นักโภชนาการแนะรัฐบาลจับมือกลุ่มสมาชิกอาเซียน ตั้งมาตรฐานอาหารปลอดภัยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ย้ำ เตรียมรับมือหลังไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
วันนี้ (10 ก.ย.) ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในการประชุมวิชาการโภชนการแห่งชาติ ครั้งที่ 6 รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “บทบาทของไทยและประชาคมอาเซียนในการเชื่อมโยงอาหารสู่ความมั่นคงทางโภชนาการ” ว่า อาหารปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อมเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะต้องยอมรับว่า ปัจจุบันความปลอดภัยด้านอาหารของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน อย่างองค์การอนามัยโลกเคยสำรวจ พบว่า น้ำดื่ม น้ำประปาของแต่ละประเทศสะอาดได้มาตรฐานแตกต่าง อย่างสิงคโปร์ บรูไน ได้มาตรฐาน 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กัมพูชา ร้อยละ 65 ส่วนไทย ร้อยละ 94 ดังนั้น อาจต้องมีการทำมาตรฐานอาหารปลอดภัยในระดับอาเซียน โดยรัฐบาลไทยอาจเสนอกับประเทศสมาชิกถึงการตั้งกลุ่มเฉพาะอาเซียนในการออกกฎเกณฑ์อาหารปลอดภัยขึ้น มีการตั้งคณะกรรมการในการตรวจสอบ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นขั้นตอนในการกำหนดมาตรฐานของกลุ่มประเทศแถบนี้ก่อนจะขยายไปสู่ระดับสากล
รศ.วิสิฐ กล่าวอีกว่า สำหรับวิกฤตด้านอาหารที่จะเกิดขึ้นหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ การขาดแคลนวัตถุดิบในการลงทุนด้านโภชนาการ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะไทยและสิงคโปร์ จะทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต จนเกิดวิกฤตด้านอาหารขึ้น ซึ่งไทยจะต้องเร่งผลิตให้คนรุ่นใหม่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ อาจต้องมีการเพิ่มช่วงอายุในการเกษียณงาน เพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น และดึงคนในประชาคมอาเซียนเข้ามาเป็นแรงงานด้วย แต่จะต้องมีการลงทุนเพื่อให้เป็นแรงงานที่มีประสิทธิภาพ โดยอาจต้องกำหนดมาตรฐานในระดับอาเซียน ก่อนพัฒนาให้เป็นระดับสากล
วันนี้ (10 ก.ย.) ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในการประชุมวิชาการโภชนการแห่งชาติ ครั้งที่ 6 รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “บทบาทของไทยและประชาคมอาเซียนในการเชื่อมโยงอาหารสู่ความมั่นคงทางโภชนาการ” ว่า อาหารปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อมเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะต้องยอมรับว่า ปัจจุบันความปลอดภัยด้านอาหารของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน อย่างองค์การอนามัยโลกเคยสำรวจ พบว่า น้ำดื่ม น้ำประปาของแต่ละประเทศสะอาดได้มาตรฐานแตกต่าง อย่างสิงคโปร์ บรูไน ได้มาตรฐาน 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กัมพูชา ร้อยละ 65 ส่วนไทย ร้อยละ 94 ดังนั้น อาจต้องมีการทำมาตรฐานอาหารปลอดภัยในระดับอาเซียน โดยรัฐบาลไทยอาจเสนอกับประเทศสมาชิกถึงการตั้งกลุ่มเฉพาะอาเซียนในการออกกฎเกณฑ์อาหารปลอดภัยขึ้น มีการตั้งคณะกรรมการในการตรวจสอบ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นขั้นตอนในการกำหนดมาตรฐานของกลุ่มประเทศแถบนี้ก่อนจะขยายไปสู่ระดับสากล
รศ.วิสิฐ กล่าวอีกว่า สำหรับวิกฤตด้านอาหารที่จะเกิดขึ้นหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ การขาดแคลนวัตถุดิบในการลงทุนด้านโภชนาการ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะไทยและสิงคโปร์ จะทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต จนเกิดวิกฤตด้านอาหารขึ้น ซึ่งไทยจะต้องเร่งผลิตให้คนรุ่นใหม่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ อาจต้องมีการเพิ่มช่วงอายุในการเกษียณงาน เพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น และดึงคนในประชาคมอาเซียนเข้ามาเป็นแรงงานด้วย แต่จะต้องมีการลงทุนเพื่อให้เป็นแรงงานที่มีประสิทธิภาพ โดยอาจต้องกำหนดมาตรฐานในระดับอาเซียน ก่อนพัฒนาให้เป็นระดับสากล