กรมวิทย์ เผย ตัวอย่างส่งตรวจเชื้อมือเท้าปาก 6 เดือนแรก มีมากกว่า 400 ราย มีผลเป็นบวกเพียง 28% พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เยอะสุด ชี้ เชื้อกระจายทั่วประเทศ แต่ไม่อันตราย ส่วนรายที่มีอาการรุนแรง เพราะปัจจัยส่วนบุคคล ยันติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ไม่จำเป็นต้องเป็นมือเท้าปากเสมอไป
วันนี้ (26 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-22 กรกฎาคม 2555 กรมได้รับตัวอย่างจากผู้ป่วยส่งตรวจเชื้อโรคมือเท้าปากในห้องปฏิบัติการ จำนวน 416 ราย แล้วเสร็จ 375 ราย ผลปรากฏว่า ให้ผลเป็นลบ หรือไม่พบเชื้อมือเท้าปาก 72% ผลเป็นบวก คือ พบเชื้อ 28% ในจำนวนนี้เป็นเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 บี5 40% เชื้อค็อกซากี เอ16 25% และเอนเทอโรไวรัสอื่นๆ 35%
นพ.นิพนธ์ กล่าวด้วยว่า จากตัวอย่างที่ส่งตรวจ พบว่า พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ในทุกภาค แสดงว่า เชื้อกระจายอยู่ทั่วประเทศและไม่ได้อันตราย โดยขณะนี้มีตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการราววันละ 30 ตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า สายพันธุ์ย่อยของเชื้อไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค การส่งตัวอย่างตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงสายพันธุ์ของเชื้อสำหรับเป็นข้อมูลให้นักระบาดวิทยาเข้าใจการกระจายของโรค สำหรับในปี 2554 มีตัวอย่างส่งตรวจทั้งสิ้น 1,150 ตัวอย่าง จากผู้ป่วย 781 ราย พบตัวอย่างให้ผลบวก 172 ราย ในจำนวนนี้เป็น EV71 จำนวน 80 ราย หรือ 46.5% และ CA16 จำนวน 42 ราย คิดเป็น 24.4% ที่เหลือเป็นเอ็นเทอโรไวรัสชนิดอื่นซึ่งไม่สำคัญ
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคใดจะพิจารณาจาก 2 ส่วนหลัก คือ อาการของผู้ป่วยและผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อจากห้องปฏิบัติการ แต่แม้การตรวจวิเคราะห์จะไม่พบเชื้อ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยไม่ได้ป่วยจากเชื้อชนิดนั้น แต่ถ้าผลตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการพบเชื้อ และอาการแสดงตรงกับโรคด้วย จะชัดเจน 100% ว่าเป็นโรคนั้น เนื่องจากสถิติของกรม พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคชัดเจน แต่ผลการตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ ซึ่งเป็นปกติทางการแพทย์ ทั้งนี้ อาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ทำให้เกิดการสลายของเชื้อ หรือระยะการเก็บตัวอย่างเร็วหรือช้าเกินไปล้วนมีผลให้ตรวจหาเชื้อไม่เจอทั้งสิ้น
“การที่แพทย์ส่งตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการ แสดงว่า ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่จะเป็นโรคมือเท้าปากแล้วเกือบ 100% แต่การตรวจให้ทราบสายพันธุ์เชื้อ จะทำให้รู้การกระจายของเชื้อเพื่อควบคุมโรค ผลการตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการเป็นเพียงส่วนสนับสนุนความแม่นยำในการควบคุมโรค ซึ่งแพทย์ไม่ได้ใช้ผลจากห้องปฏิบัติการ 100% ในการวินิจฉัยโรคผู้ป่วย ต้องพิจารณาส่วนอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่ผู้ป่วยแสดง” นพ.นิพนธ์ กล่าว
นพ.นิพนธ์ กล่าวถึงผลการตรวจเชื้อของชายวัย 16 ปี จาก จ.สระแก้ว ด้วยว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของชายคนดังกล่าว พบมีเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 บี5 และคณะผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธานวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้เสียชีวิตจากโรคมือ เท้า ปาก เพราะการติดเชื้อชนิดนี้สามารถที่จะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ที่แตกต่างกันได้ เหมือนกับโรคหัดที่บางรายเป็นไม่กี่วันแล้วหาย แต่บางรายเป็นหัดรุนแรงร่วมกับปอดบวม การติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ก็เช่นเดียวกัน แม้ส่วนใหญ่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก แต่มีบางรายที่เชื้อนี้ทำให้เกิดไข้สมองอักเสบได้
“การติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 แม้ส่วนใหญ่จะทำให้แสดงอาการโรคมือ เท้า ปาก แต่ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้เกิดอาการในส่วนอื่นของร่างกายไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเชื้อไวรัส บางรายจึงอาจแสดงอาการแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยถ้ามีลักษณะอื่นๆ ด้วย เช่น โรคประจำตัว อาจทำให้การต้านทานโรคน้อยลง” นพ.นิพนธ์ กล่าว
