ผลวิจัยพบ ต่างด้าวแออัดใน กทม.กว่าครึ่งล้าน นักวิจัยชี้พม่าเยอะสุด เกินครึ่งมีงานทำ และมีสิทธิประกันสุขภาพ ทึ่ง 72.2% มีการคุมกำเนิด 98.8% มีการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล แต่เด็กต่างด้าวแรกเกิดได้รับวัคซีนน้อยกว่าเด็กไทย 1 ใน 3 เหตุแม่ลาคลอดไม่ได้ และขาดความเข้าใจเรื่องการรับวัคซีนตามกำหนด เตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข
วันนี้ (26 ก.ย.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวในเวทีนำเสนอผลงานวิจัยการคาดประมาณประชากรและการประเมินอนามัยแม่และเด็กของประชากรข้ามชาติในกรุงเทพมหานคร ว่า ข้อมูลประชากรข้ามชาติมีความสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการควบคุมป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ อาทิ โรคติดต่อ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ฯลฯ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่พบข้อมูลเรื่องจำนวนประชากรข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสำรวจภาคสนามและมีข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น สวรส.จึงสนับสนุนทุนวิจัยให้กับ Health Counterparts Consulting (HCC) ซึ่งทำงานร่วมกับองค์การแพธ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำวิจัยการคาดประมาณประชากรและการประเมินอนามัยแม่และเด็กของประชากรข้ามชาติใน กทม.ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการคาดประมาณจำนวนประชากรข้ามชาติอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการศึกษา กระบวนการเก็บข้อมูล และวิถีชีวิตของประชากรข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยหวังใช้ข้อมูลนี้จุดประเด็นในการพัฒนาระบบดูแลอนามัยแม่และเด็กที่เข้าถึงและเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งควบคุมป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
รศ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กล่าวว่า การวิจัยจำนวนประชากรข้ามชาติใน กทม.ครั้งนี้ เน้นกลุ่มคนพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นแรงงานระดับล่างและครอบครัวผู้ติดตาม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มผ่อนผัน คือ กลุ่มแรงงานที่มาจดทะเบียนแล้ว 2.กลุ่มพิสูจน์สัญชาติ 3.กลุ่มนำเข้า ที่เดินทางเข้ามาผ่านบันทึกข้อตกลง และ 4.กลุ่มใต้ดิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่ชัดเหมือนแรงงานอีก 3 กลุ่ม ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ ฐานข้อมูลการสำมะโนประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ฐานข้อมูลสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว และฐานทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย
“นอกจากนี้ ยังได้มีการลงพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มย่อยจากการสุ่มเลือกพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ 17 เขตปกครองของ กทม.โดยคาดประมาณว่า จำนวนประชากรข้ามชาติใน กทม.มีจำนวนมากที่สุด 684,485 คน และน้อยที่สุด 414,797 คน โดยในจำนวนมากที่สุดมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 40,000 คน ซึ่งค่าประมาณการนี้มีมากกว่าจำนวนประชากรที่จดทะเบียนแรงงาน” รศ.กฤตยา กล่าว
ด้าน น.ส.ศศิธร ศิลป์วุฒยา อาจารย์ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ได้เสนอผลการศึกษา “บทเรียนของการสำรวจสำมะโนประชากรข้ามชาติภาคสนาม” ว่า การทำวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ของแม่และเด็ก โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ภายใต้ขอบเขตพื้นที่ทั้งหมด 21EA (จากการแจกแจงความถี่ขประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ) ในเขต กทม.โดยเน้นจำนวนประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งสรุปได้ว่า มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 10,233 คน เป็นคนไทย 8,323 คน (ร้อยละ 81.33) ต่างชาติ 1,910 คน (ร้อยละ 18.67) ในจำนวนนี้เป็นประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติ 1,847 คน จำแนกเป็นพม่า 1,558 คน (ร้อยละ 81.57) กัมพูชา 203 คน (ร้อยละ 10.63) และลาว 86 คน (ร้อยละ 4.50) มีความหนาแน่นอยู่ในเขตบางขุนเทียน และเขตบางบอน มากที่สุด มีลักษณะเป็นชุมชนของประชากรข้ามชาติ รองลงมาเป็นพื้นที่ตลาดในเขตคลองเตย บางแค และ พระนคร พื้นที่โรงงานในเขตทุ่งครุ ภาษีเจริญ และหนองแคม และพื้นที่แคมป์คนงานในเขตจตุจักร ราชเทวี
