วธ.ร่วมสืบสาน “โขน” หารือทายาทบ้านทรงไทยทำพิพิธภัณฑ์เป็นอนุสรณ์รำลึก “หม่อมคึกฤทธิ์” ในโอกาสคล้าย 102 ปีชาตกาล “สนธยา” ยก “หม่อมคึกฤทธิ์” เป็นบุคคลสำคัญที่หายากในประเทศเก่งทั้งด้านการปกครอง ด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะยังเป็นผู้ก่อตั้งโขนธรรมศาสตร์
วันนี้ (20 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.ที่บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (ซอยสวนพลู) ศาลาโขน มีพิธีสงฆ์ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ศาสตราจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในโอกาสคล้ายวันเกิด 102 ปีชาตกาล อดีตนายกรัฐมนตรี ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ และบุคคลสำคัญของโลก โดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธาน และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติให้เกียรติร่วมในพิธี ภายหลังเสร็จพิธีสงฆ์ นายสนธยา และผู้ร่วมงานได้ร่วมกันสักการะ “ศาลเจ้าพ่อธรรมรัตน์” โดยศาลเจ้าพ่อแห่งนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้ตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่นี้ไว้แต่ครั้งที่ท่านสร้างเรือนไทยเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ศาลได้ทรุดโทรมผุพัง ทายาทได้ทำการบูรณะ จากนั้นมีการเปิดแผ่นป้ายนิทรรศการ “ชมบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์” ทั้งภาคภาษาไทยภาษาอังกฤษ ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ทายาท มอบหนังสืออนุสรณ์ “เมื่อโลกนี้ไม่มีคนชื่อคึกฤทธิ์” เล่มที่ 2 ให้แก่ประธาน ซึ่งในวันคล้ายวันเกิดปีนี้ มีการแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนมณฑาลงกระท่อม โดยคณะแสดงจากชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย นายสนธยา กล่าวว่า อาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ เป็นบุคคลสำคัญในหลายๆ เรื่อง ที่หายากในประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับด้านการเมืองการปกครอง ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี นักการเมืองที่สร้างคุณูปการให้กับบ้านเมืองอย่างมากมาย เป็นผู้ที่ตั้งพรรค สร้างนักการเมืองมีลูกศิษย์ลูกหา และโดยส่วนตัวมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้จากท่าน ซึ่งถือเป็นต้นแบบทางการเมืองของผมตั้งแต่เด็ก เพราะกลุ่มชลบุรีเข้าเล่นการเมืองสังกัดพรรคแรก คือพรรคกิจสังคมของอาจารย์หม่อม จึงทำให้มีความผูกพัน ที่สำคัญท่านเมตตาและสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์ทางการเมืองให้กับพวกเราที่บ้านซอยสวนพลูหลังนี้ ตนเองยังมีรูปถ่ายคู่กับท่านในสมัยนั้นเป็นอนุสรณ์ความทรงจำไว้ด้วย
“ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะโขน อาจารย์หม่อมก่อตั้งโขนธรรมศาสตร์ ซึ่งโขนถือเป็นศิลปะชั้นสูงของประเทศไทยในเรื่องของศิลปะการแสดง ท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ศิลปะท่ารำให้แก่ลูกศิษย์ ปัจจุบันเป็นศิลปินแห่งชาติ และมีการสืบสานถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง ซึ่งในฐานะที่ผมทำงานกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยที่นางสุกุมล คุณปลื้ม ทำหน้าที่ รมว.วัฒนธรรม ได้มีโอกาสร่วมอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะการแสดงโขนอย่างสม่ำเสมอ” นายสนธยา กล่าวและว่า บ้านทรงไทยหลังนี้ ได้มีการหารือทายาทกันเบื้องต้นในเรื่องทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จะให้คงอยู่เป็นอนุสรณ์ รำลึกถึง พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บุคคลสำคัญของประเทศไทยต่อไป
ต่อมาเวลา 13.30 น. ที่สถาบันคึกฤทธิ์ (ซอยงามดูพลี) มีพิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณศิลปินคึกฤทธิ์ประจำปี 2556 โดยในปีนี้ทางมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ได้คัดเลือกศิลปินในสาขาต่างๆ ขึ้นรับ “รางวัลศิลปินคึกฤทธิ์ ปี 2556” สาขานาฏศิลป์ ได้แก่ ครูรัตติยะ วิกสิตพงศ์ สาขานาฏศิลป์โขน ได้แก่ ครูพงษ์พิศ จารุจินดา สาขาดนตรีไทย ได้แก่ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ และ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และมีการแสดงโขนจากบรมครู มาจัดการแสดง 4 ชุด ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน โดยครูจตุพร รัตนวราหะ ฉุยฉายหนุมาน โดยครูประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ฉุยฉายฤาษีแดง โดยครูสุดจิตต์ พันธ์สังข์ และ รำพลายชุมพล โดย ครูไพฑูรย์ เข้มแข็ง โดยการแสดงทุกชุดจะทำการบันทึกภาพ นำไปเก็บรักษาไว้ยังห้องสมุดของมูลนิธิฯ เพื่อเป็นการเก็บหลักฐานรูปแบบท่ารำ ความประณีตอ่อนช้อย แบบแผนอันทรงคุณค่า ให้เป็นต้นแบบและสืบเนื่องไปยังอนุชนรุ่นหลัง
วันนี้ (20 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.ที่บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (ซอยสวนพลู) ศาลาโขน มีพิธีสงฆ์ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ศาสตราจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในโอกาสคล้ายวันเกิด 102 ปีชาตกาล อดีตนายกรัฐมนตรี ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ และบุคคลสำคัญของโลก โดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธาน และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติให้เกียรติร่วมในพิธี ภายหลังเสร็จพิธีสงฆ์ นายสนธยา และผู้ร่วมงานได้ร่วมกันสักการะ “ศาลเจ้าพ่อธรรมรัตน์” โดยศาลเจ้าพ่อแห่งนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้ตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่นี้ไว้แต่ครั้งที่ท่านสร้างเรือนไทยเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ศาลได้ทรุดโทรมผุพัง ทายาทได้ทำการบูรณะ จากนั้นมีการเปิดแผ่นป้ายนิทรรศการ “ชมบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์” ทั้งภาคภาษาไทยภาษาอังกฤษ ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ทายาท มอบหนังสืออนุสรณ์ “เมื่อโลกนี้ไม่มีคนชื่อคึกฤทธิ์” เล่มที่ 2 ให้แก่ประธาน ซึ่งในวันคล้ายวันเกิดปีนี้ มีการแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนมณฑาลงกระท่อม โดยคณะแสดงจากชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย นายสนธยา กล่าวว่า อาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ เป็นบุคคลสำคัญในหลายๆ เรื่อง ที่หายากในประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับด้านการเมืองการปกครอง ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี นักการเมืองที่สร้างคุณูปการให้กับบ้านเมืองอย่างมากมาย เป็นผู้ที่ตั้งพรรค สร้างนักการเมืองมีลูกศิษย์ลูกหา และโดยส่วนตัวมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้จากท่าน ซึ่งถือเป็นต้นแบบทางการเมืองของผมตั้งแต่เด็ก เพราะกลุ่มชลบุรีเข้าเล่นการเมืองสังกัดพรรคแรก คือพรรคกิจสังคมของอาจารย์หม่อม จึงทำให้มีความผูกพัน ที่สำคัญท่านเมตตาและสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์ทางการเมืองให้กับพวกเราที่บ้านซอยสวนพลูหลังนี้ ตนเองยังมีรูปถ่ายคู่กับท่านในสมัยนั้นเป็นอนุสรณ์ความทรงจำไว้ด้วย
“ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะโขน อาจารย์หม่อมก่อตั้งโขนธรรมศาสตร์ ซึ่งโขนถือเป็นศิลปะชั้นสูงของประเทศไทยในเรื่องของศิลปะการแสดง ท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ศิลปะท่ารำให้แก่ลูกศิษย์ ปัจจุบันเป็นศิลปินแห่งชาติ และมีการสืบสานถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง ซึ่งในฐานะที่ผมทำงานกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยที่นางสุกุมล คุณปลื้ม ทำหน้าที่ รมว.วัฒนธรรม ได้มีโอกาสร่วมอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะการแสดงโขนอย่างสม่ำเสมอ” นายสนธยา กล่าวและว่า บ้านทรงไทยหลังนี้ ได้มีการหารือทายาทกันเบื้องต้นในเรื่องทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จะให้คงอยู่เป็นอนุสรณ์ รำลึกถึง พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บุคคลสำคัญของประเทศไทยต่อไป
ต่อมาเวลา 13.30 น. ที่สถาบันคึกฤทธิ์ (ซอยงามดูพลี) มีพิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณศิลปินคึกฤทธิ์ประจำปี 2556 โดยในปีนี้ทางมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ได้คัดเลือกศิลปินในสาขาต่างๆ ขึ้นรับ “รางวัลศิลปินคึกฤทธิ์ ปี 2556” สาขานาฏศิลป์ ได้แก่ ครูรัตติยะ วิกสิตพงศ์ สาขานาฏศิลป์โขน ได้แก่ ครูพงษ์พิศ จารุจินดา สาขาดนตรีไทย ได้แก่ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ และ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และมีการแสดงโขนจากบรมครู มาจัดการแสดง 4 ชุด ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน โดยครูจตุพร รัตนวราหะ ฉุยฉายหนุมาน โดยครูประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ฉุยฉายฤาษีแดง โดยครูสุดจิตต์ พันธ์สังข์ และ รำพลายชุมพล โดย ครูไพฑูรย์ เข้มแข็ง โดยการแสดงทุกชุดจะทำการบันทึกภาพ นำไปเก็บรักษาไว้ยังห้องสมุดของมูลนิธิฯ เพื่อเป็นการเก็บหลักฐานรูปแบบท่ารำ ความประณีตอ่อนช้อย แบบแผนอันทรงคุณค่า ให้เป็นต้นแบบและสืบเนื่องไปยังอนุชนรุ่นหลัง