“วิทยา” มั่นใจรับมือโรคที่มากับน้ำท่วมได้ “หมอพรเทพ” ยันไม่มีโรคระบาดร้ายแรงระหว่างน้ำท่วมและหลังน้ำลด แต่ต้องป้องกันการถูกไฟดูดตาย หลังปี 2554 พบตายถึง 128 ราย ใน 20 จังหวัด
วันนี้ (6 ต.ค.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงานมหกรรมรวมพลังใจสัญจร “ถอดรหัสปัญหาสุขภาพ บทเรียนน้ำท่วม 54 รับมือน้ำท่วมปี 55 แก้ปัญหาโดยชุมชน” ว่า เมื่อปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 65 จังหวัด ประชาชนกว่า 11 ล้านคน ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง และยาวนานประมาณ 6 เดือน ความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป เช่น การอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขังนานๆ การอาศัยอยู่ตามจุดพักพิง ปัญหาขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มสะอาด การขับถ่าย และการกำจัดขยะไม่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค หนีน้ำมาอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วย และโรคติดต่อระบาดขึ้นได้ง่าย นับว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ และการเรียนรู้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่มีในตำราเรียน โดยหน่วยแพทย์ให้บริการประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 10,000 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วย 2 ล้านกว่าราย ส่วนใหญ่เป็นน้ำกัดเท้า และไม่มีโรคติดต่อแพร่ระบาดแต่อย่างใด มั่นใจว่าสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.มีความพร้อมในการรับมือทุกด้านและสามารถควบคุมป้องกันไม่ให้มีโรคระบาดซ้ำเติมผู้ประสบภัยได้อย่างแน่นอน โดยได้เตรียมทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วไว้ 1,088 ทีม พร้อมลงพื้นที่ควบคุมโรคทันทีเมื่อพบผู้ป่วยสงสัย
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในช่วงน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ได้ส่งทีมสอบสวนโรค 58 ทีมออกให้บริการ 436 ครั้ง ใน 387 จุด ออกควบคุมแมลงพาหะนำโรค 180 ทีม 421 ครั้ง ใน 533 จุด ในระหว่างน้ำท่วม มีรายงานพบผู้ป่วยโรคฉี่หนู 1,301 ราย ไข้เลือดออก 10,515 ราย อุจจาระร่วง 197,680 ราย ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์จำนวนผู้ป่วยทั้ง 3 โรค พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ และจำนวนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีในช่วงเวลาเดียวกัน
“แม้จะไม่มีการระบาดของโรคติดต่อระหว่างน้ำท่วมและหลังน้ำลด แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ การเสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าดูด ซึ่งมีรายงานทั้งหมด 128 รายใน 20 จังหวัด เป็นชาย 103 ราย หญิง 25 ราย โดย กทม.มากสุด 26 ราย ปทุมธานี 22 ราย นนทบุรี 20 ราย และอยุธยา 14 ราย" อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า เรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุง หาข้อสรุปเพื่อนำไปใช้ในการรับมือสาธารณภัยหรืออุทกภัยในอนาคต ทั้งการจัดระบบเฝ้าระวังโรค การลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำและไฟฟ้าช็อต ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การรั่วไหลสารเคมี เชื้อราในอาคาร เป็นต้น มั่นใจว่า การจัดมหกรรมรวมพลังใจสัญจรถอดรหัสปัญหาสุขภาพ บทเรียนน้ำท่วม 54 ในวันนี้ จะช่วยให้ประชาชนมีความพร้อมรับมือ หากเกิดสถานการณ์อุทกภัยหรือภัยอื่นๆ ในอนาคต
วันนี้ (6 ต.ค.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงานมหกรรมรวมพลังใจสัญจร “ถอดรหัสปัญหาสุขภาพ บทเรียนน้ำท่วม 54 รับมือน้ำท่วมปี 55 แก้ปัญหาโดยชุมชน” ว่า เมื่อปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 65 จังหวัด ประชาชนกว่า 11 ล้านคน ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง และยาวนานประมาณ 6 เดือน ความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป เช่น การอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขังนานๆ การอาศัยอยู่ตามจุดพักพิง ปัญหาขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มสะอาด การขับถ่าย และการกำจัดขยะไม่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค หนีน้ำมาอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วย และโรคติดต่อระบาดขึ้นได้ง่าย นับว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ และการเรียนรู้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่มีในตำราเรียน โดยหน่วยแพทย์ให้บริการประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 10,000 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วย 2 ล้านกว่าราย ส่วนใหญ่เป็นน้ำกัดเท้า และไม่มีโรคติดต่อแพร่ระบาดแต่อย่างใด มั่นใจว่าสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.มีความพร้อมในการรับมือทุกด้านและสามารถควบคุมป้องกันไม่ให้มีโรคระบาดซ้ำเติมผู้ประสบภัยได้อย่างแน่นอน โดยได้เตรียมทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วไว้ 1,088 ทีม พร้อมลงพื้นที่ควบคุมโรคทันทีเมื่อพบผู้ป่วยสงสัย
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในช่วงน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ได้ส่งทีมสอบสวนโรค 58 ทีมออกให้บริการ 436 ครั้ง ใน 387 จุด ออกควบคุมแมลงพาหะนำโรค 180 ทีม 421 ครั้ง ใน 533 จุด ในระหว่างน้ำท่วม มีรายงานพบผู้ป่วยโรคฉี่หนู 1,301 ราย ไข้เลือดออก 10,515 ราย อุจจาระร่วง 197,680 ราย ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์จำนวนผู้ป่วยทั้ง 3 โรค พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ และจำนวนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีในช่วงเวลาเดียวกัน
“แม้จะไม่มีการระบาดของโรคติดต่อระหว่างน้ำท่วมและหลังน้ำลด แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ การเสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าดูด ซึ่งมีรายงานทั้งหมด 128 รายใน 20 จังหวัด เป็นชาย 103 ราย หญิง 25 ราย โดย กทม.มากสุด 26 ราย ปทุมธานี 22 ราย นนทบุรี 20 ราย และอยุธยา 14 ราย" อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า เรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุง หาข้อสรุปเพื่อนำไปใช้ในการรับมือสาธารณภัยหรืออุทกภัยในอนาคต ทั้งการจัดระบบเฝ้าระวังโรค การลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำและไฟฟ้าช็อต ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การรั่วไหลสารเคมี เชื้อราในอาคาร เป็นต้น มั่นใจว่า การจัดมหกรรมรวมพลังใจสัญจรถอดรหัสปัญหาสุขภาพ บทเรียนน้ำท่วม 54 ในวันนี้ จะช่วยให้ประชาชนมีความพร้อมรับมือ หากเกิดสถานการณ์อุทกภัยหรือภัยอื่นๆ ในอนาคต