แจง 6 กรณีการเปลี่ยนสิทธิการรักษาผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์-ไตวายเรื้อรัง เผย ต้องขอข้อมูลการแพทย์ไปยื่นโรงพยาบาลใหม่เอง เหตุไม่มีระบบออนไลน์ ติดกฎหมายความลับผู้ป่วย ย้ำเลือก รพ.รักษานอกเหนือ รพ.คู่สัญญาได้ หากเป็น รพ.สังกัด สธ.เว้นเลือก รพ.เอกชนทำไม่ได้
วันนี้ (8 ต.ค.) ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในการประชุมชี้แจงการสร้างความเป็นเอกภาพและบูรณาการสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐกรณีการให้บริการผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV/ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแก่สถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ว่า การดำเนินการเปลี่ยนสิทธิการรักษาสำหรับผู้ป่วยเอดส์/ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถแบ่งเป็น 6 กรณี คือ 1.จากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาท เป็นประกันสังคม ผู้ประกันตนจะได้สิทธิหลังจ่ายเงินสมทบครบ 90 วัน ผู้ป่วยเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาและโรงพยาบาลที่จะรักษา อาจเป็นคนละโรงพยาบาลก็ได้ 2.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิประกันสุขภาพ ผู้ประกันตนยังคงสิทธิหลังออกจากงาน 180 วัน ผู้ป่วยเลือกลงทะเบียนหน่วยบริการประจำและเลือกโรงพยาบาลที่จะรักษา อาจเป็นคนละโรงพยาบาลก็ได้
3.จากสิทธิประกันสุขภาพเป็นสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ได้รับสิทธินับจากวันบรรจุ โดยจะไม่มีระบบลงทะเบียน ผู้ป่วยต้องติดต่อโรงพยาบาลของรัฐที่สะดวกเข้ารับการรักษา 4.จากสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจเป็นสิทธิประกันสุขภาพ ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพทันทีหลังจากสิ้นสุดสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้ป่วยเลือกลงทะเบียนหน่วยบริการประจำและเลือกโรงพยาบาลที่จะรักษาอาจเป็นคนละโรงพยาบาล 5.จากสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจเป็นสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนได้สิทธิหลังจ่ายเงินสมทบครบ 90 วัน และเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาและโรงพยาบาลรักษาที่อาจจะเป็นคนละแห่งก็ได้ และ 6.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกันตนยังคงสิทธิหลังออกจากงาน 180 วัน ไม่มีระบบลงทะเบียนให้ผู้ป่วยติดต่อเลือกโรงพยาบาลของรัฐที่สะดวกเข้ารับการรักษา
“ทั้ง 6 กรณีผู้ป่วยสามารถเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาแตกต่างจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาได้เฉพาะที่เป็นโรงพยาบาลรัฐบาลด้วยกันเท่านั้น และในการย้ายโรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องแสดงความจำนงแก่ผู้ประสานของโรงพยาบาลเดิมเพื่อขอข้อมูลทางการแพทย์ไปให้โรงพยาบาลใหม่ เนื่องจากไม่มีระบบออนไลน์ เพราะข้อมูลของผู้ป่วยจะต้องเป็นความลับตามที่กฎหมายกำหนด” รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
ด้าน นางสุพัชรี มีครุฑ ผู้ตรวจราชการ สปส.กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เป็นผู้ประกันตนทั้งที่เป็นผู้ประกันตนเดิมและผู้ที่เปลี่ยนจากสิทธิอื่นมาเป็นประกันสังคม หากเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นโรงพยาบาลเอกชน จะไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลรักษาอื่นได้ต้องรักษากับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาที่ระบุในบัตรประกันสังคม เนื่องจากระบบของประกันสังคมจะทำสัญญากับโรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น แต่หากเป็นผู้ประกันตนที่โรงพยาบาลตามบัตรเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สธ.ได้มีการอนุโลมให้เข้ารักษาในโรงพยาบาลสังกัดสธ.อื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรได้ แต่ต้องอยู่ภายในโรงพยาบาลเดียวกัน
“สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยทั้ง 2 โรคทั้งสิทธิประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ ส่วนตัวเห็นว่าเกณฑ์เหมือน หรือใกล้เคียงกันแล้วมีความแตกต่างแค่ในส่วนของเงินที่จ่ายเท่านั้น เช่น กรณีการตรวจซีดีโฟร์ (CD4) ของผู้ป่วยเอดส์ สปส.จ่าย 500 บาทต่อการตรวจรู้ผล ขณะที่ สปสช.จ่าย 400 บาทต่อการตรวจรู้ผล หรือการตรวจปริมาณไวรัสในร่างกาย ที่ สปส.จ่าย 2,500 บาทต่อการตรวจรู้ผล ส่วน สปสช.จ่ายชดเชยเป็นน้ำยา 1.1 เท่าพร้อมค่าบริหารจัดการ 250 บาทต่อการตรวจรู้ผล เป็นต้น ซึ่งในอนาคต สปส.จะพยายามให้มาตรฐานเป็นแบบเดียวกัน” นางสุพัชรี กล่าว
