สธ.เจ๋ง! พัฒนางานด้านสาธารณสุขของไทย รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการผลิตเครื่องตรวจเชื้อมาลาเรียเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ได้เป็นรายแรกของไทย ตรวจได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ตรวจ 60 รายต่อวัน ค่าตรวจเฉลี่ยรายละ 2 บาท มีแผนที่จะนำไปใช้ประจำหน่วยมาลาเรียทั้ง 760 แห่งทั่วประเทศ
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายแดนไทย เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ของไทยในปี 2558 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทยหลายแห่ง จึงเกิดการตื่นตัวนี้ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอาเซียน อย่างเช่น โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย ที่ จ.กาญจนบุรี ซึ่งจะเป็นหนึ่งในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างไทย และพม่า ที่มีความสำคัญสูงระดับประเทศและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี และพื้นที่ตามแนวชายแดน ที่อาจได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพจากโรคติดเชื้อสำคัญที่มีสาเหตุมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของแรงงานทั้งจากชาวไทยและจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะโรคมาลาเรียซึ่งเป็น 1 ใน 7 โรคติดต่อสำคัญที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดน และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหามาลาเรียตามพื้นที่ชายแดนและข้ามเขตแดน ครอบคลุมทั้งด้านการสาธารณสุขและการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย-พม่าร่วมกับองค์กรนานาชาติมาลาเรียอาร์บีเอ็ม (Roll Back Malaria Partnership : RBM) ที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อเดือนตุลาคม 55 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ช่วยกันทำให้แต่ละประเทศปลอดโรคมาลาเรียให้เป็นผลสำเร็จ โดยได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคจัดระบบการป้องกัน เฝ้าระวัง และพัฒนาแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคให้มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อควบคุมและยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียให้ครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของประเทศ และให้ประเทศปลอดมาลาเรียให้ได้ภายในปี 2563”
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การพัฒนาแนวทางการตรวจวินิจฉัย ชนิดของเชื้อมาลาเรียได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ป่วย เพราะจะทำให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิดจะมีความไวต่อยารักษาที่แตกต่างกัน และสามารถก่อโรคได้ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน เช่น มาลาเรียชนิดฟัลซิพารั่มสามารถทำให้เกิดมาลาเรียขึ้นสมองทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ในขณะที่มาลาเรียชนิดอื่นจะไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพในสมองเป็นต้น ซึ่งขณะนี้สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงโดย ดร.พงษ์วิทย์ บัวล้อมใบและทีมงานกลุ่มมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยโรคติดต่อนำโดยแมลงได้มีการคิดค้นและวิจัย
“เครื่องตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์”ขึ้น ซึ่งการตรวจการเรืองแสงของเชื้อด้วยวิธีนี้จะทำการปั่นเลือดในเครื่องปั่น ให้ส่วนประกอบของเลือดแยกจากกันเป็นชั้น เพื่ออาศัยความแตกต่างและความหนาแน่นของส่วนประกอบแต่ละตัว แล้วนำเลือด มาหยดลงบนกระจกสไลด์ ที่เคลือบด้วยสีเรืองแสง แล้วนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง วิธีนี้ทำให้เห็นตัวเชื้อได้ชัดเจนขึ้น จากการทดสอบพบว่าการตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีนี้มีความไวร้อยละ 95.5 สามารถตรวจสอบระยะวงแหวน และระยะ ameboid ของเชื้อมาลาเรียทั้ง 4 สายพันธุ์ได้อย่างชัดเจน ได้แก่ เชื้อมาลาเรียไวแวกซ์ ฟัลซิพารั่ม มาลาเรียอี่ และโอวาเล่