วันนี้ (26 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-22 กรกฎาคม 2555 กรมได้รับตัวอย่างจากผู้ป่วยส่งตรวจเชื้อโรคมือเท้าปากในห้องปฏิบัติการ จำนวน 416 ราย แล้วเสร็จ 375 ราย ผลปรากฏว่า ให้ผลเป็นลบ หรือไม่พบเชื้อมือเท้าปาก 72% ผลเป็นบวก คือ พบเชื้อ 28% ในจำนวนนี้เป็นเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 บี5 40% เชื้อค็อกซากี เอ16 25% และเอนเทอโรไวรัสอื่นๆ 35%
นพ.นิพนธ์ กล่าวด้วยว่า จากตัวอย่างที่ส่งตรวจ พบว่า พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ในทุกภาค แสดงว่า เชื้อกระจายอยู่ทั่วประเทศและไม่ได้อันตราย โดยขณะนี้มีตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการราววันละ 30 ตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า สายพันธุ์ย่อยของเชื้อไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค การส่งตัวอย่างตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงสายพันธุ์ของเชื้อสำหรับเป็นข้อมูลให้นักระบาดวิทยาเข้าใจการกระจายของโรค สำหรับในปี 2554 มีตัวอย่างส่งตรวจทั้งสิ้น 1,150 ตัวอย่าง จากผู้ป่วย 781 ราย พบตัวอย่างให้ผลบวก 172 ราย ในจำนวนนี้เป็น EV71 จำนวน 80 ราย หรือ 46.5% และ CA16 จำนวน 42 ราย คิดเป็น 24.4% ที่เหลือเป็นเอ็นเทอโรไวรัสชนิดอื่นซึ่งไม่สำคัญ
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคใดจะพิจารณาจาก 2 ส่วนหลัก คือ อาการของผู้ป่วยและผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อจากห้องปฏิบัติการ แต่แม้การตรวจวิเคราะห์จะไม่พบเชื้อ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยไม่ได้ป่วยจากเชื้อชนิดนั้น แต่ถ้าผลตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการพบเชื้อ และอาการแสดงตรงกับโรคด้วย จะชัดเจน 100% ว่าเป็นโรคนั้น เนื่องจากสถิติของกรม พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคชัดเจน แต่ผลการตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ ซึ่งเป็นปกติทางการแพทย์ ทั้งนี้ อาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ทำให้เกิดการสลายของเชื้อ หรือระยะการเก็บตัวอย่างเร็วหรือช้าเกินไปล้วนมีผลให้ตรวจหาเชื้อไม่เจอทั้งสิ้น
“การที่แพทย์ส่งตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการ แสดงว่า ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่จะเป็นโรคมือเท้าปากแล้วเกือบ 100% แต่การตรวจให้ทราบสายพันธุ์เชื้อ จะทำให้รู้การกระจายของเชื้อเพื่อควบคุมโรค ผลการตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการเป็นเพียงส่วนสนับสนุนความแม่นยำในการควบคุมโรค ซึ่งแพทย์ไม่ได้ใช้ผลจากห้องปฏิบัติการ 100% ในการวินิจฉัยโรคผู้ป่วย ต้องพิจารณาส่วนอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่ผู้ป่วยแสดง” นพ.นิพนธ์ กล่าว
นพ.นิพนธ์ กล่าวถึงผลการตรวจเชื้อของชายวัย 16 ปี จาก จ.สระแก้ว ด้วยว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของชายคนดังกล่าว พบมีเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 บี5 และคณะผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธานวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้เสียชีวิตจากโรคมือ เท้า ปาก เพราะการติดเชื้อชนิดนี้สามารถที่จะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ที่แตกต่างกันได้ เหมือนกับโรคหัดที่บางรายเป็นไม่กี่วันแล้วหาย แต่บางรายเป็นหัดรุนแรงร่วมกับปอดบวม การติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ก็เช่นเดียวกัน แม้ส่วนใหญ่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก แต่มีบางรายที่เชื้อนี้ทำให้เกิดไข้สมองอักเสบได้
“การติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 แม้ส่วนใหญ่จะทำให้แสดงอาการโรคมือ เท้า ปาก แต่ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้เกิดอาการในส่วนอื่นของร่างกายไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเชื้อไวรัส บางรายจึงอาจแสดงอาการแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยถ้ามีลักษณะอื่นๆ ด้วย เช่น โรคประจำตัว อาจทำให้การต้านทานโรคน้อยลง” นพ.นิพนธ์ กล่าว