โจ๋สาวไทยกลายเป็นคุณแม่พุ่งปีละ 70,000 คน ศธ.-สธ.-สสส.จับมือเซ็น MOU เพิ่มทักษะชีวิตด้านเพศศึกษาในโรงเรียนอาชีวะ ลดปัญหา “ท้องไม่พร้อม-แท้งไม่ปลอดภัย-เอชไอวี และกามโรค”
วันนี้ (10 ต.ค.) ในการประชุมผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนประจำปี 2555 จ.สงขลา สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิตด้านเพศ ศึกษาและการป้องกันเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการการพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ: ทักษะชีวิตด้านเพศศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน”
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือคุณแม่วัยรุ่นปีละกว่า 70,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่จบการศึกษาระดับ ม.ต้น และเมื่อเก็บข้อมูลตามโรงพยาบาลต่างๆ พบว่า ประมาณ 70% ของแม่วัยรุ่นเกิดจากปัญหาท้องไม่พร้อม ส่งผลต่อเนื่องทั้งด้านสังคมและด้านสุขภาพของแม่วัยรุ่นและทารก โดยสาเหตุของการตั้งครรภ์เกิดจากการลืมกินยาคุมกําเนิด ใช้วิธีนับระยะปลอดภัย หลั่งภายนอก หรือไม่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ ต้นเหตุที่แท้จริงเกิดจากเยาวชนไม่ได้รับข้อมูลและการเรียนรู้เรื่องสุขภาวะ ทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องและเพียงพอ
“ที่น่าห่วงคือ วัยรุ่นจำนวนมากใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดฉุกเฉิน ซึ่งเป็นยาอันตรายต้องใช้ภายใต้คําแนะนําของแพทย์ หรือเภสัชกร และใช้ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน รวมถึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ขณะที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กำลังเพิ่มสูงขึ้นใน กลุ่มอายุที่น้อยลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องป้องกันและแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการรณรงค์เรื่องการเคารพเพศตรงข้าม การมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมทางเพศของตนเองทั้งชายและหญิง และการให้ความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ด้าน ดร.อินทร์ จันทร์เจริญ นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน 427 แห่ง ยังไม่มีหลักสูตรเพศศึกษา โครงการนี้ ได้อบรมสร้างเสริมความรู้ ทักษะ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษา แก่ครูผู้สอน และแกนนำเยาวชนของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนไปแล้ว 1,000 คน จาก 195 แห่งในทุกภูมิภาค และมีบางแห่งต้องการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในสถาบัน เพื่อเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันปัญหาเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย ซึ่งสมาคมสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา
“หลังการลงนามความร่วมมือฯ มีการเปิดให้ลงทะเบียนเป็นวิทยาลัยนำร่องติดตั้งตู้ถุงยางอนามัย และเมื่อดำเนินการแล้วจะประเมินผลว่าการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยสามารถลดความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันไม่ปลอดภัย เช่น ท้องไม่พร้อม การติดเชื้อกามโรค และเอชไอวี ฯลฯ ได้หรือไม่ ก่อนจะพิจารณาปรับปรุงหรือขยายผลต่อไป โดยหวังว่าโครงการนี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มี.ค.2554 และสิ้นสุด ก.พ.2556 จะช่วยลดปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นไทยได้ เพราะปัญหาท้องในวัยเรียน ทำให้เยาวชนไทยจำนวนมากต้องเสียโอกาส และอนาคตทางการศึกษาอย่างน่าเสียดาย” ดร.อินทร์ กล่าว
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต รองประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 4 สสส.กล่าวว่า การจัดหลักสูตรเพศศึกษาในชั้นเรียนเป็นเรื่องสำคัญ และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศที่ถูกต้อง ตลอดจนทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต ส่วนการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในสถานศึกษา เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมให้สอดรับมาตรการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ปลอดภัย เพราะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่านักเรียน นักศึกษาประมาณ 20% มีเพศสัมพันธ์แล้วและต้องดูแล อย่างไรก็ตาม ต้องดำเนินการนำร่องเฉพาะในสถานศึกษาที่พร้อม และทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนแล้ว
“หลายประเทศดำเนินการเรื่องนี้แล้ว เช่น บราซิล เริ่มแจกถุงยางอนามัยให้กับนักเรียนตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันขยายพื้นที่แจกในโรงเรียนของรัฐอย่างน้อย 10,000 แห่ง ขณะที่การวิจัยในนิวยอร์ก แมสซาชูเซตส์ และลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา พบว่า อัตราการมีเพศสัมพันธ์ในโรงเรียนที่มีตู้ถุงยางอนามัยไม่สูงขึ้น แต่ช่วยเพิ่มการใช้ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายมากขึ้น ส่วนการวิจัยในมณฑลหูหนาน ประเทศจีน พบว่า การสื่อสารระหว่างคู่ที่มีเพศสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาการป้องกันการติดเชื้อ HIV ในวัยรุ่นชาวจีน ประสบการณ์ งานวิจัย และความสำเร็จต่างๆ น่าจะทำให้สังคมไทยมั่นใจได้ว่า การติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยไม่ได้กระตุ้นการมีเพศสัมพันธ์ แต่เป็นการป้องกันปัญหาเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ต้องเน้นให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่นักเรียน นักศึกษาเป็นอันดับแรก” นพ.ยงยุทธ กล่าว
