กลุ่มพ่อแม่บดินทรเดชา ภาคบ่าย บุก ศธ.อีกรอบ! ขอให้ลูกได้เรียนเวลาปกติ และเรียนในแผนศิลป์ภาษา และศิลป์คำนวณ พร้อมปักหลักนั่งรอหน้าห้อง “สุชาติ” ด้าน “ชินภัทร” รุดเคลียร์ ให้ ร.ร.ไปจัดการตามข้อเรียกร้อง พร้อมจัดบุคลากรเพิ่มเติมให้ หาก ร.ร.ร้องขอ ย้ำหากเด็กต้องการย้ายห้องเรียนในอนาคตทำได้ แต่ต้องเป็นตามเกณฑ์ที่กำหนด
วันนี้ (10 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคบ่าย โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ประมาณ 15 คน เดินทางมาเพื่อเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เยียวยานักเรียน ม.4 ภาคบ่ายทั้ง 36 คนได้เข้าเรียนในเวลาเรียนปกติ และเรียนในแผนการเรียนศิลป์คำนวณ และศิลป์ภาษา ตามความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยมี นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายอุดม พรมพันธ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สมป.) นายสัจจา ศรีเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 2 และนายรื่น หมื่นโกตะ รอง ผอ.โรงเรียนบดินทรเดชา ในฐานะรักษาการ ผอ.ร่วมชี้แจง
โดย นายชินภัทร กล่าวว่า ได้ข้อสรุปจากการหารือร่วมกับผู้ปกครองใน 2 ประเด็น คือ 1.ได้มอบหมายให้โรงเรียนไปจัดหาห้องเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะ รวมถึงบุคลากรมาทำหน้าที่สอนหนังสือให้นักเรียนในเวลาเรียนปกติ เพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่เด็กในภาคบ่ายต้องเรียนช้าและกลับช้ากว่านักเรียนภาคปกติคนอื่นๆ ซึ่งทางรักษาการ ผอ.โรงเรียนได้รับเรื่องไปดำเนินการ ส่วนของบุคลากรหากไม่เพียงพอก็ให้ทางโรงเรียนทำเรื่องเสนอมายัง สพฐ.เพื่อจัดสรรบุคลากรลงไปให้ และ 2.ให้ไปทำแผนการเรียนโดยแบ่งเด็กนักเรียนภาคบ่ายทั้ง 36 คน ออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อเรียนในแผนศิลป์คำนวณ และศิลป์ภาษา ตามความต้องการของผู้เรียนและผู้ปกครอง ส่วนวิชาใดที่เป็นวิชาพื้นฐานก็ให้มาเรียนร่วมกัน และในอนาคตหากนักเรียนคนใดต้องการย้ายห้องเรียนก็สามารถยื่นคำร้องแก่ทางโรงเรียนได้ โดยมีเงื่อนไขว่าผลการเรียนของนักเรียนคนนั้นจะต้องไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในห้องเรียนนั้นๆ
“ผู้ปกครองพอใจกับข้อสรุปดังกล่าว แต่ได้ขอให้มีหนังสือคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อจะได้รู้สึกอุ่นใจ ซึ่งผมได้ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา สพฐ.ไม่เคยออกคำสั่งกับโรงเรียนใดๆ มีเพียงแต่ให้คำแนะนำเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่โรงเรียนก็จะทำตาม ดังนั้น จึงมอบหมายให้ นายอุดม ทำบันทึกข้อความและเซ็นชื่อรับรองผลการหารือ พร้อมกันนี้ ได้นัดหมายให้ผู้ปกครองไปหารือร่วมกับทางโรงเรียนเกี่ยวกับเรื่องแผนการเรียนอีกครั้งในวันที่ 17 ต.ค.นี้” นายชินภัทร กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การสรรหา ผอ.โรงเรียน คนใหม่ แทน นายสุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ ที่เกษียณไปแล้วนั้น อยู่ระหว่างการประชุมพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ คาดว่า จะแล้วเสร็จ และ ผอ.คนใหม่จะเริ่มเข้าปฏิบัติงานได้ในสัปดาห์หน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ปกครองนั้นได้เรียกร้องจะขอพบ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ให้ออกมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ รมว.ศึกษาธิการ อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการที่ต่างประเทศ โดยในช่วงแรกกลุ่มผู้ปกครองยืนยันจะปักหลักนั่งรออยู่บริเวณหน้าห้องทำงานของ รมว.ศึกษาธิการ และจะค้างคืนที่บริเวณดังกล่าว ภายหลัง นายชินภัทร ได้เข้ามาพูดคุยและทำความเข้าใจซึ่งก็ใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง จนได้ข้อยุติและทางกลุ่มผู้ปกครองบอกว่าหากได้หนังสือจาก สพฐ.ที่สรุปผลการหารือครั้งนี้ จึงจะยอมกลับ
