เอแบคโพลล์ เผย นักเรียน 1 ใน 4 เตรียมแทงหวยตู้แน่หากมีการตั้งจริง แม้เกินครึ่งจะไม่เห็นด้วย เพราะมีผลประโยชน์แอบแฝง ขณะที่ครู 72.8% ระบุไม่ช่วยแก้ปัญหาหวยใต้ดิน ด้าน “ครูหยุย” จี้รัฐตอบคำถามสังคม หวั่นปูทางติดพนัน ด้านตัวแทนครู ห่วงกลายเป็นของเล่นใหม่สำหรับเด็ก
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ น.ส.ฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวระหว่างงานเสวนาหัวข้อ “หวยตู้ผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเยาวชนไทย” ว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการจำหน่ายสลากแบบเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ผ่านเครื่องขายสลากแบบอัตโนมัติ (หวยตู้) โดยจะเริ่มจำหน่ายวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จึงร่วมกับ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบคโพลล์) ทำการสำรวจความคิดเห็นของครูและเด็กนักเรียน เรื่อง “จะออกหวยตู้ถามครูกับหนูรึยัง?” แบ่งเป็น กลุ่มอาชีพครูอายุ 30-59 ปี 884 ราย และกลุ่มนักเรียนอายุไม่เกิน 21 ปี 1,042 ราย โดยกลุ่มนักเรียนส่วนใหญ่ 59.0% ต่างไม่เห็นด้วยหากจะมีหวยตู้ เพราะถือเป็นการพนันและมอมเมา นอกจากนี้ 1 ใน 3 หรือ 32.9% คิดว่า การออกหวยตู้มีผลประโยชน์แอบแฝง ขณะที่ 75.3% มองว่า หากเล่นหวยเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายอื่นตามมา และ 62.7% ระบุว่า การเล่นหวยทำให้ครอบครัวแตกแยก แต่เมื่อถามถึงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างกว่า 13.1% ระบุว่า เคยเล่นหวยและปัจจุบันยังเล่นอยู่ ที่น่าตกใจคือ นักเรียน 1 ใน 4 หรือ 25.3% ระบุว่าจะลองเล่นหรืออาจเล่นแน่ๆ เมื่อมีหวยตู้เกิดขึ้น
น.ส.ฐาณิชชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ผลสำรวจของกลุ่มอาชีพครู พบว่า เกินครึ่ง หรือ 57.2% ต่างไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะออกหวยตู้ เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพนัน มอมเมาประชาชน ทำให้คนหันมาเล่นหวยมากขึ้น เกิดหนี้สินและเป็นปัญหาสังคมตามมา นอกจากนี้ กลุ่มอาชีพครู 66.4% ยังระบุอีกว่า หากมีหวยตู้จะทำให้เด็กเข้าไปเล่นอย่างแน่นอน อีกทั้ง 72.8% เชื่อว่าหวยตู้ไม่สามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้ และ 50.6% คิดว่า การออกหวยตู้ของรัฐบาลต้องมีผลประโยชน์แอบแฝง เมื่อถามถึงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 4 ยอมรับว่า ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมากกว่าซื้อหวยใต้ดิน
“ทุกวันนี้ที่ชาวบ้านเล่นหวยใต้ดินหวังรางวัลหลักพันหลักหมื่น ไม่กล้าเล่นมาก เพราะมีความเสี่ยงว่าเจ้ามือจะโกง แต่เมื่อมีหวยตู้ที่รัฐเป็นเจ้ามือเอง มีรางวัลแจ็กพอต จะทำให้ชาวบ้านเล่นอย่างหวังรางวัลใหญ่มากขึ้น มีโอกาสสูงที่จะดึงคนให้ถลำลึกกับการเล่นหวยมากขึ้น จึงอยากถามกลับไปที่รัฐบาล ว่า วิธีคิดที่เอาสิ่งผิดมาทำให้กลายเป็นถูก โดยการที่รัฐเป็นผู้ประกอบการเสียเองนั้น ใช่แล้วหรือ และจะใช้วิธีคิดแบบนี้กับสิ่งผิดอื่นๆ หรือไม่ เช่น บ่อนการพนัน ยาเสพติด” น.ส.ฐาณิชชา กล่าว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือครูหยุย กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตามที่มติ ครม.