“หมอประดิษฐ์” ให้นโยบาย 30 บาทยุคใหม่ เน้นปรับโครงสร้างการเงินการคลังให้สมดุลตั้งเป้า 1 ปี จะมีหน่วยงานกลางในการจัดทำธุรกรรมการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลระดับชาติ พร้อมบูรณาการ 3 กองทุนเท่าเทียม เตรียมเดินหน้าบูรณาการขยายสิทธิรักษามะเร็งทั้งระบบมาตรฐานเดียว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเปิดเผยหลังให้นโยบายหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ทิศทางการทำงานในระบบหลักประกันสุขภาพชาติ ใน 10 ปีต่อไปคนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น และจะต้องมีสุขภาพดีเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆเพื่อเป็นฐานในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งการทำงานจะเน้นร่วม กันเป็นทีม ทั้งภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายตัวชี้วัดการวัดผลการทำงานชัดเจน ในการสนองต่อนโยบายที่ได้มอบหมาย โดยมีนโยบาย 4 ประการดังนี้
1.การปรับโครงสร้างด้านการเงินการคลังเพื่อสร้างความสมดุลของ รายได้และรายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาว ทั้งระดับมหภาค ภูมิภาค และระดับโรงพยาบาลที่เหมาะสมของแต่ละแห่ง โดยสปสช.ต้องมีระบบการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับระบบตัวชี้วัดร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มีระบบการติดตามกำกับผลงานที่มีประสิทธิภาพ มีการปรับระบบจัดการบริหารภายใน โดยปรับโครงสร้างเพื่อรองรับงานใหม่ การสื่อสารสาธารณะเชิงรุก ตลอดจนพัฒนาระบบการดูแลค่าตอบแทนบุคลากร (commissioning) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
2.การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้เป็นระบบและมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลระดับชาติ (National Health Information) และภายใน 1 ปี ตั้งเป้าหมาย จะมีหน่วยงานกลาง ในการจัดทำธุรกรรมการเบิกจ่ายระดับชาติ (National clearing house) หรือ เคลียริงเฮาส์เกิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการดูแลระบบที่มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน หน่วยบริการจะส่งข้อมูลทุกระบบผ่านหน่วยงานเดียวระบบเดียว มีระบบการเรียกเก็บเงินจากสปสช.ไปยังกองทุนอื่น และจ่ายเงินจากสปสช.ให้หน่วยบริการ เป็นระบบเดียว ใช้ได้กับ 3 กองทุน มีการนำข้อมูลของทุกระบบไปใช้ในการติดตามและวางแผนอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีการจัดระบบร้องเรียนจากประชาชนและหน่วยบริการด้วย
3.การเสริมสร้างบทบาทหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและประโยชน์ร่วมกันทั้งระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระดับโลก ซึ่งประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเป็นศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งได้มีการหารือการทำงานกับญี่ปุ่น ทั้งในประเด็นเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจากการดำเนินการหลักประกันสุขภาพมา 10 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์ฝึกอบรมในเรื่องหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าได้ ซึ่งขณะนี้สปสช.มีโครงการร่วมกับองค์กรนานาชาติ เช่น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ในการทำโครงการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศต่างๆ ขณะที่ในเวทีระดับนานาชาติ เช่น สมัชชาสุขภาพโลก และ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประเทศไทยมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนประเด็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้เป็นมติในเวทีต่างๆ ซึ่งจะมีการนำเข้าหารือในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งหน้า และมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวชี้วัดสหัสวรรษใหม่โดยนำบทเรียนเรื่องเกี่ยวกับ ระบบหลักประกันต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย
4.การเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค มีนโยบายสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1.การบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่างๆ ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นทัดเทียมกันที่จะเตรียมเสนอ คือ การบูรณาการโรคมะเร็งทั้งระบบมี หลักเกณฑ์รักษาเหมือนกัน, การใช้ระบบการเบิกจ่ายเดียวกันและมีการจัดระบบการจัดซื้อยารวมเพื่อให้ได้ ราคาถูกลง 2.การดูแลสุขภาพในระยะยาวโดยจะทำร่วมกับญี่ปุ่นโดยจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพแนวใหม่ และ 3.การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองโดยจะมีการนำระบบการบำบัดอาการปวดของ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมาใช้ และการขยายบริการเชิงรุกภายในชุมชน รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงระบบบริการอย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายในการรวมกองทุนเนื่องจากที่มาของแต่ละกองทุนต่างกัน และสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุนจะต้องไม่ลดลง จะยกระดับสิทธิประโยชน์แต่ละกองทุนขึ้นไปให้เท่ากัน และบูรณาการให้มีมาตรฐานเดียวกัน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเปิดเผยหลังให้นโยบายหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ทิศทางการทำงานในระบบหลักประกันสุขภาพชาติ ใน 10 ปีต่อไปคนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น และจะต้องมีสุขภาพดีเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆเพื่อเป็นฐานในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งการทำงานจะเน้นร่วม กันเป็นทีม ทั้งภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายตัวชี้วัดการวัดผลการทำงานชัดเจน ในการสนองต่อนโยบายที่ได้มอบหมาย โดยมีนโยบาย 4 ประการดังนี้
1.การปรับโครงสร้างด้านการเงินการคลังเพื่อสร้างความสมดุลของ รายได้และรายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาว ทั้งระดับมหภาค ภูมิภาค และระดับโรงพยาบาลที่เหมาะสมของแต่ละแห่ง โดยสปสช.ต้องมีระบบการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับระบบตัวชี้วัดร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มีระบบการติดตามกำกับผลงานที่มีประสิทธิภาพ มีการปรับระบบจัดการบริหารภายใน โดยปรับโครงสร้างเพื่อรองรับงานใหม่ การสื่อสารสาธารณะเชิงรุก ตลอดจนพัฒนาระบบการดูแลค่าตอบแทนบุคลากร (commissioning) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
2.การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้เป็นระบบและมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลระดับชาติ (National Health Information) และภายใน 1 ปี ตั้งเป้าหมาย จะมีหน่วยงานกลาง ในการจัดทำธุรกรรมการเบิกจ่ายระดับชาติ (National clearing house) หรือ เคลียริงเฮาส์เกิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการดูแลระบบที่มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน หน่วยบริการจะส่งข้อมูลทุกระบบผ่านหน่วยงานเดียวระบบเดียว มีระบบการเรียกเก็บเงินจากสปสช.ไปยังกองทุนอื่น และจ่ายเงินจากสปสช.ให้หน่วยบริการ เป็นระบบเดียว ใช้ได้กับ 3 กองทุน มีการนำข้อมูลของทุกระบบไปใช้ในการติดตามและวางแผนอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีการจัดระบบร้องเรียนจากประชาชนและหน่วยบริการด้วย
3.การเสริมสร้างบทบาทหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและประโยชน์ร่วมกันทั้งระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระดับโลก ซึ่งประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเป็นศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งได้มีการหารือการทำงานกับญี่ปุ่น ทั้งในประเด็นเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจากการดำเนินการหลักประกันสุขภาพมา 10 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์ฝึกอบรมในเรื่องหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าได้ ซึ่งขณะนี้สปสช.มีโครงการร่วมกับองค์กรนานาชาติ เช่น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ในการทำโครงการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศต่างๆ ขณะที่ในเวทีระดับนานาชาติ เช่น สมัชชาสุขภาพโลก และ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประเทศไทยมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนประเด็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้เป็นมติในเวทีต่างๆ ซึ่งจะมีการนำเข้าหารือในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งหน้า และมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวชี้วัดสหัสวรรษใหม่โดยนำบทเรียนเรื่องเกี่ยวกับ ระบบหลักประกันต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย
4.การเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค มีนโยบายสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1.การบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่างๆ ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นทัดเทียมกันที่จะเตรียมเสนอ คือ การบูรณาการโรคมะเร็งทั้งระบบมี หลักเกณฑ์รักษาเหมือนกัน, การใช้ระบบการเบิกจ่ายเดียวกันและมีการจัดระบบการจัดซื้อยารวมเพื่อให้ได้ ราคาถูกลง 2.การดูแลสุขภาพในระยะยาวโดยจะทำร่วมกับญี่ปุ่นโดยจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพแนวใหม่ และ 3.การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองโดยจะมีการนำระบบการบำบัดอาการปวดของ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมาใช้ และการขยายบริการเชิงรุกภายในชุมชน รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงระบบบริการอย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายในการรวมกองทุนเนื่องจากที่มาของแต่ละกองทุนต่างกัน และสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุนจะต้องไม่ลดลง จะยกระดับสิทธิประโยชน์แต่ละกองทุนขึ้นไปให้เท่ากัน และบูรณาการให้มีมาตรฐานเดียวกัน