กรมวิทย์ ขยายเครือข่ายตรวจวิเคราะห์โรคคอตีบทางห้องปฏิบัติการทั่วทุกภาค เพื่อควบคุม เฝ้าระวังการระบาด ให้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
วันนี้ (9 พ.ย.) นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรคคอตีบทางห้องปฏิบัติการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า โรคคอตีบเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นการป้องกันการเกิดโรค แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นการพบเชื้อโดยการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นการจึงเป็นช่วยยืนยันการติดเชื้อคอตีบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการวางแผนการควบคุมการระบาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และระบุพื้นที่ที่ต้องการควบคุมได้ชัดเจนไม่ให้กระจายสู่พื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว ห้องปฏิบัติการจึงเป็นกำลังสำคัญในการวิเคราะห์เชื้อจากผู้ป่วยและผู้สัมผัส เพื่อช่วยให้การควบคุมการระบาดมีประสิทธิภาพขึ้น ลดความเสี่ยงของประชาชนในการเกิดโรค และยังมีส่วนช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมดีขึ้น
นางจุรีภรณ์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการจัดสัมมนาเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรคคอตีบทางห้องปฏิบัติการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งนี้ กรมวิทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ จัดทำแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังโรคคอตีบ โดยกรมวิทย์เป็นผู้สนับสนุนองค์ความรู้ เช่น การเก็บตัวอย่าง การนำส่งตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์เชื้อคอตีบ ส่วนศูนย์วิทย์อื่นๆ จะสนับสนุนวัสดุวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์เชื้อคอตีบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ
รองอธิบดี กล่าวต่อว่า หลังการนำวัคซีนมาใช้ (ปี 2520) ประเทศไทยพบผู้ป่วยแต่ละปีไม่ถึง 3 ราย เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และเริ่มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อโรคคอตีบประมาณ 100 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว ขณะนี้พบผู้ป่วยและผู้สงสัยว่า ป่วยด้วยโรคคอตีบใน 7 จังหวัด ได้แก่ เลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี สุราษฎร์ธานี พิษณุโลก สกลนคร และพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ น่าน หนองคาย บึงกาฬ ขอนแก่น อุตรดิตถ์ พิจิตร และเชียงราย
“เนื่องจากโรคคอตีบเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน กระทรวงสาธารณสุขได้ฉีดวัคซีนให้กับเด็กทุกคน ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่พบการระบาดใหญ่ เป็นเหตุให้เมื่อมีการระบาดใหญ่ ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล จึงไม่พร้อมตั้งรับ เนื่องจากไม่ได้เพาะเชื้อคอตีบมาเป็นเวลานาน ดังนั้น ตัวอย่างจากผู้ป่วย และผู้สัมผัสจึงถูกส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจำนวนตัวอย่างที่ส่งมาตั้งแต่เดือน ก.ค. 55 จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากกว่า 1,800 ตัวอย่าง นอกจากการวิเคราะห์ตัวอย่างจากผู้ป่วยและผู้สัมผัสแล้ว กรมวิทย์ได้จัดอบรมการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการให้กับเจ้าหน้าที่ และโรงพยาบาลมาแล้ว 3 ครั้ง และมีแผนจะจัดในเดือน พ.ย.อีก 6 ครั้ง สนับสนุนวัสดุวิทยาศาสตร์ 26 รายการ มากกว่า 28,000 ชิ้น พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์วิทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศให้สามารถวิเคราะห์เชื้อคอตีบได้ ช่วยส่งเสริมให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่สามารถเพาะเชื้อและวินิจฉัยเชื้อคอตีบได้ เพื่อสนับสนุนการควบคุมการระบาดได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตามนโยบายของปลัดกระทรวงสาธารณสุข” รองอธิบดี กล่าว
วันนี้ (9 พ.ย.) นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรคคอตีบทางห้องปฏิบัติการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า โรคคอตีบเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นการป้องกันการเกิดโรค แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นการพบเชื้อโดยการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นการจึงเป็นช่วยยืนยันการติดเชื้อคอตีบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการวางแผนการควบคุมการระบาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และระบุพื้นที่ที่ต้องการควบคุมได้ชัดเจนไม่ให้กระจายสู่พื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว ห้องปฏิบัติการจึงเป็นกำลังสำคัญในการวิเคราะห์เชื้อจากผู้ป่วยและผู้สัมผัส เพื่อช่วยให้การควบคุมการระบาดมีประสิทธิภาพขึ้น ลดความเสี่ยงของประชาชนในการเกิดโรค และยังมีส่วนช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมดีขึ้น
นางจุรีภรณ์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการจัดสัมมนาเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรคคอตีบทางห้องปฏิบัติการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งนี้ กรมวิทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ จัดทำแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังโรคคอตีบ โดยกรมวิทย์เป็นผู้สนับสนุนองค์ความรู้ เช่น การเก็บตัวอย่าง การนำส่งตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์เชื้อคอตีบ ส่วนศูนย์วิทย์อื่นๆ จะสนับสนุนวัสดุวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์เชื้อคอตีบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ
รองอธิบดี กล่าวต่อว่า หลังการนำวัคซีนมาใช้ (ปี 2520) ประเทศไทยพบผู้ป่วยแต่ละปีไม่ถึง 3 ราย เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และเริ่มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อโรคคอตีบประมาณ 100 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว ขณะนี้พบผู้ป่วยและผู้สงสัยว่า ป่วยด้วยโรคคอตีบใน 7 จังหวัด ได้แก่ เลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี สุราษฎร์ธานี พิษณุโลก สกลนคร และพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ น่าน หนองคาย บึงกาฬ ขอนแก่น อุตรดิตถ์ พิจิตร และเชียงราย
“เนื่องจากโรคคอตีบเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน กระทรวงสาธารณสุขได้ฉีดวัคซีนให้กับเด็กทุกคน ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่พบการระบาดใหญ่ เป็นเหตุให้เมื่อมีการระบาดใหญ่ ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล จึงไม่พร้อมตั้งรับ เนื่องจากไม่ได้เพาะเชื้อคอตีบมาเป็นเวลานาน ดังนั้น ตัวอย่างจากผู้ป่วย และผู้สัมผัสจึงถูกส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจำนวนตัวอย่างที่ส่งมาตั้งแต่เดือน ก.ค. 55 จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากกว่า 1,800 ตัวอย่าง นอกจากการวิเคราะห์ตัวอย่างจากผู้ป่วยและผู้สัมผัสแล้ว กรมวิทย์ได้จัดอบรมการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการให้กับเจ้าหน้าที่ และโรงพยาบาลมาแล้ว 3 ครั้ง และมีแผนจะจัดในเดือน พ.ย.อีก 6 ครั้ง สนับสนุนวัสดุวิทยาศาสตร์ 26 รายการ มากกว่า 28,000 ชิ้น พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์วิทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศให้สามารถวิเคราะห์เชื้อคอตีบได้ ช่วยส่งเสริมให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่สามารถเพาะเชื้อและวินิจฉัยเชื้อคอตีบได้ เพื่อสนับสนุนการควบคุมการระบาดได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตามนโยบายของปลัดกระทรวงสาธารณสุข” รองอธิบดี กล่าว