกประเทศในโลก และไม่สามารถประเมินค่าด้วยตัวเงินได้” ผศ.บุญส่ง กล่าว
ผศ.บุญส่ง กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการรวมตัวของเยาวชนที่ไม่ต้องการให้เกิดการทำลายแหล่งอารยธรรมดังกล่าวในนาม “กลุ่มเอสมาไทย (Save mes Aynak Thailand)” โดยได้จัดกิจกรรมต่างๆ เชิญชวนให้คนไทยร่วมกันแสดงพลังคัดค้านการทำลายแหล่งอารยธรรมอันล้ำค่า และร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลอัฟกานิสถานยุติการเปลี่ยนแหล่งอารยธรรม ‘เมส อาแน็ค’ ให้เป็นเหมืองทองแดง นอกจากนี้ จะร่วมขบวนการล่ารายชื่อผู้ที่สนใจคัดค้าน 50,000 รายชื่อส่งต่อองค์การยูเนสโกด้วย
“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องภายในประเทศอัฟกานิสถานเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของมวลมนุษยชาติ พวกเราทุกคนต้องช่วยกันปกป้องแหล่งอารยธรรม ‘เมส อาแน็ค’ ให้คงอยู่เป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ความเป็นมาของมนุษย์ ถ้าปล่อยให้ถูกทำลายหรือสูญสลายไป จะไม่สามารถหากลับคืนมาใหม่ได้” หนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเอสม่าไทย กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกจำนวนหนึ่งออกมาแสดงความเห็นคัดค้านต่อเรื่องดังกล่าวด้วย อาทิ นายคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง หรือ เชฟหมี ครัวกากๆ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ศ.พรสวรรค์ วิสุทธิวิเศษ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.ดวงกมล ชาติประเสริฐ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง นายคมกฤช กล่าวว่า แหล่งอารยธรรมที่กำลังจะโดนทำลายเป็นของทุกคน เป็นรากฐานและองค์ความรู้ของเรา เรารักษาความรู้และความรู้สึกของคนโบราณที่มีต่อสิ่งเหล่านั้น มันคือสมบัติของมนุษย์ทุกคน และมันคืออารยธรรมของโลกนี้
สำหรับ “เมส อาแน็ค” เป็นอดีตเมืองโบราณแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถานที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยยุคทองแดงเมื่อ 5,000 ปีก่อน และยังเป็นแหล่งแร่ทองแดงขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมอันเป็นศูนย์กลางระหว่างชาติสำหรับพ่อค้าและนักแสวงบุญจากทั่วเอเชีย ทั้งนี้ “เมส อาแน็ค” มีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 253 ไร่ ที่เป็นพุทธสถาน หรือวัดพุทธโบราณขนาดใหญ่อันเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ และพระพุทธรูปขนาดใหญ่หลายพันองค์ที่หลงเหลือจากการทำลายของกลุ่มผู้ก่อการร้ายตาลีบัน แต่กลับยังไม่รับการคุ้มครองให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก
ต่อมา เมื่อปี 2550 รัฐบาลอัฟกานิสถานให้สัมปทานการเช่าที่พื้นที่ 30 ปีแก่บริษัททุนยักษ์ใหญ่ของจีน ชื่อว่า China Metallurgical Group Corporation (MMC) โดยอัฟกานิสถานจะได้รับเงินจากการสัมปทานครั้งนี้จำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนบริษัท MMC นั้นคาดว่าจะสร้างรายได้จากทองแดงที่ขุดเจาะได้นับ 100,000 ล้านดอลลาร์ โดยในปี 2552 ได้มีการกดดันจากนานาชาติ บริษัท MMC ซึ่งอ้างว่าไม่เคยรับทราบเรื่องโบราณสถานนี้มาก่อน จึงให้เวลานักโบราณคดี 3 ปีเพื่อขุดค้น ซึ่งจริงๆ แล้วต้องใช้เวลาถึง 30 ปีจึงจะสามารถสำรวจได้หมด และในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นี้ ก็คือ วันสิ้นสุดในการสำรวจและขุดย้ายให้เสร็จสิ้น หลังจากนั้น บริษัท MMC มีสิทธิสามารถทำการขุดเจาะให้กลายเป็นเหมืองทองแดงได้
ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงกรณีการปรับแหล่งอารยธรรม “เมส อาแน็ค (Mes Aynak)” ในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ให้กลายเป็นเหมืองทองแดงในเดือนธันวาคมนี้ ว่า เมส อาแน็ค เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่อายุ 5,000 กว่าปี ซึ่งไม่ได้เป็นมรดกทางอารยธรรมของประเทศอัฟกานิสถานเท่านั้น แต่ยังเป็นมรดกทางอารยธรรมของโลกอีกด้วย จึงขอวอนให้รัฐบาลอัฟกานิสถาน ฟังกระแสของชาวโลก ซึ่งต้องการปกป้องมรดกของโลก
