สธ.รณรงค์หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอครั้งแรก 14 พ.ย.นี้ ในพื้นที่เป้าหมาย 34 จังหวัด 145 อำเภอ รวม กทม.
วันนี้ (13 พ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กำหนดพื้นที่ในการรณรงค์หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอทั้งหมด 34 จังหวัด จำนวน 145 อำเภอและกทม. โดยรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอเสริมแก่เด็ก 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 14 พ.ย. และครั้งที่ 2 วันที่ 12 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะยกเว้นใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่กำหนดให้ครั้งที่ 1 เป็นวันที่ 23 ม.ค.และครั้งที่ 2 วันที่ 20 ก.พ.ปีหน้า โดยตั้งเป้าหยอดให้เด็กไทยกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปีในพื้นที่เสี่ยง รวมประมาณ 1.2 ล้านคน และได้เตรียมวัคซีนไว้ทั้งหมด 3 ล้านโดส
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า โรคโปลิโอเป็นโรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือมีแต่ไม่สูงมากพอ โดยเชื้อจะออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ และติดที่มือหรือปนเปื้อนในอาหาร ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ ส่วนผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ คือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีอาการตึงกล้ามเนื้อที่คอด้านหลัง ลำตัวและขา ผู้ที่มีอาการรุนแรง จะมีอัมพาตของแขน หรือขา ในรายที่อาการรุนแรงมาก กล้ามเนื้อกระบังลมที่ช่วยในการหายใจอาจเป็นอัมพาต ทำให้เสียชีวิตได้
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ในการรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ จะเน้นในพื้นที่เสี่ยง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.อำเภอในจังหวัดที่มีความยากลำบากในการให้วัคซีนหรือการเคลื่อนย้ายประชากรสูง เช่น สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ กทม.2.อำเภอที่ติดชายแดนพม่า 3.อำเภอที่มีชาวพม่าอาศัยอยู่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และ 4.อำเภอที่มีรายงานเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีป่วยเป็นโรคคอตีบ หรือหัดในช่วงปี 2552-2554 ซึ่งถือเป็นดัชนีวัดความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในพื้นที่
“พื้นที่เป้าหมายในการรณรงค์รวมทั้งหมด 34 จังหวัด และกทม. แยกเป็นรณรงค์บางอำเภอในพื้นที่ 30 จังหวัด คือ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ กำแพงเพชร ตาก เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ระนอง และ ชุมพร ส่วนจังหวัดที่มีการรณรงค์เต็มพื้นที่รวม 4 จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส รวมถึงกรุงเทพฯ ทุกเขตด้วย” อธิบดี คร.กล่าว
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่รณรงค์ดังกล่าว สามารถพาบุตรหลานไปรับการหยอดวัคซีนฟรี หรือสอบถามข้อมูลที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333
วันนี้ (13 พ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กำหนดพื้นที่ในการรณรงค์หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอทั้งหมด 34 จังหวัด จำนวน 145 อำเภอและกทม. โดยรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอเสริมแก่เด็ก 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 14 พ.ย. และครั้งที่ 2 วันที่ 12 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะยกเว้นใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่กำหนดให้ครั้งที่ 1 เป็นวันที่ 23 ม.ค.และครั้งที่ 2 วันที่ 20 ก.พ.ปีหน้า โดยตั้งเป้าหยอดให้เด็กไทยกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปีในพื้นที่เสี่ยง รวมประมาณ 1.2 ล้านคน และได้เตรียมวัคซีนไว้ทั้งหมด 3 ล้านโดส
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า โรคโปลิโอเป็นโรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือมีแต่ไม่สูงมากพอ โดยเชื้อจะออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ และติดที่มือหรือปนเปื้อนในอาหาร ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ ส่วนผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ คือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีอาการตึงกล้ามเนื้อที่คอด้านหลัง ลำตัวและขา ผู้ที่มีอาการรุนแรง จะมีอัมพาตของแขน หรือขา ในรายที่อาการรุนแรงมาก กล้ามเนื้อกระบังลมที่ช่วยในการหายใจอาจเป็นอัมพาต ทำให้เสียชีวิตได้
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ในการรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ จะเน้นในพื้นที่เสี่ยง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.อำเภอในจังหวัดที่มีความยากลำบากในการให้วัคซีนหรือการเคลื่อนย้ายประชากรสูง เช่น สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ กทม.2.อำเภอที่ติดชายแดนพม่า 3.อำเภอที่มีชาวพม่าอาศัยอยู่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และ 4.อำเภอที่มีรายงานเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีป่วยเป็นโรคคอตีบ หรือหัดในช่วงปี 2552-2554 ซึ่งถือเป็นดัชนีวัดความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในพื้นที่
“พื้นที่เป้าหมายในการรณรงค์รวมทั้งหมด 34 จังหวัด และกทม. แยกเป็นรณรงค์บางอำเภอในพื้นที่ 30 จังหวัด คือ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ กำแพงเพชร ตาก เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ระนอง และ ชุมพร ส่วนจังหวัดที่มีการรณรงค์เต็มพื้นที่รวม 4 จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส รวมถึงกรุงเทพฯ ทุกเขตด้วย” อธิบดี คร.กล่าว
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่รณรงค์ดังกล่าว สามารถพาบุตรหลานไปรับการหยอดวัคซีนฟรี หรือสอบถามข้อมูลที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333