ประกาศให้หวยออนไลน์ถูกกฎหมายและสำนักงานป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกข้อกำหนดปฏิบัติมาทั้งหมด 7 ข้อ ซึ่งตนอยากเสนอแนะว่า กองสลากต้องออกมาตรการห้ามจำหน่ายหวยออนไลน์ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องชัดเจนว่าวัดจากอะไรใช้บัตรประชาชนหรือไม่ หากมีการฝ่าฝืนควรยึดตู้เป็นของหลวงแทนการปรับ ข้อสองระยะห่างจากชุมชน หรือสถานศึกษาเกิน 50 เมตร หรืออาจจะใช้กฎหมายเดียวกับ พ.ร.บ.สุรา หากฝ่าฝืนเสนอให้มีการยึดตู้เช่นกัน รวมถึงปรับเท่าไหร่ และรายได้จากการขายหวยตู้ควรนำไปพัฒนาชุมชนรณรงค์ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับพนัน รายได้ที่จะให้ชุมชนตัวเลขเท่าไหร่ต้องกำหนดออกมาให้ชัด นอกจากนึ้ ควรทำประชาพิจารณ์ถามความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในการกำหนดจุดตั้งตู้หวยออนไลน์เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม และเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วไม่ได้เห็นด้วยกับมติ ครม.แต่เมื่อทิศทางออกมาแบบนี้ ทาง ครม.ต้องตอบคำถามให้ได้อย่างชัดเจนไม่ใช่จะออกมาแบบลอยๆ
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการหวยออนไลน์ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลต้องจัดทำแผนภายใต้ข้อกำหนดทั้ง 7 ข้อที่ ป.ป.ช. กำหนด ซึ่งต้องใช้ช่วงเวลานี้เร่งให้รัฐบาลตอบคำถามในรายละเอียดต่างๆ ให้ได้ โดยทำหนังสือถึงสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนภาคประชาชนตั้งกระทู้ถาม พร้อมข้อเสนอแนะให้รัฐบาลตอบคำถามให้ชัดเจน รวมถึงให้กรรมาธิการเด็กและเยาวชนให้เชิญกองสลากมาร่วมให้คำตอบโดยให้ภาคประชาชนเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ หรือให้ ป.ป.ช.ช่วยติดตามรายละเอียดต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ ควรจะมีการทำหนังสือถึงรัฐมนตรีทุกคนให้ร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ได้ลงนามลงไป
นางสุภาภัค ผ่องน้อย ตัวแทนครูโรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม กล่าวว่า ทุกวันนี้การพนันออนไลน์รัฐบาลก็ยังควบคุมไม่ได้ เมื่อออกหวยตู้มาจะกลายเป็นของเล่นใหม่ ปูทางติดพนันสำหรับเด็กทันที ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนฝักใฝ่การเล่นพนันอย่างเต็มรูปแบบ เพราะอย่าลืมว่าเด็กอยากรู้อยากลอง และยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ยังไม่มีทักษะทางความคิดแยกไม่ออกว่าอันไหนถูกผิด สุดท้ายเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เด็กต้องตกเป็นจำเลยของสังคม ทั้งที่ปัญหาเหล่านี้ผู้ใหญ่เป็นคนสร้างขึ้นมา ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบ ไม่ควรส่งเสริมปลูกฝังการเล่นพนันให้เด็ก เพราะปัญหาที่เกิดกับเด็กตอนนี้มีมากพออยู่แล้ว
นายณัฐกิตต์ จิตต์ตรีสินธุ์ ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า เมื่อเปิดให้มีหวยออนไลน์หรือหวยตู้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว จะเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเข้าถึงและเล่นหวยมากขึ้น และคาดว่าภายใน1-2 เดือนเราจะเห็นชัดเจน และมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของเยาวชน เนื่องจากว่า เยาวชนเมื่อมีพฤติกรรมเล่นหวยได้ง่ายขึ้น และจะเกิดการส่งต่อเลียนแบบไปยังเพื่อนๆ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องออกกฎเกณฑ์ หรือมาตรการอย่างรัดกุม หรือมีวิธีใดๆ ก็ตามที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเข้าถึงของเยาวชน