“เครื่องตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์” นี้ถือเป็นเครื่องแรกของประเทศไทยที่คิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัยไทย ซึ่งได้ทำการวิจัยมาแล้วกว่า 5 ปี เป็นการพัฒนามาจากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ขณะนี้สามารถใช้งานได้จริงแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีตรวจเชื้อมาลาเรียทางกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ซึ่งต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และความชำนาญของผู้ตรวจ การตรวจผู้ป่วย 1 ราย อาจใช้เวลาถึง 30 นาที ทำให้ผู้ตรวจเกิดการอ่อนล้าของสายตา การตรวจทำได้จำนวนไม่มากประมาณ 20-30รายต่อวันเท่านั้น ในขณะที่การตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยเครื่องตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ สามารถตรวจหาเชื้อได้ไวกว่าใช้เวลาประมาณ 10 นาทีต่อหนึ่งราย จึงตรวจได้ในจำนวนที่มากกว่าถึงวันละ 60 ราย ราคาต้นทุนการผลิตต่อ 1 เครื่องอยู่ที่ 80,000.00 บาท ค่าตรวจเฉลี่ยอยู่ที่รายละ 2 บาท ส่วนการขยายผลการใช้งานเครื่องตรวจนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการขอจดสิทธิบัตรและการพัฒนาต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่อเครื่องลดลง พร้อมทั้งมีแผนที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือประจำหน่วยมาลาเรียทั้ง 760 แห่งทั่วประเทศ สำหรับตรวจเชื้อมาลาเรียและค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงต่อไป
อย่างไรก็ตาม ประชาชน หรือผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะตามพื้นที่ชายแดน บริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีแหล่งน้ำ ลำธาร อันเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง อาจเสี่ยงเป็นโรคมาลาเรียได้ ขอให้ระมัดระวังป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ควรเตรียมมุ้งหรือเต้นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุง นอนในมุ้งชุบสารเคมี และสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แนะนำให้ใช้สีอ่อนๆ เพราะการใส่เสื้อผ้าสีดำ มักดึงดูดความสนใจให้ยุงกัดได้มาก รวมทั้งควรสุมไฟเพื่อไล่ยุง หรือจุดยากันยุง หรือทายากันยุงที่แขน ขา ใบหู หลังคอ และหลังการกลับจากป่า หากมีอาการหนาวสั่น มีไข้ ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด อาเจียน เบื่ออาหาร บางรายปวดศีรษะมากอาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา กระสับกระส่าย เพ้อ กระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน มีเหงื่อออกชุ่มตัว ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้านหรือที่ หน่วยมาลาเรีย เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และต้องแจ้งประวัติการเข้าป่าหรือไปบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อให้การรักษาที่รวดเร็ว โรคนี้มียารักษาหาย หากรักษาเร็ว จะช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราการเสียชีวิตได้
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายแดนไทย เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ของไทยในปี 2558 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทยหลายแห่ง จึงเกิดการตื่นตัวนี้ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอาเซียน อย่างเช่น โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย ที่ จ.กาญจนบุรี ซึ่งจะเป็นหนึ่งในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างไทย และพม่า ที่มีความสำคัญสูงระดับประเทศและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี และพื้นที่ตามแนวชายแดน ที่อาจได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพจากโรคติดเชื้อสำคัญที่มีสาเหตุมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของแรงงานทั้งจากชาวไทยและจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะโรคมาลาเรียซึ่งเป็น 1 ใน 7 โรคติดต่อสำคัญที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดน และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหามาลาเรียตามพื้นที่ชายแดนและข้ามเขตแดน ครอบคลุมทั้งด้านการสาธารณสุขและการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย-พม่าร่วมกับองค์กรนานาชาติมาลาเรียอาร์บีเอ็ม (Roll Back Malaria Partnership : RBM) ที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อเดือนตุลาคม 55 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ช่วยกันทำให้แต่ละประเทศปลอดโรคมาลาเรียให้เป็นผลสำเร็จ โดยได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคจัดระบบการป้องกัน เฝ้าระวัง และพัฒนาแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคให้มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อควบคุมและยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียให้ครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของประเทศ และให้ประเทศปลอดมาลาเรียให้ได้ภายในปี 2563”