วันนี้ (10 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคบ่าย โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ประมาณ 15 คน เดินทางมาเพื่อเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เยียวยานักเรียน ม.4 ภาคบ่ายทั้ง 36 คนได้เข้าเรียนในเวลาเรียนปกติ และเรียนในแผนการเรียนศิลป์คำนวณ และศิลป์ภาษา ตามความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยมี นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายอุดม พรมพันธ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สมป.) นายสัจจา ศรีเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 2 และนายรื่น หมื่นโกตะ รอง ผอ.โรงเรียนบดินทรเดชา ในฐานะรักษาการ ผอ.ร่วมชี้แจง
โดย นายชินภัทร กล่าวว่า ได้ข้อสรุปจากการหารือร่วมกับผู้ปกครองใน 2 ประเด็น คือ 1.ได้มอบหมายให้โรงเรียนไปจัดหาห้องเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะ รวมถึงบุคลากรมาทำหน้าที่สอนหนังสือให้นักเรียนในเวลาเรียนปกติ เพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่เด็กในภาคบ่ายต้องเรียนช้าและกลับช้ากว่านักเรียนภาคปกติคนอื่นๆ ซึ่งทางรักษาการ ผอ.โรงเรียนได้รับเรื่องไปดำเนินการ ส่วนของบุคลากรหากไม่เพียงพอก็ให้ทางโรงเรียนทำเรื่องเสนอมายัง สพฐ.เพื่อจัดสรรบุคลากรลงไปให้ และ 2.ให้ไปทำแผนการเรียนโดยแบ่งเด็กนักเรียนภาคบ่ายทั้ง 36 คน ออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อเรียนในแผนศิลป์คำนวณ และศิลป์ภาษา ตามความต้องการของผู้เรียนและผู้ปกครอง ส่วนวิชาใดที่เป็นวิชาพื้นฐานก็ให้มาเรียนร่วมกัน และในอนาคตหากนักเรียนคนใดต้องการย้ายห้องเรียนก็สามารถยื่นคำร้องแก่ทางโรงเรียนได้ โดยมีเงื่อนไขว่าผลการเรียนของนักเรียนคนนั้นจะต้องไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในห้องเรียนนั้นๆ
“ผู้ปกครองพอใจกับข้อสรุปดังกล่าว แต่ได้ขอให้มีหนังสือคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อจะได้รู้สึกอุ่นใจ ซึ่งผมได้ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา สพฐ.ไม่เคยออกคำสั่งกับโรงเรียนใดๆ มีเพียงแต่ให้คำแนะนำเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่โรงเรียนก็จะทำตาม ดังนั้น จึงมอบหมายให้ นายอุดม ทำบันทึกข้อความและเซ็นชื่อรับรองผลการหารือ พร้อมกันนี้ ได้นัดหมายให้ผู้ปกครองไปหารือร่วมกับทางโรงเรียนเกี่ยวกับเรื่องแผนการเรียนอีกครั้งในวันที่ 17 ต.ค.นี้” นายชินภัทร กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การสรรหา ผอ.โรงเรียน คนใหม่ แทน นายสุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ ที่เกษียณไปแล้วนั้น อยู่ระหว่างการประชุมพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ คาดว่า จะแล้วเสร็จ และ ผอ.คนใหม่จะเริ่มเข้าปฏิบัติงานได้ในสัปดาห์หน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ปกครองนั้นได้เรียกร้องจะขอพบ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ให้ออกมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ รมว.ศึกษาธิการ อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการที่ต่างประเทศ โดยในช่วงแรกกลุ่มผู้ปกครองยืนยันจะปักหลักนั่งรออยู่บริเวณหน้าห้องทำงานของ รมว.ศึกษาธิการ และจะค้างคืนที่บริเวณดังกล่าว ภายหลัง นายชินภัทร ได้เข้ามาพูดคุยและทำความเข้าใจซึ่งก็ใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง จนได้ข้อยุติและทางกลุ่มผู้ปกครองบอกว่าหากได้หนังสือจาก สพฐ.ที่สรุปผลการหารือครั้งนี้ จึงจะยอมกลับ