เอไอที ร้อง ศธ.ช่วยแก้ปัญหาปริญญาผิดกฎหมาย เหตุรัฐบาลไม่รองรับกฎบัตรฉบับใหม่ ข้องใจอธิการละเลยสถาบัน เปิดช่องต่างชาติร่วมลงทุน
วันนี้ (17 ต.ค.) เวลาประมาณ 15.00 น. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) องค์การนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ประมาณ 30 คน เดินทางเพื่อยื่นหนังสือต่อ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้แก้ไขปัญหาที่ยืดเยื้อของสถาบันเอไอที ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ปริญญาบัตรของนักศึกษาที่จบการศึกษาหลังเดือนมกราคม พ.ศ.2555 ไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยมี นายอมรพล ช่างสุพรรณ นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและการจัดการ ผู้ประสานงานนักศึกษาไทย ในฐานะแกนนำ
นายอมรพล กล่าวว่า สถาบันเอไอทีบริหารจัดการภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พ.ศ.2510 และมีการออกกฎบัตรออกมาใช้ในการบริหารงานซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบกับกฎบัตรฉบับเก่าไว้ แต่สถาบันมีการประกาศใช้กฎบัตรฉบับใหม่ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2555 ซึ่งกฎบัตรฉบับใหม่ยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทย ขณะที่กระทรวงต่างประเทศ (กต.) ก็มีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน 2555 แจ้งมายัง นายซาอิด อิรานดุ๊ส อธิการบดีสถาบันเอไอที ว่า รัฐบาลไทยไม่รับรองกฎบัตรฉบับใหม่ ซึ่งจะมีผลให้ปริญญาบัตรของนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติจากสภาบริหารเอไอที ไม่ได้รับการรับรองจาก ก.พ.ตามไปด้วย อันเป็นผลสืบเนื่องจากประเด็นสถานภาพทางกฎหมายของสถาบัน นักศึกษาจึงกังวลว่าข้อคิดเห็นจาก กต.จะส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้สำเร็จการศึกษา หลังเดือนมกราคม 2555 เป็นต้นไป ซึ่งมีผู้เข้ารับปริญญาบัตรไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา 1 รุ่น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ก.พ.ได้ให้การรับรองผู้ที่รับปริญญาเมื่อเดือนมิถุนายนไปแล้ว เพราะ ก.พ.ยังไม่รู้ว่าเอไอทีประกาศใช้กฎบัตรฉบับใหม่ แต่เชื่อว่าเมื่อมีข้อคิดเห็นออกมาเช่นนี้ ก.พ.จะต้องเพิกถอนการรับรองปริญญาบัตรอย่างแน่นอน และเชื่อว่า ขณะนี้คงอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพิกถอนอยู่ ขณะที่ในส่วนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้แสดงความคิดเห็นกับนักศึกษาที่ได้รับทุนของ สกอ.ไปขอคำปรึกษา ว่า ขอให้เปลี่ยนมหาวิทยาลัยแทน เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการรับทุน ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศไทยให้ความเห็นว่า จะไม่รับรองกฎบัตรฉบับใหม่ มีผลให้ปริญญาบัตรไม่ได้รับการรับรองตาม แต่ทางอธิการบดีกลับยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีปัญหาและยังไม่การชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา ทำให้นักศึกษาที่เรียนอยู่ และเพิ่งรับปริญญาไปมีความกังวลใจอย่างมาก
“อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ ศธ.และ กต.เคลียร์เรื่องนี้ให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว และเราคงไม่ไปก้าวล่วงว่าจะต้องใช้กฎบัตรฉบับเก่าหรือมใหม่ แต่จะใช้กฎบัตรฉบับไหนก็ขออย่าให้เกิดผลกระทบกับนักศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยที่มาเรียนเอไอที จะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้วุฒิการศึกษาไปแสดงต่อหน่วยงาน ขณะเดียวกัน นักศึกษารุ่นต่อไปก็กำลังจะเข้ารับปริญญาในเดือนธันวาคมนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ควรจะต้องมีความชัดเจนก่อนวันที่ 1 ธันวาคม และจริงๆ แล้วเรื่องนี้ยิ่งปล่อยนานไปปัญหายิ่งบานปลาย เมื่อข่าวแพร่ออกไป บางมหาวิทยาลัยเริ่มลังเลที่จะรับบัณฑิตจากที่นี่เข้าไปเป็นอาจารย์ หรือแม้แต่ไปสมัครงานทั่วไปบริษัทต่างๆ ก็เริ่มลังเลเช่นกัน และไม่ใช่นักเรียนไทยเท่านั้น นักศึกษาต่างชาติก็เริ่มไม่พอใจ เพราะมีความวิตก ว่า ถ้าประเทศไทยปฏิเสธปริญญาจากที่นี่แล้วประเทศอื่นๆ ก็อาจไม่รับรองปริญญาตาม ดังนั้น อยากให้อธิการบดีมาหารือกับทางรัฐบาลไทย เพื่อหาทางให้รัฐบาลไทยรับรองปริญญาให้ได้” นายอมรพล กล่าว
