อึ้ง! ไทยมีเด็กพิการแต่แรกเกิดปีละ 4 หมื่นคน เหตุจากพันธุกรรม บุหรี่ เหล้า และเซ็กซ์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการฯ เผย หญิงอายุ 25-35 ปี เหมาะกับการตั้งครรภ์ที่สุด เสี่ยงลูกพิการน้อย 8 โรงเรียนแพทย์ เร่งจัดลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อรักษาทันท่วงที
วันนี้ (8 พ.ย.) ที่โรงแรมตวันนา ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวระหว่างการประชุมวิชาการครั้งที่ 4 ประจำปี 2555 “โครงการป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย” จัดโดยสมาคมเพื่อเด็กพิการฯ ร่วมกับชมรมเวชพันธุศาสตร์กุมารแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีทารกพิการแต่กำเนิดกว่า 8 ล้านคน สำหรับไทยมีทารกแรกเกิด 800,000 คนต่อปี พบพิการแต่กำเนิดร้อยละ 3-5 หรือ 24,000-40,000 คนต่อปี ซึ่งความพิการแต่กำเนิดมีหลายภาวะ แต่ส่วนใหญ่จะพบ 5 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอาการดาวน์ พบ 1 ต่อ 1,000 ราย 2.กลุ่มหลอดประสาทไม่ปิด พบ 1 ต่อ 800 ราย 3.กลุ่มปากแหว่งเพดานโหว่ พบ 1ต่อ 1,000 ราย 4.กลุ่มแขนขาพิการแต่กำเนิดพบ 1 ต่อ 1,000 ราย และ 5.กลุ่มกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ พบ 1ต่อ 10,000 ราย ซึ่งสาเหตุครึ่งหนึ่งมาจากพันธุกรรม และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น บุหรี่ เหล้า เพศสัมพันธ์
“หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ย่อมมีโอกาสลูกพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ การตั้งครรภ์ขณะอายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงด้วย อายุที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์ คือ 25-35 ปี เนื่องจากหากตั้งครรภ์อายุน้อยจะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี เพียงแต่ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และหมั่นตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่อง” นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการฯ กล่าว
ศ.พญ.พรสวรรค์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยยังมีปัญหาตัวเลขกลุ่มเด็กพิการแต่กำเนิดยังไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีระบบคัดกรอง หรือจดทะเบียนผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ นักวิชาการโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ได้จัดทำโครงการป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดฯ ขึ้นใน 5 กลุ่มโรค โดยได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการระดับชุมชน และระดับโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย มีทั้งแบบประเมินและคัดกรองโดยจดทะเบียน และส่งต่อข้อมูลเด็กพิการ ดูแล รักษาป้องกัน ฟื้นฟู ติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
วันนี้ (8 พ.ย.) ที่โรงแรมตวันนา ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวระหว่างการประชุมวิชาการครั้งที่ 4 ประจำปี 2555 “โครงการป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย” จัดโดยสมาคมเพื่อเด็กพิการฯ ร่วมกับชมรมเวชพันธุศาสตร์กุมารแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีทารกพิการแต่กำเนิดกว่า 8 ล้านคน สำหรับไทยมีทารกแรกเกิด 800,000 คนต่อปี พบพิการแต่กำเนิดร้อยละ 3-5 หรือ 24,000-40,000 คนต่อปี ซึ่งความพิการแต่กำเนิดมีหลายภาวะ แต่ส่วนใหญ่จะพบ 5 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอาการดาวน์ พบ 1 ต่อ 1,000 ราย 2.กลุ่มหลอดประสาทไม่ปิด พบ 1 ต่อ 800 ราย 3.กลุ่มปากแหว่งเพดานโหว่ พบ 1ต่อ 1,000 ราย 4.กลุ่มแขนขาพิการแต่กำเนิดพบ 1 ต่อ 1,000 ราย และ 5.กลุ่มกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ พบ 1ต่อ 10,000 ราย ซึ่งสาเหตุครึ่งหนึ่งมาจากพันธุกรรม และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น บุหรี่ เหล้า เพศสัมพันธ์
“หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ย่อมมีโอกาสลูกพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ การตั้งครรภ์ขณะอายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงด้วย อายุที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์ คือ 25-35 ปี เนื่องจากหากตั้งครรภ์อายุน้อยจะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี เพียงแต่ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และหมั่นตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่อง” นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการฯ กล่าว
ศ.พญ.พรสวรรค์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยยังมีปัญหาตัวเลขกลุ่มเด็กพิการแต่กำเนิดยังไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีระบบคัดกรอง หรือจดทะเบียนผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ นักวิชาการโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ได้จัดทำโครงการป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดฯ ขึ้นใน 5 กลุ่มโรค โดยได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการระดับชุมชน และระดับโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย มีทั้งแบบประเมินและคัดกรองโดยจดทะเบียน และส่งต่อข้อมูลเด็กพิการ ดูแล รักษาป้องกัน ฟื้นฟู ติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น