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ น.ส.ฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวระหว่างงานเสวนาหัวข้อ “หวยตู้ผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเยาวชนไทย” ว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการจำหน่ายสลากแบบเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ผ่านเครื่องขายสลากแบบอัตโนมัติ (หวยตู้) โดยจะเริ่มจำหน่ายวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จึงร่วมกับ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบคโพลล์) ทำการสำรวจความคิดเห็นของครูและเด็กนักเรียน เรื่อง “จะออกหวยตู้ถามครูกับหนูรึยัง?” แบ่งเป็น กลุ่มอาชีพครูอายุ 30-59 ปี 884 ราย และกลุ่มนักเรียนอายุไม่เกิน 21 ปี 1,042 ราย โดยกลุ่มนักเรียนส่วนใหญ่ 59.0% ต่างไม่เห็นด้วยหากจะมีหวยตู้ เพราะถือเป็นการพนันและมอมเมา นอกจากนี้ 1 ใน 3 หรือ 32.9% คิดว่า การออกหวยตู้มีผลประโยชน์แอบแฝง ขณะที่ 75.3% มองว่า หากเล่นหวยเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายอื่นตามมา และ 62.7% ระบุว่า การเล่นหวยทำให้ครอบครัวแตกแยก แต่เมื่อถามถึงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างกว่า 13.1% ระบุว่า เคยเล่นหวยและปัจจุบันยังเล่นอยู่ ที่น่าตกใจคือ นักเรียน 1 ใน 4 หรือ 25.3% ระบุว่าจะลองเล่นหรืออาจเล่นแน่ๆ เมื่อมีหวยตู้เกิดขึ้น
น.ส.ฐาณิชชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ผลสำรวจของกลุ่มอาชีพครู พบว่า เกินครึ่ง หรือ 57.2% ต่างไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะออกหวยตู้ เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพนัน มอมเมาประชาชน ทำให้คนหันมาเล่นหวยมากขึ้น เกิดหนี้สินและเป็นปัญหาสังคมตามมา นอกจากนี้ กลุ่มอาชีพครู 66.4% ยังระบุอีกว่า หากมีหวยตู้จะทำให้เด็กเข้าไปเล่นอย่างแน่นอน อีกทั้ง 72.8% เชื่อว่าหวยตู้ไม่สามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้ และ 50.6% คิดว่า การออกหวยตู้ของรัฐบาลต้องมีผลประโยชน์แอบแฝง เมื่อถามถึงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 4 ยอมรับว่า ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมากกว่าซื้อหวยใต้ดิน
“ทุกวันนี้ที่ชาวบ้านเล่นหวยใต้ดินหวังรางวัลหลักพันหลักหมื่น ไม่กล้าเล่นมาก เพราะมีความเสี่ยงว่าเจ้ามือจะโกง แต่เมื่อมีหวยตู้ที่รัฐเป็นเจ้ามือเอง มีรางวัลแจ็กพอต จะทำให้ชาวบ้านเล่นอย่างหวังรางวัลใหญ่มากขึ้น มีโอกาสสูงที่จะดึงคนให้ถลำลึกกับการเล่นหวยมากขึ้น จึงอยากถามกลับไปที่รัฐบาล ว่า วิธีคิดที่เอาสิ่งผิดมาทำให้กลายเป็นถูก โดยการที่รัฐเป็นผู้ประกอบการเสียเองนั้น ใช่แล้วหรือ และจะใช้วิธีคิดแบบนี้กับสิ่งผิดอื่นๆ หรือไม่ เช่น บ่อนการพนัน ยาเสพติด” น.ส.ฐาณิชชา กล่าว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือครูหยุย กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตามที่มติ ครม.