นักกำหนดอาหารเตือน ผู้ป่วยโรคไตกินเจให้ระวังรสเค็ม เผย กินผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมไม่มากช่วยปรับสมดุลร่างกายได้ เว้นผักสีสันสดใส อาทิ มะเขือเทศ แครอท คะน้า กินมากเสี่ยงหัวใจวายตาย
วันนี้ (16 ต.ค.) น.ส.จุฑามาส อ่อนน้อม นักกำหนดอาหาร คลินิกโรคไต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า ช่วงเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 15-23 ต.ค.นี้ เมนูอาหารเจหลายอย่างได้เปลี่ยนการปรุงรสอาหารจากน้ำปลามาเป็นเกลือ หรือซีอิ๊วขาว ที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งมีความเค็มและปริมาณโซเดียมใกล้เคียงกัน หากบริโภคอาหารเจที่มีโซเดียมมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือประมาณ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ และ อัมพาต ได้ โดยเฉพาะอาหารเจที่มีการอุ่นตลอดเวลาหรือบ่อยครั้ง จะทำให้น้ำระเหยเหลือแต่ความเค็ม
“ผู้ที่ซื้ออาหารเจมาจากตลาด ซึ่งผู้ค้ามีการอุ่นกับข้าวตลอดเวลา ควรรับประทานแต่ส่วนที่เป็นเนื้อเท่านั้น ส่วนกลุ่มที่นิยมซื้ออาหารเจสำเร็จรูปมารับประทาน ควรที่จะอ่านฉลากโภชนาการก่อนทุกครั้งว่ามีปริมาณโซเดียมมากน้อยเท่าใด ซึ่งปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูปเจที่เหมาะสมคือประมาณ 1,000 มิลลิกรัม โดยแต่ละยี่ห้อจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบแตกต่างกันไป” น.ส.จุฑามาส กล่าว
น.ส.จุฑามาส กล่าวอีกว่า ช่วงเทศกาลกินเจขอแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากมีแร่ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งสามารถช่วยปรับสมดุลความเค็มในร่างกายได้ อาทิ แอปเปิลลูกเล็กๆ หรือสับปะรด ยกเว้นกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคไต ช่วงเทศกาลกินเจไม่ควรรับประทานผักและผลไม้ที่ให้โพแทสเซียมปริมาณมาก อาทิ แก้วมังกร ลองกอง ทุเรียน มะละกอ และ กล้วย หรือผักที่มีสีสันสดใส เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง แครอท ใบคะน้า หรือ บรอกโคลี นอกจากนี้ ยังต้องระวังกลุ่มผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด ลูกพรุน กล้วยตาก เนื่องจากจะส่งผลระบบกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้
วันนี้ (16 ต.ค.) น.ส.จุฑามาส อ่อนน้อม นักกำหนดอาหาร คลินิกโรคไต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า ช่วงเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 15-23 ต.ค.นี้ เมนูอาหารเจหลายอย่างได้เปลี่ยนการปรุงรสอาหารจากน้ำปลามาเป็นเกลือ หรือซีอิ๊วขาว ที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งมีความเค็มและปริมาณโซเดียมใกล้เคียงกัน หากบริโภคอาหารเจที่มีโซเดียมมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือประมาณ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ และ อัมพาต ได้ โดยเฉพาะอาหารเจที่มีการอุ่นตลอดเวลาหรือบ่อยครั้ง จะทำให้น้ำระเหยเหลือแต่ความเค็ม
“ผู้ที่ซื้ออาหารเจมาจากตลาด ซึ่งผู้ค้ามีการอุ่นกับข้าวตลอดเวลา ควรรับประทานแต่ส่วนที่เป็นเนื้อเท่านั้น ส่วนกลุ่มที่นิยมซื้ออาหารเจสำเร็จรูปมารับประทาน ควรที่จะอ่านฉลากโภชนาการก่อนทุกครั้งว่ามีปริมาณโซเดียมมากน้อยเท่าใด ซึ่งปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูปเจที่เหมาะสมคือประมาณ 1,000 มิลลิกรัม โดยแต่ละยี่ห้อจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบแตกต่างกันไป” น.ส.จุฑามาส กล่าว
น.ส.จุฑามาส กล่าวอีกว่า ช่วงเทศกาลกินเจขอแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากมีแร่ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งสามารถช่วยปรับสมดุลความเค็มในร่างกายได้ อาทิ แอปเปิลลูกเล็กๆ หรือสับปะรด ยกเว้นกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคไต ช่วงเทศกาลกินเจไม่ควรรับประทานผักและผลไม้ที่ให้โพแทสเซียมปริมาณมาก อาทิ แก้วมังกร ลองกอง ทุเรียน มะละกอ และ กล้วย หรือผักที่มีสีสันสดใส เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง แครอท ใบคะน้า หรือ บรอกโคลี นอกจากนี้ ยังต้องระวังกลุ่มผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด ลูกพรุน กล้วยตาก เนื่องจากจะส่งผลระบบกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้