วันนี้ (10 ต.ค.) ในการประชุมผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนประจำปี 2555 จ.สงขลา สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิตด้านเพศ ศึกษาและการป้องกันเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการการพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ: ทักษะชีวิตด้านเพศศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน”
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือคุณแม่วัยรุ่นปีละกว่า 70,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่จบการศึกษาระดับ ม.ต้น และเมื่อเก็บข้อมูลตามโรงพยาบาลต่างๆ พบว่า ประมาณ 70% ของแม่วัยรุ่นเกิดจากปัญหาท้องไม่พร้อม ส่งผลต่อเนื่องทั้งด้านสังคมและด้านสุขภาพของแม่วัยรุ่นและทารก โดยสาเหตุของการตั้งครรภ์เกิดจากการลืมกินยาคุมกําเนิด ใช้วิธีนับระยะปลอดภัย หลั่งภายนอก หรือไม่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ ต้นเหตุที่แท้จริงเกิดจากเยาวชนไม่ได้รับข้อมูลและการเรียนรู้เรื่องสุขภาวะ ทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องและเพียงพอ
“ที่น่าห่วงคือ วัยรุ่นจำนวนมากใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดฉุกเฉิน ซึ่งเป็นยาอันตรายต้องใช้ภายใต้คําแนะนําของแพทย์ หรือเภสัชกร และใช้ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน รวมถึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ขณะที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กำลังเพิ่มสูงขึ้นใน กลุ่มอายุที่น้อยลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องป้องกันและแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการรณรงค์เรื่องการเคารพเพศตรงข้าม การมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมทางเพศของตนเองทั้งชายและหญิง และการให้ความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ด้าน ดร.อินทร์ จันทร์เจริญ นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน 427 แห่ง ยังไม่มีหลักสูตรเพศศึกษา โครงการนี้ ได้อบรมสร้างเสริมความรู้ ทักษะ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษา แก่ครูผู้สอน และแกนนำเยาวชนของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนไปแล้ว 1,000 คน จาก 195 แห่งในทุกภูมิภาค และมีบางแห่งต้องการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในสถาบัน เพื่อเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันปัญหาเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย ซึ่งสมาคมสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา
“หลังการลงนามความร่วมมือฯ มีการเปิดให้ลงทะเบียนเป็นวิทยาลัยนำร่องติดตั้งตู้ถุงยางอนามัย และเมื่อดำเนินการแล้วจะประเมินผลว่าการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยสามารถลดความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันไม่ปลอดภัย เช่น ท้องไม่พร้อม การติดเชื้อกามโรค และเอชไอวี ฯลฯ ได้หรือไม่ ก่อนจะพิจารณาปรับปรุงหรือขยายผลต่อไป โดยหวังว่าโครงการนี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มี.ค.2554 และสิ้นสุด ก.พ.2556 จะช่วยลดปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นไทยได้ เพราะปัญหาท้องในวัยเรียน ทำให้เยาวชนไทยจำนวนมากต้องเสียโอกาส และอนาคตทางการศึกษาอย่างน่าเสียดาย” ดร.อินทร์ กล่าว
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต รองประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 4 สสส.กล่าวว่า การจัดหลักสูตรเพศศึกษาในชั้นเรียนเป็นเรื่องสำคัญ และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศที่ถูกต้อง ตลอดจนทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต ส่วนการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในสถานศึกษา เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมให้สอดรับมาตรการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ปลอดภัย เพราะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่านักเรียน นักศึกษาประมาณ 20% มีเพศสัมพันธ์แล้วและต้องดูแล อย่างไรก็ตาม ต้องดำเนินการนำร่องเฉพาะในสถานศึกษาที่พร้อม และทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนแล้ว
“หลายประเทศดำเนินการเรื่องนี้แล้ว เช่น บราซิล เริ่มแจกถุงยางอนามัยให้กับนักเรียนตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันขยายพื้นที่แจกในโรงเรียนของรัฐอย่างน้อย 10,000 แห่ง ขณะที่การวิจัยในนิวยอร์ก แมสซาชูเซตส์ และลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา พบว่า อัตราการมีเพศสัมพันธ์ในโรงเรียนที่มีตู้ถุงยางอนามัยไม่สูงขึ้น แต่ช่วยเพิ่มการใช้ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายมากขึ้น ส่วนการวิจัยในมณฑลหูหนาน ประเทศจีน พบว่า การสื่อสารระหว่างคู่ที่มีเพศสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาการป้องกันการติดเชื้อ HIV ในวัยรุ่นชาวจีน ประสบการณ์ งานวิจัย และความสำเร็จต่างๆ น่าจะทำให้สังคมไทยมั่นใจได้ว่า การติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยไม่ได้กระตุ้นการมีเพศสัมพันธ์ แต่เป็นการป้องกันปัญหาเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ต้องเน้นให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่นักเรียน นักศึกษาเป็นอันดับแรก” นพ.ยงยุทธ กล่าว