ประกาศให้หวยออนไลน์ถูกกฎหมายและสำนักงานป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกข้อกำหนดปฏิบัติมาทั้งหมด 7 ข้อ ซึ่งตนอยากเสนอแนะว่า กองสลากต้องออกมาตรการห้ามจำหน่ายหวยออนไลน์ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องชัดเจนว่าวัดจากอะไรใช้บัตรประชาชนหรือไม่ หากมีการฝ่าฝืนควรยึดตู้เป็นของหลวงแทนการปรับ ข้อสองระยะห่างจากชุมชน หรือสถานศึกษาเกิน 50 เมตร หรืออาจจะใช้กฎหมายเดียวกับ พ.ร.บ.สุรา หากฝ่าฝืนเสนอให้มีการยึดตู้เช่นกัน รวมถึงปรับเท่าไหร่ และรายได้จากการขายหวยตู้ควรนำไปพัฒนาชุมชนรณรงค์ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับพนัน รายได้ที่จะให้ชุมชนตัวเลขเท่าไหร่ต้องกำหนดออกมาให้ชัด นอกจากนึ้ ควรทำประชาพิจารณ์ถามความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในการกำหนดจุดตั้งตู้หวยออนไลน์เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม และเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วไม่ได้เห็นด้วยกับมติ ครม.แต่เมื่อทิศทางออกมาแบบนี้ ทาง ครม.ต้องตอบคำถามให้ได้อย่างชัดเจนไม่ใช่จะออกมาแบบลอยๆ
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการหวยออนไลน์ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลต้องจัดทำแผนภายใต้ข้อกำหนดทั้ง 7 ข้อที่ ป.ป.ช. กำหนด ซึ่งต้องใช้ช่วงเวลานี้เร่งให้รัฐบาลตอบคำถามในรายละเอียดต่างๆ ให้ได้ โดยทำหนังสือถึงสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนภาคประชาชนตั้งกระทู้ถาม พร้อมข้อเสนอแนะให้รัฐบาลตอบคำถามให้ชัดเจน รวมถึงให้กรรมาธิการเด็กและเยาวชนให้เชิญกองสลากมาร่วมให้คำตอบโดยให้ภาคประชาชนเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ หรือให้ ป.ป.ช.ช่วยติดตามรายละเอียดต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ ควรจะมีการทำหนังสือถึงรัฐมนตรีทุกคนให้ร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ได้ลงนามลงไป
นางสุภาภัค ผ่องน้อย ตัวแทนครูโรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม กล่าวว่า ทุกวันนี้การพนันออนไลน์รัฐบาลก็ยังควบคุมไม่ได้ เมื่อออกหวยตู้มาจะกลายเป็นของเล่นใหม่ ปูทางติดพนันสำหรับเด็กทันที ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนฝักใฝ่การเล่นพนันอย่างเต็มรูปแบบ เพราะอย่าลืมว่าเด็กอยากรู้อยากลอง และยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ยังไม่มีทักษะทางความคิดแยกไม่ออกว่าอันไหนถูกผิด สุดท้ายเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เด็กต้องตกเป็นจำเลยของสังคม ทั้งที่ปัญหาเหล่านี้ผู้ใหญ่เป็นคนสร้างขึ้นมา ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบ ไม่ควรส่งเสริมปลูกฝังการเล่นพนันให้เด็ก เพราะปัญหาที่เกิดกับเด็กตอนนี้มีมากพออยู่แล้ว
นายณัฐกิตต์ จิตต์ตรีสินธุ์ ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า เมื่อเปิดให้มีหวยออนไลน์หรือหวยตู้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว จะเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเข้าถึงและเล่นหวยมากขึ้น และคาดว่าภายใน1-2 เดือนเราจะเห็นชัดเจน และมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของเยาวชน เนื่องจากว่า เยาวชนเมื่อมีพฤติกรรมเล่นหวยได้ง่ายขึ้น และจะเกิดการส่งต่อเลียนแบบไปยังเพื่อนๆ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องออกกฎเกณฑ์ หรือมาตรการอย่างรัดกุม หรือมีวิธีใดๆ ก็ตามที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเข้าถึงของเยาวชน