“วิทยา” ห่วงผู้ประสบภัยน้ำท่วมป่วยโรคอาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง แนะล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร เตือนผู้บริจาคให้หลีกเลี่ยงอาหารบูดง่าย เน้นอาหารแห้ง สั่งเจ้าหน้าที่สำรวจผู้พิการ ผู้สูงอายุ หากพบเสี่ยงไม่ปลอดภัยให้รับตัวเข้านอนโรงพยาบาล
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า ขณะนี้เป็นห่วงผู้ประสบภัยในเรื่องโรคอาหารเป็นพิษ และโรคอุจจาระร่วง เนื่องจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาดเพียงพอ แม้จะยังไม่มีรายงาน แต่ต้องป้องกันไว้ก่อน โดยได้เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกพื้นที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ตั้งจุดปรุงอาหารช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประสบภัยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ทั้ง 3 มื้อ
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ผู้ที่ประสงค์จะบริจาคอาหารให้ผู้ประสบภัย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่บูดเสียง่าย เช่น อาหารที่ปรุงด้วยกะทิ ประเภทยำ ส่วนอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น เนื้อทอด ปลาทอด หมูแดดเดียวทอด ไข่ต้มสุก ขณะที่ผู้ประสบภัยเองต้องล้างมือให้สะอาดภายหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง และควรรับประทานอาหารบริจาคภายใน 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรเก็บอาหารไว้นานๆ ข้ามคืน หากเป็นไปได้ ควรอุ่นให้ร้อนก่อน
ทั้งนี้ ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 9-19 กันยายน 2555 พบผู้เจ็บป่วย 20,912 ราย ส่วนใหญ่เป็นใข้หวัด ปวดเมื่อยและบาดแผลจากอุบัติเหตุ โดยได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วมไปให้ 5 จังหวัด รวม 35,500 ชุด ดังนี้ จังหวัดปราจีนบุรี ลพบุรี เชียงใหม่ จังหวัดละ 10,000 ชุด เพชรบูรณ์ 5,000 ชุด และสมุทรสาคร 500 ชุด
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ.ประจำพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และปราจีนบุรี กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกขณะนี้รุนแรงที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีโรงพยาบาลถูกน้ำท่วม 6 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 แห่ง แต่ทุกแห่งยังคงให้บริการได้ตามปกติ ทั้งนี้ ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ช่วยเหลือประชาชน เตือนประชาชนให้ระวังไฟฟ้าช็อต บุตรหลานตกน้ำ และสำรวจผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม หากพบว่ามีความเสี่ยงอันตราย ไม่ปลอดภัย ขอให้รับตัวเข้าไปนอนที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ทุกแห่ง ขณะนี้ได้สำรองเตียงว่างไว้แห่งละ 20 เตียง และให้ สสจ.ทั้ง 2 จังหวัด ตั้งวอร์รูมติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์ทุกวัน โดยที่ จ.สระแก้ว ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่วันละ 12 หน่วย ส่วนที่ จ.ปราจีนบุรี จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกวันละ 6 หน่วย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า ขณะนี้เป็นห่วงผู้ประสบภัยในเรื่องโรคอาหารเป็นพิษ และโรคอุจจาระร่วง เนื่องจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาดเพียงพอ แม้จะยังไม่มีรายงาน แต่ต้องป้องกันไว้ก่อน โดยได้เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกพื้นที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ตั้งจุดปรุงอาหารช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประสบภัยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ทั้ง 3 มื้อ
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ผู้ที่ประสงค์จะบริจาคอาหารให้ผู้ประสบภัย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่บูดเสียง่าย เช่น อาหารที่ปรุงด้วยกะทิ ประเภทยำ ส่วนอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น เนื้อทอด ปลาทอด หมูแดดเดียวทอด ไข่ต้มสุก ขณะที่ผู้ประสบภัยเองต้องล้างมือให้สะอาดภายหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง และควรรับประทานอาหารบริจาคภายใน 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรเก็บอาหารไว้นานๆ ข้ามคืน หากเป็นไปได้ ควรอุ่นให้ร้อนก่อน
ทั้งนี้ ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 9-19 กันยายน 2555 พบผู้เจ็บป่วย 20,912 ราย ส่วนใหญ่เป็นใข้หวัด ปวดเมื่อยและบาดแผลจากอุบัติเหตุ โดยได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วมไปให้ 5 จังหวัด รวม 35,500 ชุด ดังนี้ จังหวัดปราจีนบุรี ลพบุรี เชียงใหม่ จังหวัดละ 10,000 ชุด เพชรบูรณ์ 5,000 ชุด และสมุทรสาคร 500 ชุด
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ.ประจำพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และปราจีนบุรี กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกขณะนี้รุนแรงที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีโรงพยาบาลถูกน้ำท่วม 6 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 แห่ง แต่ทุกแห่งยังคงให้บริการได้ตามปกติ ทั้งนี้ ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ช่วยเหลือประชาชน เตือนประชาชนให้ระวังไฟฟ้าช็อต บุตรหลานตกน้ำ และสำรวจผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม หากพบว่ามีความเสี่ยงอันตราย ไม่ปลอดภัย ขอให้รับตัวเข้าไปนอนที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ทุกแห่ง ขณะนี้ได้สำรองเตียงว่างไว้แห่งละ 20 เตียง และให้ สสจ.ทั้ง 2 จังหวัด ตั้งวอร์รูมติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์ทุกวัน โดยที่ จ.สระแก้ว ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่วันละ 12 หน่วย ส่วนที่ จ.ปราจีนบุรี จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกวันละ 6 หน่วย