กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ ชูผักสมุนไพรไทย 6 ชนิด ตำลึง มะระขี้นก วุ้นว่านหางจระเข้ กะเพรา ใบหม่อน บัวบก ลดน้ำตาลในเลือด-เร่งการหายของแผล ช่วยผู้ป่วยเบาหวาน
วันนี้ (14 พ.ย.) ที่เรือนไทย กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าวสมุนไพรใกล้ตัวและผักพื้นบ้านต้านโรคเบาหวาน เนื่องในวันเบาหวานโลก 14 พฤศจิกายนว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 285 ล้านคน และคาดการณ์ว่า อีก 20 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน โดยผู้ป่วย 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2553 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 6,855 คน หรือวันละ 19 คน คิดเป็นอัตราตายด้วยโรคเบาหวานเท่ากับ 10.8 ต่อแสนประชากร หากไม่มีการควบคุมจริงจังคาดว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อีกทั้งพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน 107,225 คน คิดเป็นร้อยละ 10 แยกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 38.5 ไตร้อยละ 21.5 และเท้าร้อยละ 31.6 และผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดและสมองสูงถึง 2-4 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติและมากกว่าครึ่งพบความผิดปกติของปลายประสาทและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
อธิบดีกรมพัฒนการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวอีกว่า กรณีป่วยด้วยโรคเบาหวาน แพทย์แผนไทยจะแนะนำให้ใช้รสชาติอาหารเป็นยา คือ รสขม ซึ่งปัจจุบันมีนักวิชาการจากองค์กร และสถาบันต่างๆ ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทย พบว่า หลายชนิดมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด อาทิ ตำลึง กะเพรา มะระขี้นก หม่อน เป็นต้น และสมุนไพรเร่งการหายของแผล ได้แก่ บัวบก นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม คือ การออกกำลังกาย เช่น การเดินแทนการใช้รถ การทำความสะอาดบ้าน รำไทเก๊ก ฤาษีดัดตน เดินกะลา โยคะ หรือเดินในสวน รถน้ำตนไม้ รวมถึงไม่ควรเครียด อาจจะหากิจกรรมอื่นทำ เช่น ทำบุญตักบาตร นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ เพื่อให้จิตใจสงบ และผ่อนคลาย และการนวดเท้าเพื่อกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดอาการชา
ด้าน ภญ.ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า ผักพื้นบ้านและสมุนไพรไทยอย่างน้อย 5 ชนิดที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือด ได้แก่ 1.ตำลึง โดยใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ เพียงแต่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าการรับประทานในรูปแบบของแกงจืดมีผลในการลดสาระสำคัญในตำลึงที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดหรือไม่ 2.มะระขี้นก วิธีการใช้ หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม หรือรับประทานผลสดครั้งละ 6-15 กรัม หรือคั้นน้ำจากผลสด 1 ผลแล้วดื่ม 3.วุ้นว่างหางจระเข้ ใช้โดยวุ้นว่านหางจระเข้หั่นสดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มาปั่นแล้วรับประทานวันละ 2 ครั้ง แต่นักวิจัยระบุว่า สาระสำคัญไม่คงตัว ในการใช้เองที่บ้านอาจต้องใช้แบบหั่นสด 4.กะเพรา นำใบกะเพราตากแห้ง 2-5 กรัมละลายน้ำแล้วดื่ม และ 5.ใบหม่อน มีสาระสำคัญในการลดน้ำตาลในเลือด โดยสารชนิดนี้จะออกมาได้ดีเมื่อนำไปชงแบบชา ทิ้งไว้ 3-5 นาที ซึ่งสารชนิดนี้ช่วยยับยั้งเอนไซม์ย่อยน้ำตาล การดูดซึมกลูโคสลด ระดับน้ำตาลในร่างกายก็จะลดลงด้วย
“สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผล และหายช้ากว่าคนปกติทั่วไป มีการวิจัยพบว่า บัวบกสามารถเร่งการหายของแผลได้เร็วขึ้น โดยปั่นน้ำบัวบกเข้มข้นดื่มต่างน้ำ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่กินสมุนไพรในการช่วยลดน้ำตาลในเลือด ควรแจ้งให้แพทย์แผนปัจจุบันที่ทำการรักษาด้วย เนื่องจากบางครั้งแพทย์อาจจะจัดยาให้ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว เมื่อรับประทานผัก หรือสมุนไพรควบคู่ด้วยอาจทำให้น้ำตาลลดมากเกินไป” ภญ.ดร.อัญชลี กล่าว