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การพัฒนาแนวทางการตรวจวินิจฉัย ชนิดของเชื้อมาลาเรียได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ป่วย เพราะจะทำให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิดจะมีความไวต่อยารักษาที่แตกต่างกัน และสามารถก่อโรคได้ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน เช่น มาลาเรียชนิดฟัลซิพารั่มสามารถทำให้เกิดมาลาเรียขึ้นสมองทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ในขณะที่มาลาเรียชนิดอื่นจะไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพในสมองเป็นต้น ซึ่งขณะนี้สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงโดย ดร.พงษ์วิทย์ บัวล้อมใบและทีมงานกลุ่มมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยโรคติดต่อนำโดยแมลงได้มีการคิดค้นและวิจัย
“เครื่องตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์”ขึ้น ซึ่งการตรวจการเรืองแสงของเชื้อด้วยวิธีนี้จะทำการปั่นเลือดในเครื่องปั่น ให้ส่วนประกอบของเลือดแยกจากกันเป็นชั้น เพื่ออาศัยความแตกต่างและความหนาแน่นของส่วนประกอบแต่ละตัว แล้วนำเลือด มาหยดลงบนกระจกสไลด์ ที่เคลือบด้วยสีเรืองแสง แล้วนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง วิธีนี้ทำให้เห็นตัวเชื้อได้ชัดเจนขึ้น จากการทดสอบพบว่าการตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีนี้มีความไวร้อยละ 95.5 สามารถตรวจสอบระยะวงแหวน และระยะ ameboid ของเชื้อมาลาเรียทั้ง 4 สายพันธุ์ได้อย่างชัดเจน ได้แก่ เชื้อมาลาเรียไวแวกซ์ ฟัลซิพารั่ม มาลาเรียอี่ และโอวาเล่
“เครื่องตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์” นี้ถือเป็นเครื่องแรกของประเทศไทยที่คิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัยไทย ซึ่งได้ทำการวิจัยมาแล้วกว่า 5 ปี เป็นการพัฒนามาจากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ขณะนี้สามารถใช้งานได้จริงแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีตรวจเชื้อมาลาเรียทางกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ซึ่งต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และความชำนาญของผู้ตรวจ การตรวจผู้ป่วย 1 ราย อาจใช้เวลาถึง 30 นาที ทำให้ผู้ตรวจเกิดการอ่อนล้าของสายตา การตรวจทำได้จำนวนไม่มากประมาณ 20-30รายต่อวันเท่านั้น ในขณะที่การตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยเครื่องตรวจเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ สามารถตรวจหาเชื้อได้ไวกว่าใช้เวลาประมาณ 10 นาทีต่อหนึ่งราย จึงตรวจได้ในจำนวนที่มากกว่าถึงวันละ 60 ราย ราคาต้นทุนการผลิตต่อ 1 เครื่องอยู่ที่ 80,000.00 บาท ค่าตรวจเฉลี่ยอยู่ที่รายละ 2 บาท ส่วนการขยายผลการใช้งานเครื่องตรวจนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการขอจดสิทธิบัตรและการพัฒนาต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่อเครื่องลดลง พร้อมทั้งมีแผนที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือประจำหน่วยมาลาเรียทั้ง 760 แห่งทั่วประเทศ สำหรับตรวจเชื้อมาลาเรียและค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงต่อไป
อย่างไรก็ตาม ประชาชน หรือผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะตามพื้นที่ชายแดน บริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีแหล่งน้ำ ลำธาร อันเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง อาจเสี่ยงเป็นโรคมาลาเรียได้ ขอให้ระมัดระวังป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ควรเตรียมมุ้งหรือเต้นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุง นอนในมุ้งชุบสารเคมี และสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แนะนำให้ใช้สีอ่อนๆ เพราะการใส่เสื้อผ้าสีดำ มักดึงดูดความสนใจให้ยุงกัดได้มาก รวมทั้งควรสุมไฟเพื่อไล่ยุง หรือจุดยากันยุง หรือทายากันยุงที่แขน ขา ใบหู หลังคอ และหลังการกลับจากป่า หากมีอาการหนาวสั่น มีไข้ ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด อาเจียน เบื่ออาหาร บางรายปวดศีรษะมากอาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา กระสับกระส่าย เพ้อ กระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน มีเหงื่อออกชุ่มตัว ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้านหรือที่ หน่วยมาลาเรีย เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และต้องแจ้งประวัติการเข้าป่าหรือไปบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อให้การรักษาที่รวดเร็ว โรคนี้มียารักษาหาย หากรักษาเร็ว จะช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราการเสียชีวิตได้