โดย...เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ
“ผมไม่ได้มอง และไม่คิดว่าการลงทุนเรื่องของการศึกษานั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากหรือสำคัญน้อย แต่ผมคิดว่าการทำให้นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาเหมือนเด็กคนอื่น แม้ว่าเขาจะอยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร เป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่า เพราะการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด” ถ้อยคำจากใจ นายสามารถ สุทะ ครูห้องเรียนเรือนแพ ห้องเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านก้อจัดสรร อ.ลี้ จ.ลำพูน หนึ่งในครูกว่าหลายร้อยคนที่ได้รับเลือกเข้ารับ “รางวัลครูสอนดี” จากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
ครูสามารถ เล่าว่า เกือบ 7 ปี ที่มาเป็นครูห้องเรียนเรือนแพ ไกลจาก ต.ก้อ 8 กิโลเมตร ต้องขับเรือหางยาว ราว 2 ชั่วโมง ซึ่งห้องเรียนเรือนแพนั้นเป็นที่เรียนแบบกินนอน เปิดเรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตนจะสอนหนังสือและคอยดูแลเด็กตลอด 24 ชั่วโมง ตนเป็นครูเพียงคนเดียวของห้องเรียนเรือนแพ ดังนั้น หน้าที่ของตนจึงเรียกได้ว่าเป็นตั้งแต่ครู ไปจนถึงภารโรง ก็ว่าได้เพราะที่ห้องเรียนเรือนแพมีเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ป.6 โดยให้เด็กโตหน่อยช่วยดูแลเด็กที่เล็ก ๆ กว่าซึ่งปัจจุบันนี้ห้องเรียนเรือนแพมีนักเรียนเพียง 7 คนเท่านั้น
“ก่อนหน้าที่จะมาสอนที่นี่ ผมสอนอยู่ที่โรงเรียนเอกชน จ.ลำพูน แต่ทำไปสักพักรู้สึกเหมือนเรายังไม่ได้ใช้วิชาชีพครูที่เราเรียนมาอย่างเต็มที่ จนมารู้จักกับรุ่นพี่คนหนึ่งเขาบอกว่าเป็นครูต้องรับราชการนะไปสอนตามป่าตามดอยก็มานั่งคิดว่าจริงหรือไม่ ประกอบกับผมฝันอยากสอนหนังสือให้กับเด็กที่ขาดโอกาสจริง พอมีสอบบรรจุครู สอบติดและบรรจุเป็นครูห้องเรียนเรือนแพตั้งแต่ปี 2548”
ครูสามารถ เล่าว่า มาสอนแรกๆ ต้องปรับตัวใหม่จากเดิมที่สอนใช้หลักให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ก็ต้องเปลี่ยนมาจับมือเด็กอนุบาลหัดเขียนหนังสือ และต้องสอนทุกวิชาของทุกระดับชั้นตามหลักสูตรการเรียนการสอน แต่จะเน้นการสอนทักษะชีวิตเป็นสำคัญ เพราะเด็กกลุ่มนี้อยู่ในถิ่นทุรกันดาร บางทีการจะเข้าสังคมหรือเรียนรู้สังคมภายนอกจะมีโอกาสน้อยกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ยังสอนเรื่องการสร้างอาชีพ เช่น อาชีพของพ่อแม่เด็กคือการทำประมง ก็จะสอนว่าหากพ่อแม่ของนักเรียนจับปลาเพียงอย่างเดียว โดยไม่เลี้ยงหรือเพาะพันธุ์ขึ้นทดแทนวันหนึ่งปลาในแม่น้ำปิงก็จะหมดไปแล้วจะทำยังไง เราก็สอนให้เขารู้จักรักษาธรรมชาติ สอนวิธีการเลี้ยงปลาในกระชังให้ สอนการปลูกพืชบนน้ำ เป็นต้น เหล่านี้เป็นการสอนอาชีพให้เขาติดตัวไปในอนาคต ขณะเดียวกันผลผลิตที่ได้ก็นำมาทำเป็นอาหาร บางส่วนก็แบ่งขายให้กับชาวบ้านที่เข้ามารับซื้อ ซึ่งเงินทุนที่ได้รับจาก สสค.นั้นก็จะนำมาพัฒนาต่อยอดเรื่องเหล่านี้และจะดึงชุมชนมาร่วมมากขึ้นด้วย
“เคยมีครูหลายคนมาสอน แต่อยู่ไม่ได้ต้องลาออกไป ส่วนตัวผมนั้นจนถึงเวลานี้ยังไม่ท้อและไม่คิดจะออกไปไหน เพราะเด็กที่เราปั้นมากับมือ อยากจะสอนและช่วยเหลือเขาให้ได้โอกาสทางการศึกษา เหมือนกับผมที่ครั้งหนึ่งได้รับโอกาสทำให้ได้เรียนจนจบปริญญาตรี ผมมีโอกาสอยากจะถ่ายทอดโอกาสทางการศึกษานี้ต่อไปอีกทอด ผมไม่สนใจความสบาย เราหาเมื่อไรก็ได้แต่การให้โอกาสทางการศึกษาโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลนั้นยังมีน้อยและผมอยากทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะไกลเพียงใดก็สามารถจัดการศึกษาสำหรับเด็กได้”
ครูสามารถ บอกแผนการในอนาคตว่า เวลานี้ห้องเรียนเรือนแพ ยังขาดแคลนห้องสมุด ตนได้รับความกรุณาจากพระครูท่านหนึ่งซื้อแพเก่ามามอบให้เพื่อจะปรับปรุงทำเป็นห้องสมุดเรือนแพ เพราะแม้ว่าเวลานี้เราจะมีอินเทอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ให้ค้นหาความรู้ ตนคิดว่า หนังสือนั้นถือเป็นคลังสมองที่ดีที่สุดและขาดไม่ได้
และนี่คือ “ครูห้องเรียนเรือนแพ” ห้องเรียนเล็กๆ ในลุ่มน้ำปิง ที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังและความมุ่งมั่นที่พร้อมจะให้มอบโอกาสการศึกษาแก่เด็กอย่างไม่สิ้นสุด
“ผมไม่ได้มอง และไม่คิดว่าการลงทุนเรื่องของการศึกษานั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากหรือสำคัญน้อย แต่ผมคิดว่าการทำให้นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาเหมือนเด็กคนอื่น แม้ว่าเขาจะอยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร เป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่า เพราะการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด” ถ้อยคำจากใจ นายสามารถ สุทะ ครูห้องเรียนเรือนแพ ห้องเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านก้อจัดสรร อ.ลี้ จ.ลำพูน หนึ่งในครูกว่าหลายร้อยคนที่ได้รับเลือกเข้ารับ “รางวัลครูสอนดี” จากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
ครูสามารถ เล่าว่า เกือบ 7 ปี ที่มาเป็นครูห้องเรียนเรือนแพ ไกลจาก ต.ก้อ 8 กิโลเมตร ต้องขับเรือหางยาว ราว 2 ชั่วโมง ซึ่งห้องเรียนเรือนแพนั้นเป็นที่เรียนแบบกินนอน เปิดเรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตนจะสอนหนังสือและคอยดูแลเด็กตลอด 24 ชั่วโมง ตนเป็นครูเพียงคนเดียวของห้องเรียนเรือนแพ ดังนั้น หน้าที่ของตนจึงเรียกได้ว่าเป็นตั้งแต่ครู ไปจนถึงภารโรง ก็ว่าได้เพราะที่ห้องเรียนเรือนแพมีเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ป.6 โดยให้เด็กโตหน่อยช่วยดูแลเด็กที่เล็ก ๆ กว่าซึ่งปัจจุบันนี้ห้องเรียนเรือนแพมีนักเรียนเพียง 7 คนเท่านั้น