วันนี้ (14 พ.ย.) ที่เรือนไทย กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าวสมุนไพรใกล้ตัวและผักพื้นบ้านต้านโรคเบาหวาน เนื่องในวันเบาหวานโลก 14 พฤศจิกายนว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 285 ล้านคน และคาดการณ์ว่า อีก 20 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน โดยผู้ป่วย 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2553 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 6,855 คน หรือวันละ 19 คน คิดเป็นอัตราตายด้วยโรคเบาหวานเท่ากับ 10.8 ต่อแสนประชากร หากไม่มีการควบคุมจริงจังคาดว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อีกทั้งพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน 107,225 คน คิดเป็นร้อยละ 10 แยกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 38.5 ไตร้อยละ 21.5 และเท้าร้อยละ 31.6 และผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดและสมองสูงถึง 2-4 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติและมากกว่าครึ่งพบความผิดปกติของปลายประสาทและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
อธิบดีกรมพัฒนการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวอีกว่า กรณีป่วยด้วยโรคเบาหวาน แพทย์แผนไทยจะแนะนำให้ใช้รสชาติอาหารเป็นยา คือ รสขม ซึ่งปัจจุบันมีนักวิชาการจากองค์กร และสถาบันต่างๆ ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทย พบว่า หลายชนิดมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด อาทิ ตำลึง กะเพรา มะระขี้นก หม่อน เป็นต้น และสมุนไพรเร่งการหายของแผล ได้แก่ บัวบก นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม คือ การออกกำลังกาย เช่น การเดินแทนการใช้รถ การทำความสะอาดบ้าน รำไทเก๊ก ฤาษีดัดตน เดินกะลา โยคะ หรือเดินในสวน รถน้ำตนไม้ รวมถึงไม่ควรเครียด อาจจะหากิจกรรมอื่นทำ เช่น ทำบุญตักบาตร นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ เพื่อให้จิตใจสงบ และผ่อนคลาย และการนวดเท้าเพื่อกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดอาการชา
ด้าน ภญ.ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า ผักพื้นบ้านและสมุนไพรไทยอย่างน้อย 5 ชนิดที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือด ได้แก่ 1.ตำลึง โดยใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ เพียงแต่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าการรับประทานในรูปแบบของแกงจืดมีผลในการลดสาระสำคัญในตำลึงที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดหรือไม่ 2.มะระขี้นก วิธีการใช้ หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม หรือรับประทานผลสดครั้งละ 6-15 กรัม หรือคั้นน้ำจากผลสด 1 ผลแล้วดื่ม 3.วุ้นว่างหางจระเข้ ใช้โดยวุ้นว่านหางจระเข้หั่นสดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มาปั่นแล้วรับประทานวันละ 2 ครั้ง แต่นักวิจัยระบุว่า สาระสำคัญไม่คงตัว ในการใช้เองที่บ้านอาจต้องใช้แบบหั่นสด 4.กะเพรา นำใบกะเพราตากแห้ง 2-5 กรัมละลายน้ำแล้วดื่ม และ 5.ใบหม่อน มีสาระสำคัญในการลดน้ำตาลในเลือด โดยสารชนิดนี้จะออกมาได้ดีเมื่อนำไปชงแบบชา ทิ้งไว้ 3-5 นาที ซึ่งสารชนิดนี้ช่วยยับยั้งเอนไซม์ย่อยน้ำตาล การดูดซึมกลูโคสลด ระดับน้ำตาลในร่างกายก็จะลดลงด้วย
“สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผล และหายช้ากว่าคนปกติทั่วไป มีการวิจัยพบว่า บัวบกสามารถเร่งการหายของแผลได้เร็วขึ้น โดยปั่นน้ำบัวบกเข้มข้นดื่มต่างน้ำ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่กินสมุนไพรในการช่วยลดน้ำตาลในเลือด ควรแจ้งให้แพทย์แผนปัจจุบันที่ทำการรักษาด้วย เนื่องจากบางครั้งแพทย์อาจจะจัดยาให้ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว เมื่อรับประทานผัก หรือสมุนไพรควบคู่ด้วยอาจทำให้น้ำตาลลดมากเกินไป” ภญ.ดร.อัญชลี กล่าว