วธ.สั่งกรมศิลป์ ประสานทายาท “คึกฤทธิ์” ซ่อมเรือนไทย อายุกว่า 50 ปี
ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ทายาท ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติ เปิดเผยว่า หมู่เรือนไทยของอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้สร้างขึ้นมานานกว่า 50 ปี ปัจจุบันขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร เพื่อที่วันข้างหน้าจัดทำพิพิธภัณฑ์เรือนไทย ที่นับวันหาดูได้ยากในกรุงเทพฯ แต่สภาพของบ้านไม่ได้รับการซ่อมแซมมานาน โดยเฉพาะศาลาโขน อาคารไม้รับแขกเมือง ต้อนรับบุคคลต่างๆ ที่มาเยี่ยมเยียนท่าน และใช้ทำพิธีไหว้ครูโขนละครทุกปี พบว่า ปลวกขึ้นกินตามเสาไม้ ข้อต่อ คานค้ำยัน เชิงชาย จั่วทั่วหลังคา จำเป็นต้องเร่งซ่อมแซมเป็นการด่วน ต้องหาช่างไม้ที่รอบรู้เรือนไทยมาช่วย และงบประมาณในการซ่อมศาลาโขนนั้นใช้จ่ายสูง จึงขอแรงสนับสนุนจากองค์กรหรือผู้มีใจรักบ้านเรือนไทยเข้ามาช่วยอีกแรง
ด้าน นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า บ้านเรือนไทยของอาจารย์คึกฤทธิ์ ถือว่ามีคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ทางมรดกศิลปวัฒนธรรม และสถานที่นี้ท่านใช้เขียนงานและแต่งนวนิยายจำนวนมาก เช่น สี่แผ่นดิน สะท้อนวิถีชีวิตของสังคมวัฒนธรรมไทยในเวลานั้น ปัจจุบันบ้านเรือนไทยเปิดให้ผู้เข้ามาชมศึกษา โดยเท่าที่ทราบได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้ที่จะต้องมีการบำรุงรักษาเช่นเดียวกับที่อื่นๆ อย่างไรก็ดี การซ่อมแซมศาลาโขนและส่วนอื่นๆ นั้น จะได้ให้กรมศิลปากรเข้าไปประสานกับเจ้าของบ้านต่อไป
ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ทายาท ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติ เปิดเผยว่า หมู่เรือนไทยของอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้สร้างขึ้นมานานกว่า 50 ปี ปัจจุบันขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร เพื่อที่วันข้างหน้าจัดทำพิพิธภัณฑ์เรือนไทย ที่นับวันหาดูได้ยากในกรุงเทพฯ แต่สภาพของบ้านไม่ได้รับการซ่อมแซมมานาน โดยเฉพาะศาลาโขน อาคารไม้รับแขกเมือง ต้อนรับบุคคลต่างๆ ที่มาเยี่ยมเยียนท่าน และใช้ทำพิธีไหว้ครูโขนละครทุกปี พบว่า ปลวกขึ้นกินตามเสาไม้ ข้อต่อ คานค้ำยัน เชิงชาย จั่วทั่วหลังคา จำเป็นต้องเร่งซ่อมแซมเป็นการด่วน ต้องหาช่างไม้ที่รอบรู้เรือนไทยมาช่วย และงบประมาณในการซ่อมศาลาโขนนั้นใช้จ่ายสูง จึงขอแรงสนับสนุนจากองค์กรหรือผู้มีใจรักบ้านเรือนไทยเข้ามาช่วยอีกแรง
ด้าน นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า บ้านเรือนไทยของอาจารย์คึกฤทธิ์ ถือว่ามีคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ทางมรดกศิลปวัฒนธรรม และสถานที่นี้ท่านใช้เขียนงานและแต่งนวนิยายจำนวนมาก เช่น สี่แผ่นดิน สะท้อนวิถีชีวิตของสังคมวัฒนธรรมไทยในเวลานั้น ปัจจุบันบ้านเรือนไทยเปิดให้ผู้เข้ามาชมศึกษา โดยเท่าที่ทราบได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้ที่จะต้องมีการบำรุงรักษาเช่นเดียวกับที่อื่นๆ อย่างไรก็ดี การซ่อมแซมศาลาโขนและส่วนอื่นๆ นั้น จะได้ให้กรมศิลปากรเข้าไปประสานกับเจ้าของบ้านต่อไป