นพ.วิวัฒน์ พีรพัฒนโภคิน มูลนิธิสถาบันวิจัยและนโยบาย เสนอผลการศึกษา “การคาดประมาณประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติใน กทม.” ว่า การคาดประมาณดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.มากที่สุด 684,486 คน 2.ปานกลาง 497,407 คน โดยทั้ง 2 ระดับคำนวณจากสัดส่วนผู้มีบัตรและช่วงอายุของประชากรข้ามชาติจากการเก็บข้อมูล และ 3.น้อยที่สุด จากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานใน กทม.ในเดือนเมษายน 2555 ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ร้อยละ 88.44 มีบัตรประจำตัวประเภทใดประเภทหนึ่งของประชากรข้ามชาติ ร้อยละ 93.87 มีงานทำ ส่วนใหญ่เป็นกรรมกรในโรงงาน และร้อยละ 69.29 มีสิทธิประกันสุขภาพ
ขณะที่ นางทัศนัย ขันตยาภรณ์ ผู้วิจัยจาก HCC เสนอผลการศึกษาอนามัยแม่และเด็กของหญิงต่างด้าวใน กทม.ว่า การศึกษาครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหญิงต่างด้าวที่มีสถานะอยู่กันเป็นคู่ 478 คน โดยพบว่า เป้าหมายการอพยพของประชากรกลุ่มนี้เพื่อทำงานหาเงิน ร้อยละ 72.2 มีการคุมกำเนิด โดยนิยมใช้ยาคุมกำเนิดมากที่สุด แต่พบว่ามีการคุมกำเนิดผิดพลาดสูงเช่นกัน โดยเมื่อตั้งครรภ์ ร้อยละ 98.8 มีการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และร้อยละ 77.9 คลอดโดยใช้สิทธิประกันสุขภาพ แต่เด็กที่เกิดมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่ามาตรฐาน คือ 2,500 กรัม เนื่องจากแม่ต้องทำงานหนักตลอดการตั้งครรภ์ ประกอบกับการลาคลอดไม่ได้แม้จะมีการจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย ทำให้เด็กไม่ได้รับนมแม่ และไม่ได้รับการดูแลเรื่องวัคซีนพื้นฐาน ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันโปลิโอ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และวัคซีนป้องกันโรคหัด นอกจากนี้ แม้จะมีความตระหนักว่าควรพาลูกไปรับวัคซีนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่ยังขาดความเข้าใจเรื่องการรับวัคซีนตามกำหนด ด้วยข้อจำกัดด้านภาษาในเอกสารต่างๆ
นางทัศนัย กล่าวอีกว่า ความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กต่างด้าวแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ น้อยกว่าภาพรวมของเด็กไทยถึง 1 ใน 3 และน้อยกว่าถึงร้อยละ 40-50 ในช่วงอายุ 1-4 ขวบ ส่งผลต่อการควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน แม้จะมีการอพยพเด็กเล็กไปมา แต่สัดส่วนการเคลื่อนย้ายจากประเทศต้นทางมายังประเทศไทยมีจำนวนมาก ดังนั้น ประเทศไทยต้องหามาตรการรองรับในเรื่องดังกล่าวด้วย
วันนี้ (26 ก.ย.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวในเวทีนำเสนอผลงานวิจัยการคาดประมาณประชากรและการประเมินอนามัยแม่และเด็กของประชากรข้ามชาติในกรุงเทพมหานคร ว่า ข้อมูลประชากรข้ามชาติมีความสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการควบคุมป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ อาทิ โรคติดต่อ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ฯลฯ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่พบข้อมูลเรื่องจำนวนประชากรข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสำรวจภาคสนามและมีข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น สวรส.จึงสนับสนุนทุนวิจัยให้กับ Health Counterparts Consulting (HCC) ซึ่งทำงานร่วมกับองค์การแพธ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำวิจัยการคาดประมาณประชากรและการประเมินอนามัยแม่และเด็กของประชากรข้ามชาติใน กทม.ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการคาดประมาณจำนวนประชากรข้ามชาติอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการศึกษา กระบวนการเก็บข้อมูล และวิถีชีวิตของประชากรข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยหวังใช้ข้อมูลนี้จุดประเด็นในการพัฒนาระบบดูแลอนามัยแม่และเด็กที่เข้าถึงและเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งควบคุมป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
รศ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กล่าวว่า การวิจัยจำนวนประชากรข้ามชาติใน กทม.ครั้งนี้ เน้นกลุ่มคนพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นแรงงานระดับล่างและครอบครัวผู้ติดตาม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มผ่อนผัน คือ กลุ่มแรงงานที่มาจดทะเบียนแล้ว 2.กลุ่มพิสูจน์สัญชาติ 3.กลุ่มนำเข้า ที่เดินทางเข้ามาผ่านบันทึกข้อตกลง และ 4.กลุ่มใต้ดิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่ชัดเหมือนแรงงานอีก 3 กลุ่ม ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ ฐานข้อมูลการสำมะโนประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ฐานข้อมูลสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว และฐานทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย
“นอกจากนี้ ยังได้มีการลงพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มย่อยจากการสุ่มเลือกพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ 17 เขตปกครองของ กทม.โดยคาดประมาณว่า จำนวนประชากรข้ามชาติใน กทม.มีจำนวนมากที่สุด 684,485 คน และน้อยที่สุด 414,797 คน โดยในจำนวนมากที่สุดมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 40,000 คน ซึ่งค่าประมาณการนี้มีมากกว่าจำนวนประชากรที่จดทะเบียนแรงงาน” รศ.กฤตยา กล่าว
ด้าน น.ส.ศศิธร ศิลป์วุฒยา อาจารย์ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ได้เสนอผลการศึกษา “บทเรียนของการสำรวจสำมะโนประชากรข้ามชาติภาคสนาม” ว่า การทำวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ของแม่และเด็ก โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ภายใต้ขอบเขตพื้นที่ทั้งหมด 21EA (จากการแจกแจงความถี่ขประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ) ในเขต กทม.โดยเน้นจำนวนประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งสรุปได้ว่า มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 10,233 คน เป็นคนไทย 8,323 คน (ร้อยละ 81.33) ต่างชาติ 1,910 คน (ร้อยละ 18.67) ในจำนวนนี้เป็นประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติ 1,847 คน จำแนกเป็นพม่า 1,558 คน (ร้อยละ 81.57) กัมพูชา 203 คน (ร้อยละ 10.63) และลาว 86 คน (ร้อยละ 4.50) มีความหนาแน่นอยู่ในเขตบางขุนเทียน และเขตบางบอน มากที่สุด มีลักษณะเป็นชุมชนของประชากรข้ามชาติ รองลงมาเป็นพื้นที่ตลาดในเขตคลองเตย บางแค และ พระนคร พื้นที่โรงงานในเขตทุ่งครุ ภาษีเจริญ และหนองแคม และพื้นที่แคมป์คนงานในเขตจตุจักร ราชเทวี
นพ.วิวัฒน์ พีรพัฒนโภคิน มูลนิธิสถาบันวิจัยและนโยบาย เสนอผลการศึกษา “การคาดประมาณประชากรข้ามชาติ 3 สัญชาติใน กทม.” ว่า การคาดประมาณดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.มากที่สุด 684,486 คน 2.ปานกลาง 497,407 คน โดยทั้ง 2 ระดับคำนวณจากสัดส่วนผู้มีบัตรและช่วงอายุของประชากรข้ามชาติจากการเก็บข้อมูล และ 3.น้อยที่สุด จากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานใน กทม.ในเดือนเมษายน 2555 ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ร้อยละ 88.44 มีบัตรประจำตัวประเภทใดประเภทหนึ่งของประชากรข้ามชาติ ร้อยละ 93.87 มีงานทำ ส่วนใหญ่เป็นกรรมกรในโรงงาน และร้อยละ 69.29 มีสิทธิประกันสุขภาพ
ขณะที่ นางทัศนัย ขันตยาภรณ์ ผู้วิจัยจาก HCC เสนอผลการศึกษาอนามัยแม่และเด็กของหญิงต่างด้าวใน กทม.ว่า การศึกษาครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหญิงต่างด้าวที่มีสถานะอยู่กันเป็นคู่ 478 คน โดยพบว่า เป้าหมายการอพยพของประชากรกลุ่มนี้เพื่อทำงานหาเงิน ร้อยละ 72.2 มีการคุมกำเนิด โดยนิยมใช้ยาคุมกำเนิดมากที่สุด แต่พบว่ามีการคุมกำเนิดผิดพลาดสูงเช่นกัน โดยเมื่อตั้งครรภ์ ร้อยละ 98.8 มีการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และร้อยละ 77.9 คลอดโดยใช้สิทธิประกันสุขภาพ แต่เด็กที่เกิดมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่ามาตรฐาน คือ 2,500 กรัม เนื่องจากแม่ต้องทำงานหนักตลอดการตั้งครรภ์ ประกอบกับการลาคลอดไม่ได้แม้จะมีการจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย ทำให้เด็กไม่ได้รับนมแม่ และไม่ได้รับการดูแลเรื่องวัคซีนพื้นฐาน ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันโปลิโอ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และวัคซีนป้องกันโรคหัด นอกจากนี้ แม้จะมีความตระหนักว่าควรพาลูกไปรับวัคซีนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่ยังขาดความเข้าใจเรื่องการรับวัคซีนตามกำหนด ด้วยข้อจำกัดด้านภาษาในเอกสารต่างๆ
นางทัศนัย กล่าวอีกว่า ความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กต่างด้าวแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ น้อยกว่าภาพรวมของเด็กไทยถึง 1 ใน 3 และน้อยกว่าถึงร้อยละ 40-50 ในช่วงอายุ 1-4 ขวบ ส่งผลต่อการควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน แม้จะมีการอพยพเด็กเล็กไปมา แต่สัดส่วนการเคลื่อนย้ายจากประเทศต้นทางมายังประเทศไทยมีจำนวนมาก ดังนั้น ประเทศไทยต้องหามาตรการรองรับในเรื่องดังกล่าวด้วย