“การที่รัฐบาลอัฟกานิสถาน มองเห็นถึงผลประโยชน์จากตัวเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของชาวโลกในระยะยาว นับว่าเป็นมูลค่าที่เล็กน้อยมาก เนื่องจากมรดกหรืออารยธรรมของโลกนั้น มีความเกี่ยวโยงกัน และมีความสำคัญต่อทุกประเทศในโลก และไม่สามารถประเมินค่าด้วยตัวเงินได้” ผศ.บุญส่ง กล่าว
ผศ.บุญส่ง กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการรวมตัวของเยาวชนที่ไม่ต้องการให้เกิดการทำลายแหล่งอารยธรรมดังกล่าวในนาม “กลุ่มเอสมาไทย (Save mes Aynak Thailand)” โดยได้จัดกิจกรรมต่างๆ เชิญชวนให้คนไทยร่วมกันแสดงพลังคัดค้านการทำลายแหล่งอารยธรรมอันล้ำค่า และร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลอัฟกานิสถานยุติการเปลี่ยนแหล่งอารยธรรม ‘เมส อาแน็ค’ ให้เป็นเหมืองทองแดง นอกจากนี้ จะร่วมขบวนการล่ารายชื่อผู้ที่สนใจคัดค้าน 50,000 รายชื่อส่งต่อองค์การยูเนสโกด้วย
“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องภายในประเทศอัฟกานิสถานเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของมวลมนุษยชาติ พวกเราทุกคนต้องช่วยกันปกป้องแหล่งอารยธรรม ‘เมส อาแน็ค’ ให้คงอยู่เป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ความเป็นมาของมนุษย์ ถ้าปล่อยให้ถูกทำลายหรือสูญสลายไป จะไม่สามารถหากลับคืนมาใหม่ได้” หนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเอสม่าไทย กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกจำนวนหนึ่งออกมาแสดงความเห็นคัดค้านต่อเรื่องดังกล่าวด้วย อาทิ นายคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง หรือ เชฟหมี ครัวกากๆ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ศ.พรสวรรค์ วิสุทธิวิเศษ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.ดวงกมล ชาติประเสริฐ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง นายคมกฤช กล่าวว่า แหล่งอารยธรรมที่กำลังจะโดนทำลายเป็นของทุกคน เป็นรากฐานและองค์ความรู้ของเรา เรารักษาความรู้และความรู้สึกของคนโบราณที่มีต่อสิ่งเหล่านั้น มันคือสมบัติของมนุษย์ทุกคน และมันคืออารยธรรมของโลกนี้
สำหรับ “เมส อาแน็ค” เป็นอดีตเมืองโบราณแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถานที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยยุคทองแดงเมื่อ 5,000 ปีก่อน และยังเป็นแหล่งแร่ทองแดงขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมอันเป็นศูนย์กลางระหว่างชาติสำหรับพ่อค้าและนักแสวงบุญจากทั่วเอเชีย ทั้งนี้ “เมส อาแน็ค” มีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 253 ไร่ ที่เป็นพุทธสถาน หรือวัดพุทธโบราณขนาดใหญ่อันเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ และพระพุทธรูปขนาดใหญ่หลายพันองค์ที่หลงเหลือจากการทำลายของกลุ่มผู้ก่อการร้ายตาลีบัน แต่กลับยังไม่รับการคุ้มครองให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก
ต่อมา เมื่อปี 2550 รัฐบาลอัฟกานิสถานให้สัมปทานการเช่าที่พื้นที่ 30 ปีแก่บริษัททุนยักษ์ใหญ่ของจีน ชื่อว่า China Metallurgical Group Corporation (MMC) โดยอัฟกานิสถานจะได้รับเงินจากการสัมปทานครั้งนี้จำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนบริษัท MMC นั้นคาดว่าจะสร้างรายได้จากทองแดงที่ขุดเจาะได้นับ 100,000 ล้านดอลลาร์ โดยในปี 2552 ได้มีการกดดันจากนานาชาติ บริษัท MMC ซึ่งอ้างว่าไม่เคยรับทราบเรื่องโบราณสถานนี้มาก่อน จึงให้เวลานักโบราณคดี 3 ปีเพื่อขุดค้น ซึ่งจริงๆ แล้วต้องใช้เวลาถึง 30 ปีจึงจะสามารถสำรวจได้หมด และในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นี้ ก็คือ วันสิ้นสุดในการสำรวจและขุดย้ายให้เสร็จสิ้น หลังจากนั้น บริษัท MMC มีสิทธิสามารถทำการขุดเจาะให้กลายเป็นเหมืองทองแดงได้