คร.ยันเชื้อหวัดนกกลายพันธุ์ระบาดเวียดนามไม่น่าห่วง ฟุ้งยังไม่พบไข้หวัดนกในไทย ไร้ผู้ป่วยนาน 6 ปีแล้ว มั่นใจ 6 มาตรการเข้มป้องกันได้ แต่ไม่อยากให้ประชาชนประมาท หากเจอสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ เร่งแจ้งเจ้าหน้าที่ เตือนคนไปเวียดนามกินไก่-ไข่ปรุงสุก อย่าสัมผัสสัตว์ปีก
จากกรณีที่ทางการเวียดนามได้ออกแถลงการณ์ว่า พบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัส เอช5เอ็น1 (H5N1) หรือเรียกว่า ไฮลี-ท็อกซิก กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วใน 6จังหวัดทั่วประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีประชาชนเสียชีวิตไปแล้ว 2 ราย และทางการได้สั่งกำจัดสัตว์ปีกแล้วกว่า 1 แสน 8 หมื่นตัว ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ต้นตอของการกลายพันธุ์เกิดจากการลักลอบขนสัตว์ปีกจากประเทศจีนมายังภาคเหนือของเวียดนาม ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้จัดให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 59 ราย ตั้งแต่ปี 2546
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่และโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการตรวจสอบของศูนย์ความร่วมมือสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งชาติ ที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งมีการติดตามสถานการณ์ไข้หวัดนกอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอดเวลา พบว่า ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย และไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2549 ไม่พบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติตั้งแต่ปี 2551 อย่างไรก็ตาม กรมไม่ได้ประมาทมีการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องเต็มที่ ด้วยการดำเนินการ 6 มาตรการหลัก คือ 1.ให้ อสม.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ 2.เครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ ONE Health ร่วมมือ ป้องกัน เฝ้าระวัง 3.เตือนประชาชนรับมือและระมัดระวังกับไข้หวัดนก 4.ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ในการตรวจเชื้อจากผู้ป่วยที่มีอาการไข้ คล้ายปอดบวมมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก ซึ่งล่าสุดห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยไข้หวัดนก 5.ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วจะเข้าพื้นที่เพื่อสอบสวนโรคและโต้ตอบโดยทันทีหากพบผู้ป่วยต้องสงสัยและสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ และ 6.แพทย์ พยาบาลร่วมวินิจแยโรคไข้หวัดนก
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า คำแนะนำสำหรับประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้หวัด ต้องรับประทานอาหารที่ปรุงจากสัตว์ปีกซึ่งปรุงสุกแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ตายผิดปกติ โดยเฉพาะในเด็ก ผู้ปกครองควรสอดส่องดูแลและตักเตือนไม่ให้ไปเล่นกับสัตว์ปีกที่ตายรวมทั้งปลูกฝังนิสัยการล้างมือ นอกจากนี้ ถ้าพบสัตว์ปีกป่วยตายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์โดยด่วน หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยตายผิดปกติต้องสวมหน้ากากอนามัย และถุงมือยางหรือถุงพลาสติก ห้ามจับด้วยมือเปล่า จากนั้นใส่ถุงมัดให้แน่นส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปตรวจ หรือกรณีฝังซากต้องขุดหลุมลึกอย่างน้อย 1 เมตร และห่างจากแหล่งน้ำอย่างน้อย 30 เมตร ที่สำคัญ ภายหลังจากสัมผัสสัตว์ปีก 3-7 วัน ถ้ามีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบคล้ายปอดบวมต้องรีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติสัมผัสสัตว์ปีก
“การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกกลายพันธุ์ในประเทศเวียดนาม ไม่น่าห่วง เพราะประเทศไทยมีมาตรการการเฝ้าระวังที่ดี แต่ไม่อยากให้ประชาชนประมาท ต้องดำเนินการตามข้อแนะนำเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดอย่างเข้มข้น ส่วนประชาชนที่จะเดินทางไปยังประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะใน 6 จังหวัดที่มีการระบาดของโรคกรมไม่จำเป็นต้องจำกัดการเดินทางด้วยการไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ แต่มีข้อแนะนำว่า ควรรับประทานสัตว์ปีกและไข่ที่มีการปรุงสุกแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับสัตว์ปีกตาย” นพ.รุ่งเรือง กล่าว