วันนี้ (8 ต.ค.) ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในการประชุมชี้แจงการสร้างความเป็นเอกภาพและบูรณาการสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐกรณีการให้บริการผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV/ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแก่สถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ว่า การดำเนินการเปลี่ยนสิทธิการรักษาสำหรับผู้ป่วยเอดส์/ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถแบ่งเป็น 6 กรณี คือ 1.จากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาท เป็นประกันสังคม ผู้ประกันตนจะได้สิทธิหลังจ่ายเงินสมทบครบ 90 วัน ผู้ป่วยเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาและโรงพยาบาลที่จะรักษา อาจเป็นคนละโรงพยาบาลก็ได้ 2.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิประกันสุขภาพ ผู้ประกันตนยังคงสิทธิหลังออกจากงาน 180 วัน ผู้ป่วยเลือกลงทะเบียนหน่วยบริการประจำและเลือกโรงพยาบาลที่จะรักษา อาจเป็นคนละโรงพยาบาลก็ได้
3.จากสิทธิประกันสุขภาพเป็นสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ได้รับสิทธินับจากวันบรรจุ โดยจะไม่มีระบบลงทะเบียน ผู้ป่วยต้องติดต่อโรงพยาบาลของรัฐที่สะดวกเข้ารับการรักษา 4.จากสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจเป็นสิทธิประกันสุขภาพ ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพทันทีหลังจากสิ้นสุดสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้ป่วยเลือกลงทะเบียนหน่วยบริการประจำและเลือกโรงพยาบาลที่จะรักษาอาจเป็นคนละโรงพยาบาล 5.จากสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจเป็นสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนได้สิทธิหลังจ่ายเงินสมทบครบ 90 วัน และเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาและโรงพยาบาลรักษาที่อาจจะเป็นคนละแห่งก็ได้ และ 6.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกันตนยังคงสิทธิหลังออกจากงาน 180 วัน ไม่มีระบบลงทะเบียนให้ผู้ป่วยติดต่อเลือกโรงพยาบาลของรัฐที่สะดวกเข้ารับการรักษา
“ทั้ง 6 กรณีผู้ป่วยสามารถเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาแตกต่างจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาได้เฉพาะที่เป็นโรงพยาบาลรัฐบาลด้วยกันเท่านั้น และในการย้ายโรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องแสดงความจำนงแก่ผู้ประสานของโรงพยาบาลเดิมเพื่อขอข้อมูลทางการแพทย์ไปให้โรงพยาบาลใหม่ เนื่องจากไม่มีระบบออนไลน์ เพราะข้อมูลของผู้ป่วยจะต้องเป็นความลับตามที่กฎหมายกำหนด” รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
ด้าน นางสุพัชรี มีครุฑ ผู้ตรวจราชการ สปส.กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เป็นผู้ประกันตนทั้งที่เป็นผู้ประกันตนเดิมและผู้ที่เปลี่ยนจากสิทธิอื่นมาเป็นประกันสังคม หากเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นโรงพยาบาลเอกชน จะไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลรักษาอื่นได้ต้องรักษากับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาที่ระบุในบัตรประกันสังคม เนื่องจากระบบของประกันสังคมจะทำสัญญากับโรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น แต่หากเป็นผู้ประกันตนที่โรงพยาบาลตามบัตรเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สธ.ได้มีการอนุโลมให้เข้ารักษาในโรงพยาบาลสังกัดสธ.อื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรได้ แต่ต้องอยู่ภายในโรงพยาบาลเดียวกัน
“สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยทั้ง 2 โรคทั้งสิทธิประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ ส่วนตัวเห็นว่าเกณฑ์เหมือน หรือใกล้เคียงกันแล้วมีความแตกต่างแค่ในส่วนของเงินที่จ่ายเท่านั้น เช่น กรณีการตรวจซีดีโฟร์ (CD4) ของผู้ป่วยเอดส์ สปส.จ่าย 500 บาทต่อการตรวจรู้ผล ขณะที่ สปสช.จ่าย 400 บาทต่อการตรวจรู้ผล หรือการตรวจปริมาณไวรัสในร่างกาย ที่ สปส.จ่าย 2,500 บาทต่อการตรวจรู้ผล ส่วน สปสช.จ่ายชดเชยเป็นน้ำยา 1.1 เท่าพร้อมค่าบริหารจัดการ 250 บาทต่อการตรวจรู้ผล เป็นต้น ซึ่งในอนาคต สปส.จะพยายามให้มาตรฐานเป็นแบบเดียวกัน” นางสุพัชรี กล่าว