สธ.ส่งทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำจัดยุงพื้นที่น้ำท่วมขัง พร้อมประสานขออีเอ็มบอลจาก ก.ทรัพยากรธรรมชาติฯ บำบัดน้ำเน่าเสีย ด้าน ปลัด สธ.กำชับ สสจ.30 แห่ง เตรียมรับมือพายุ “เกมี” และจัดทีมแพทย์ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมเริ่มเน่าเสียและมียุงชุมในพื้นที่ประสบภัยต่างๆ นั้น ขณะนี้ สธ.ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ประเมินสภาพปัญหาและทำการฉีดพ่นสารเคมีฆ่ายุงในพื้นที่ต่างๆ แล้ว พร้อมกับนำยาทากันยุงไปแจกแก่ผู้ประสบภัยและแนะนำให้เร่งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิดด้วย นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขอสนับสนุนอีเอ็มบอลนำไปบำบัดน้ำขังที่เน่าเสีย เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ตนได้ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำชับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 30 จังหวัดให้เตรียมรับมือพายุเกมี (GAEMI) ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า จะมีผลกระทบกับประเทศไทย โดยมีฝนตกในช่วงวันที่ 4-8 ตุลาคม 2555 โดยให้เตรียมป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาล สำรวจเวชภัณฑ์ ยาให้มีใช้เพียงพอ และเตรียมพร้อมหน่วยกู้ชีพ รวมทั้งชุดปฏิบัติการแพทย์สนามฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติหรือทีมเมิร์ท (Medical Emergency Response Team: MERT) พร้อมปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วน 1669 ฟรี
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่ประสบภัยตั้งแต่ 9 กันยายน - 2 ตุลาคม 2555 รวม 24 วัน พบผู้ป่วยทั้งหมด 37,719 ราย เฉลี่ยวันละ 1,571 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ออกเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และนอนพักฟื้นดูแลที่บ้านจำนวน 9,528 ราย โดย สธ.จะให้การดูแลผู้ประสบภัยจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ และดูแลฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดให้ปลอดภัย ทั้งน้ำ อาหาร สุขาภิบาล และโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วมด้วย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมเริ่มเน่าเสียและมียุงชุมในพื้นที่ประสบภัยต่างๆ นั้น ขณะนี้ สธ.ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ประเมินสภาพปัญหาและทำการฉีดพ่นสารเคมีฆ่ายุงในพื้นที่ต่างๆ แล้ว พร้อมกับนำยาทากันยุงไปแจกแก่ผู้ประสบภัยและแนะนำให้เร่งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิดด้วย นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขอสนับสนุนอีเอ็มบอลนำไปบำบัดน้ำขังที่เน่าเสีย เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ตนได้ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำชับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 30 จังหวัดให้เตรียมรับมือพายุเกมี (GAEMI) ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า จะมีผลกระทบกับประเทศไทย โดยมีฝนตกในช่วงวันที่ 4-8 ตุลาคม 2555 โดยให้เตรียมป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาล สำรวจเวชภัณฑ์ ยาให้มีใช้เพียงพอ และเตรียมพร้อมหน่วยกู้ชีพ รวมทั้งชุดปฏิบัติการแพทย์สนามฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติหรือทีมเมิร์ท (Medical Emergency Response Team: MERT) พร้อมปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วน 1669 ฟรี
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่ประสบภัยตั้งแต่ 9 กันยายน - 2 ตุลาคม 2555 รวม 24 วัน พบผู้ป่วยทั้งหมด 37,719 ราย เฉลี่ยวันละ 1,571 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ออกเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และนอนพักฟื้นดูแลที่บ้านจำนวน 9,528 ราย โดย สธ.จะให้การดูแลผู้ประสบภัยจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ และดูแลฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดให้ปลอดภัย ทั้งน้ำ อาหาร สุขาภิบาล และโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วมด้วย