ผู้ประสานงานฯ กล่าวต่อว่า แม้จะไม่สามารถออกมาเรียกร้องในส่วนการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้ แต่นักศึกษาบางส่วนก็มีข้อสงสัย ว่า มีความจำเป็นใดที่เอไอทีจะต้องประกาศใช้กฎบัตรใหม่ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมาย หากมหาวิทยาลัยกลับไปใช้กฎบัตรเก่าปัญหาต่างๆ ก็จะหมดไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับรองปริญญา หรือเงินทุนสนับสนุน ที่ผ่านมาภายใต้กฎบัตรเก่ารัฐบาลไทยได้ให้เงินสนับสนุนแก่เอไอทีเฉพาะทุนการศึกษากว่า 40 ล้านบาท แต่เมื่อประกาศใช้กฎบัตรใหม่ ที่รัฐบาลไทยไม่รับรองแล้ว รัฐบาลไทยจึงไม่สามารถสนับสนุนทางการเงินได้อีก ขณะที่สถาบันเองก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่จำเป็นต้องใช้เงินในการบูรณะซ่อมแซมกว่า 290 ล้านบาท
“ปัจจุบันผมเชื่อข่าวที่ว่า เอไอทีมีปัญหาการเงินอย่างหนัก เงินที่มีอยู่เพียงพอที่จะจ้างอาจารย์และบุคลากรได้แค่เดือนมกราคม 2556 เท่านั้น ซึ่งทำให้นักศึกษาวิตกกันมาก และบางส่วนวิตก ว่า มีความพยายามที่จะสร้างเงื่อนไขให้สถาบันมีปัญหาการเงินอย่างหนักเพื่อนำไปสู่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจากต่างชาติ เข้ามาร่วมบริหารจัดการหรือไม่ อีกทั้งกฎบัตรฉบับใหม่ก็เปิดทางให้มีการระดมทุนจากภาคเอกชนได้ง่ายมากขึ้น แต่วัตถุประสงค์ในการตั้งสถาบันเอไอทีนั้น เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร เมื่อให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหารจัดการวัตถุประสงค์นี้อาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะธรรมชาติของภาคเอกชน คือการแสวงหากำไร แต่ขณะนี้อธิการเองก็ยังไม่มีคำชี้แจงในเรื่องนี้” นายอมรพล กล่าว
ด้าน นางพนิตา กล่าวว่า ตนอยากให้นักศึกษาสบายใจ และไม่ต้องกังวลกับปัญหาดังกล่าวขอให้ตั้งใจเรียน เพราะตนเองเป็นศิษย์เก่าที่ได้รับปริญญาที่ศักดิ์สิทธิ์จากเอไอทีเช่นกัน จึงพร้อมนำเรื่องดังกล่าวหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไขปัญาหาต่อไป
วันนี้ (17 ต.ค.) เวลาประมาณ 15.00 น. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) องค์การนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ประมาณ 30 คน เดินทางเพื่อยื่นหนังสือต่อ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้แก้ไขปัญหาที่ยืดเยื้อของสถาบันเอไอที ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ปริญญาบัตรของนักศึกษาที่จบการศึกษาหลังเดือนมกราคม พ.ศ.2555 ไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยมี นายอมรพล ช่างสุพรรณ นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและการจัดการ ผู้ประสานงานนักศึกษาไทย ในฐานะแกนนำ
นายอมรพล กล่าวว่า สถาบันเอไอทีบริหารจัดการภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พ.ศ.2510 และมีการออกกฎบัตรออกมาใช้ในการบริหารงานซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบกับกฎบัตรฉบับเก่าไว้ แต่สถาบันมีการประกาศใช้กฎบัตรฉบับใหม่ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2555 ซึ่งกฎบัตรฉบับใหม่ยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทย ขณะที่กระทรวงต่างประเทศ (กต.) ก็มีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน 2555 แจ้งมายัง นายซาอิด อิรานดุ๊ส อธิการบดีสถาบันเอไอที ว่า รัฐบาลไทยไม่รับรองกฎบัตรฉบับใหม่ ซึ่งจะมีผลให้ปริญญาบัตรของนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติจากสภาบริหารเอไอที ไม่ได้รับการรับรองจาก ก.พ.ตามไปด้วย อันเป็นผลสืบเนื่องจากประเด็นสถานภาพทางกฎหมายของสถาบัน นักศึกษาจึงกังวลว่าข้อคิดเห็นจาก กต.จะส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้สำเร็จการศึกษา หลังเดือนมกราคม 2555 เป็นต้นไป ซึ่งมีผู้เข้ารับปริญญาบัตรไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา 1 รุ่น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ก.พ.ได้ให้การรับรองผู้ที่รับปริญญาเมื่อเดือนมิถุนายนไปแล้ว เพราะ ก.พ.