“ก่อนหน้าที่จะมาสอนที่นี่ ผมสอนอยู่ที่โรงเรียนเอกชน จ.ลำพูน แต่ทำไปสักพักรู้สึกเหมือนเรายังไม่ได้ใช้วิชาชีพครูที่เราเรียนมาอย่างเต็มที่ จนมารู้จักกับรุ่นพี่คนหนึ่งเขาบอกว่าเป็นครูต้องรับราชการนะไปสอนตามป่าตามดอยก็มานั่งคิดว่าจริงหรือไม่ ประกอบกับผมฝันอยากสอนหนังสือให้กับเด็กที่ขาดโอกาสจริง พอมีสอบบรรจุครู สอบติดและบรรจุเป็นครูห้องเรียนเรือนแพตั้งแต่ปี 2548”
ครูสามารถ เล่าว่า มาสอนแรกๆ ต้องปรับตัวใหม่จากเดิมที่สอนใช้หลักให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ก็ต้องเปลี่ยนมาจับมือเด็กอนุบาลหัดเขียนหนังสือ และต้องสอนทุกวิชาของทุกระดับชั้นตามหลักสูตรการเรียนการสอน แต่จะเน้นการสอนทักษะชีวิตเป็นสำคัญ เพราะเด็กกลุ่มนี้อยู่ในถิ่นทุรกันดาร บางทีการจะเข้าสังคมหรือเรียนรู้สังคมภายนอกจะมีโอกาสน้อยกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ยังสอนเรื่องการสร้างอาชีพ เช่น อาชีพของพ่อแม่เด็กคือการทำประมง ก็จะสอนว่าหากพ่อแม่ของนักเรียนจับปลาเพียงอย่างเดียว โดยไม่เลี้ยงหรือเพาะพันธุ์ขึ้นทดแทนวันหนึ่งปลาในแม่น้ำปิงก็จะหมดไปแล้วจะทำยังไง เราก็สอนให้เขารู้จักรักษาธรรมชาติ สอนวิธีการเลี้ยงปลาในกระชังให้ สอนการปลูกพืชบนน้ำ เป็นต้น เหล่านี้เป็นการสอนอาชีพให้เขาติดตัวไปในอนาคต ขณะเดียวกันผลผลิตที่ได้ก็นำมาทำเป็นอาหาร บางส่วนก็แบ่งขายให้กับชาวบ้านที่เข้ามารับซื้อ ซึ่งเงินทุนที่ได้รับจาก สสค.นั้นก็จะนำมาพัฒนาต่อยอดเรื่องเหล่านี้และจะดึงชุมชนมาร่วมมากขึ้นด้วย
“เคยมีครูหลายคนมาสอน แต่อยู่ไม่ได้ต้องลาออกไป ส่วนตัวผมนั้นจนถึงเวลานี้ยังไม่ท้อและไม่คิดจะออกไปไหน เพราะเด็กที่เราปั้นมากับมือ อยากจะสอนและช่วยเหลือเขาให้ได้โอกาสทางการศึกษา เหมือนกับผมที่ครั้งหนึ่งได้รับโอกาสทำให้ได้เรียนจนจบปริญญาตรี ผมมีโอกาสอยากจะถ่ายทอดโอกาสทางการศึกษานี้ต่อไปอีกทอด ผมไม่สนใจความสบาย เราหาเมื่อไรก็ได้แต่การให้โอกาสทางการศึกษาโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลนั้นยังมีน้อยและผมอยากทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะไกลเพียงใดก็สามารถจัดการศึกษาสำหรับเด็กได้”
ครูสามารถ บอกแผนการในอนาคตว่า เวลานี้ห้องเรียนเรือนแพ ยังขาดแคลนห้องสมุด ตนได้รับความกรุณาจากพระครูท่านหนึ่งซื้อแพเก่ามามอบให้เพื่อจะปรับปรุงทำเป็นห้องสมุดเรือนแพ เพราะแม้ว่าเวลานี้เราจะมีอินเทอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ให้ค้นหาความรู้ ตนคิดว่า หนังสือนั้นถือเป็นคลังสมองที่ดีที่สุดและขาดไม่ได้
และนี่คือ “ครูห้องเรียนเรือนแพ” ห้องเรียนเล็กๆ ในลุ่มน้ำปิง ที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังและความมุ่งมั่นที่พร้อมจะให้มอบโอกาสการศึกษาแก่เด็กอย่างไม่สิ้นสุด