จากกรณีที่ทางการเวียดนามได้ออกแถลงการณ์ว่า พบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัส เอช5เอ็น1 (H5N1) หรือเรียกว่า ไฮลี-ท็อกซิก กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วใน 6จังหวัดทั่วประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีประชาชนเสียชีวิตไปแล้ว 2 ราย และทางการได้สั่งกำจัดสัตว์ปีกแล้วกว่า 1 แสน 8 หมื่นตัว ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ต้นตอของการกลายพันธุ์เกิดจากการลักลอบขนสัตว์ปีกจากประเทศจีนมายังภาคเหนือของเวียดนาม ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้จัดให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 59 ราย ตั้งแต่ปี 2546
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่และโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการตรวจสอบของศูนย์ความร่วมมือสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งชาติ ที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งมีการติดตามสถานการณ์ไข้หวัดนกอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอดเวลา พบว่า ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย และไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2549 ไม่พบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติตั้งแต่ปี 2551 อย่างไรก็ตาม กรมไม่ได้ประมาทมีการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องเต็มที่ ด้วยการดำเนินการ 6 มาตรการหลัก คือ 1.ให้ อสม.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ 2.เครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ ONE Health ร่วมมือ ป้องกัน เฝ้าระวัง 3.เตือนประชาชนรับมือและระมัดระวังกับไข้หวัดนก 4.ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ในการตรวจเชื้อจากผู้ป่วยที่มีอาการไข้ คล้ายปอดบวมมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก ซึ่งล่าสุดห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยไข้หวัดนก 5.ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วจะเข้าพื้นที่เพื่อสอบสวนโรคและโต้ตอบโดยทันทีหากพบผู้ป่วยต้องสงสัยและสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ และ 6.แพทย์ พยาบาลร่วมวินิจแยโรคไข้หวัดนก
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า คำแนะนำสำหรับประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้หวัด ต้องรับประทานอาหารที่ปรุงจากสัตว์ปีกซึ่งปรุงสุกแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ตายผิดปกติ โดยเฉพาะในเด็ก ผู้ปกครองควรสอดส่องดูแลและตักเตือนไม่ให้ไปเล่นกับสัตว์ปีกที่ตายรวมทั้งปลูกฝังนิสัยการล้างมือ นอกจากนี้ ถ้าพบสัตว์ปีกป่วยตายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์โดยด่วน หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยตายผิดปกติต้องสวมหน้ากากอนามัย และถุงมือยางหรือถุงพลาสติก ห้ามจับด้วยมือเปล่า จากนั้นใส่ถุงมัดให้แน่นส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปตรวจ หรือกรณีฝังซากต้องขุดหลุมลึกอย่างน้อย 1 เมตร และห่างจากแหล่งน้ำอย่างน้อย 30 เมตร ที่สำคัญ ภายหลังจากสัมผัสสัตว์ปีก 3-7 วัน ถ้ามีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบคล้ายปอดบวมต้องรีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติสัมผัสสัตว์ปีก
“การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกกลายพันธุ์ในประเทศเวียดนาม ไม่น่าห่วง เพราะประเทศไทยมีมาตรการการเฝ้าระวังที่ดี แต่ไม่อยากให้ประชาชนประมาท ต้องดำเนินการตามข้อแนะนำเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดอย่างเข้มข้น ส่วนประชาชนที่จะเดินทางไปยังประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะใน 6 จังหวัดที่มีการระบาดของโรคกรมไม่จำเป็นต้องจำกัดการเดินทางด้วยการไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ แต่มีข้อแนะนำว่า ควรรับประทานสัตว์ปีกและไข่ที่มีการปรุงสุกแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับสัตว์ปีกตาย” นพ.รุ่งเรือง กล่าว