ยังไม่รู้ว่าเอไอทีประกาศใช้กฎบัตรฉบับใหม่ แต่เชื่อว่าเมื่อมีข้อคิดเห็นออกมาเช่นนี้ ก.พ.จะต้องเพิกถอนการรับรองปริญญาบัตรอย่างแน่นอน และเชื่อว่า ขณะนี้คงอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพิกถอนอยู่ ขณะที่ในส่วนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้แสดงความคิดเห็นกับนักศึกษาที่ได้รับทุนของ สกอ.ไปขอคำปรึกษา ว่า ขอให้เปลี่ยนมหาวิทยาลัยแทน เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการรับทุน ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศไทยให้ความเห็นว่า จะไม่รับรองกฎบัตรฉบับใหม่ มีผลให้ปริญญาบัตรไม่ได้รับการรับรองตาม แต่ทางอธิการบดีกลับยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีปัญหาและยังไม่การชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา ทำให้นักศึกษาที่เรียนอยู่ และเพิ่งรับปริญญาไปมีความกังวลใจอย่างมาก
“อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ ศธ.และ กต.เคลียร์เรื่องนี้ให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว และเราคงไม่ไปก้าวล่วงว่าจะต้องใช้กฎบัตรฉบับเก่าหรือมใหม่ แต่จะใช้กฎบัตรฉบับไหนก็ขออย่าให้เกิดผลกระทบกับนักศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยที่มาเรียนเอไอที จะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้วุฒิการศึกษาไปแสดงต่อหน่วยงาน ขณะเดียวกัน นักศึกษารุ่นต่อไปก็กำลังจะเข้ารับปริญญาในเดือนธันวาคมนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ควรจะต้องมีความชัดเจนก่อนวันที่ 1 ธันวาคม และจริงๆ แล้วเรื่องนี้ยิ่งปล่อยนานไปปัญหายิ่งบานปลาย เมื่อข่าวแพร่ออกไป บางมหาวิทยาลัยเริ่มลังเลที่จะรับบัณฑิตจากที่นี่เข้าไปเป็นอาจารย์ หรือแม้แต่ไปสมัครงานทั่วไปบริษัทต่างๆ ก็เริ่มลังเลเช่นกัน และไม่ใช่นักเรียนไทยเท่านั้น นักศึกษาต่างชาติก็เริ่มไม่พอใจ เพราะมีความวิตก ว่า ถ้าประเทศไทยปฏิเสธปริญญาจากที่นี่แล้วประเทศอื่นๆ ก็อาจไม่รับรองปริญญาตาม ดังนั้น อยากให้อธิการบดีมาหารือกับทางรัฐบาลไทย เพื่อหาทางให้รัฐบาลไทยรับรองปริญญาให้ได้” นายอมรพล กล่าว
ผู้ประสานงานฯ กล่าวต่อว่า แม้จะไม่สามารถออกมาเรียกร้องในส่วนการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้ แต่นักศึกษาบางส่วนก็มีข้อสงสัย ว่า มีความจำเป็นใดที่เอไอทีจะต้องประกาศใช้กฎบัตรใหม่ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมาย หากมหาวิทยาลัยกลับไปใช้กฎบัตรเก่าปัญหาต่างๆ ก็จะหมดไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับรองปริญญา หรือเงินทุนสนับสนุน ที่ผ่านมาภายใต้กฎบัตรเก่ารัฐบาลไทยได้ให้เงินสนับสนุนแก่เอไอทีเฉพาะทุนการศึกษากว่า 40 ล้านบาท แต่เมื่อประกาศใช้กฎบัตรใหม่ ที่รัฐบาลไทยไม่รับรองแล้ว รัฐบาลไทยจึงไม่สามารถสนับสนุนทางการเงินได้อีก ขณะที่สถาบันเองก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่จำเป็นต้องใช้เงินในการบูรณะซ่อมแซมกว่า 290 ล้านบาท
“ปัจจุบันผมเชื่อข่าวที่ว่า เอไอทีมีปัญหาการเงินอย่างหนัก เงินที่มีอยู่เพียงพอที่จะจ้างอาจารย์และบุคลากรได้แค่เดือนมกราคม 2556 เท่านั้น ซึ่งทำให้นักศึกษาวิตกกันมาก และบางส่วนวิตก ว่า มีความพยายามที่จะสร้างเงื่อนไขให้สถาบันมีปัญหาการเงินอย่างหนักเพื่อนำไปสู่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจากต่างชาติ เข้ามาร่วมบริหารจัดการหรือไม่ อีกทั้งกฎบัตรฉบับใหม่ก็เปิดทางให้มีการระดมทุนจากภาคเอกชนได้ง่ายมากขึ้น แต่วัตถุประสงค์ในการตั้งสถาบันเอไอทีนั้น เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร เมื่อให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหารจัดการวัตถุประสงค์นี้อาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะธรรมชาติของภาคเอกชน คือการแสวงหากำไร แต่ขณะนี้อธิการเองก็ยังไม่มีคำชี้แจงในเรื่องนี้” นายอมรพล กล่าว
ด้าน นางพนิตา กล่าวว่า ตนอยากให้นักศึกษาสบายใจ และไม่ต้องกังวลกับปัญหาดังกล่าวขอให้ตั้งใจเรียน เพราะตนเองเป็นศิษย์เก่าที่ได้รับปริญญาที่ศักดิ์สิทธิ์จากเอไอทีเช่นกัน จึงพร้อมนำเรื่องดังกล่าวหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไขปัญาหาต่อไป