เปิดสรรพคุณสมุนไพร “"ตำลึงทอง” ช่วยเสริมความแข็งแรง และซ่อมแซมกระดูก ข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร แนะวิจัยต่อยอดทำยาสมุนไพรส่งขายต่างประเทศ ช่วยลดการนำเข้ายารักษากระดูกพรุนได้
ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้แทนคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวถึงสมุนไพร “ตำลึงทอง” ว่า เป็นสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันดี โดยมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า เพชรสังฆาต, ร้อยข้อ, ต่อกระดูก เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการบำรุงร่างกาย บำรุงกระดูก รักษากระดูกหัก ข้อเสื่อม ปวดข้อ ปวดเข่า ริดสีดวงทวาร และมะเร็งกันมานาน จากการเก็บข้อมูลกับหมอยาพื้นบ้านและประชาชนทั่วไป พบว่า ในอดีตนั้นเคยมีน้ำเพชรสังฆาตขายในลักษณะเดียวกับน้ำเก๊กฮวย เพื่อใช้ในการบำรุงสุขภาพ แก้หวัด แก้ไอ และแก้ร้อนใน
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลายแห่งใช้เพชรสังฆาตสำหรับบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร ทดแทนยาแผนปัจจุบัน ซึ่ง รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรก็ใช้เพชรสังฆาตแทนยาแผนปัจจุบันสำหรับริดสีดวงทวารมานานถึง 11 ปี เนื่องจากมีราคาถูกกว่า 3-5 เท่า นอกจากนี้ ยังโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ใช้กันมาอย่างยาวนานแล้ว อาทิ รพ.บางกระทุ่ม รพ.อู่ทอง และ รพ.พล
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับตลาดโลกนั้น เพชรสังฆาตได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับเพชรสังฆาตมากมาย อาทิ การต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และเพิ่มมวลกระดูก โดยเฉพาะการเพิ่มมวลกระดูกนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะในปัจจุบันพบว่าหญิงไทยอายุ 40 ปี มากกว่าร้อยละ 20 มีกระดูกพรุนสันหลังส่วนเอว ขณะที่ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 จะเตี้ยลง เพราะกระดูกสันหลังทรุดตัวอันเนื่องมาจากกระดูกพรุน
“จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในอีก 40 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นเป็น 6.3 ล้านคน ในส่วนของการรักษาพยาบาล พบว่า ในสถานพยาบาลของรัฐ มีการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนสูงมากเป็นอันดับ 2 และส่วนมากเป็นยานำเข้า หากเรามีการศึกษาวิจัยต่อยอดความรู้จากภูมิปัญญาไทย โดยการใช้เพชรสังฆาตเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก จะช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศต่อไป” ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวด้วยว่า ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีความรู้ในการใช้เพชรสังฆาตสมานกระดูก เพิ่มมวลกระดูก ก็มีการศึกษาวิจัยต่อยอด จนมีผลิตภัณฑ์ขายทั่วโลก ปัจจุบันในประเทศไทยก็เริ่มมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรตัวนี้ จากการวิจัยเบื้องต้นของ รศ.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า เพชรสังฆาตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมวลกระดูกได้
สำหรับผู้สนใจที่อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถพบกับเรื่องราวของเพชรสังฆาต ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม รวมทั้งชิมน้ำเพชรสังฆาตที่ผ่านกรรมวิธีพิเศษ ไม่ทำให้คันหรือระคายคอ ได้ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 5-9 กันยายนนี้ ที่อาคาร 7-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี หรือ โทร.037-211-289
ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้แทนคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวถึงสมุนไพร “ตำลึงทอง” ว่า เป็นสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันดี โดยมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า เพชรสังฆาต, ร้อยข้อ, ต่อกระดูก เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการบำรุงร่างกาย บำรุงกระดูก รักษากระดูกหัก ข้อเสื่อม ปวดข้อ ปวดเข่า ริดสีดวงทวาร และมะเร็งกันมานาน จากการเก็บข้อมูลกับหมอยาพื้นบ้านและประชาชนทั่วไป พบว่า ในอดีตนั้นเคยมีน้ำเพชรสังฆาตขายในลักษณะเดียวกับน้ำเก๊กฮวย เพื่อใช้ในการบำรุงสุขภาพ แก้หวัด แก้ไอ และแก้ร้อนใน
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลายแห่งใช้เพชรสังฆาตสำหรับบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร ทดแทนยาแผนปัจจุบัน ซึ่ง รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรก็ใช้เพชรสังฆาตแทนยาแผนปัจจุบันสำหรับริดสีดวงทวารมานานถึง 11 ปี เนื่องจากมีราคาถูกกว่า 3-5 เท่า นอกจากนี้ ยังโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ใช้กันมาอย่างยาวนานแล้ว อาทิ รพ.บางกระทุ่ม รพ.อู่ทอง และ รพ.พล
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับตลาดโลกนั้น เพชรสังฆาตได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับเพชรสังฆาตมากมาย อาทิ การต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และเพิ่มมวลกระดูก โดยเฉพาะการเพิ่มมวลกระดูกนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะในปัจจุบันพบว่าหญิงไทยอายุ 40 ปี มากกว่าร้อยละ 20 มีกระดูกพรุนสันหลังส่วนเอว ขณะที่ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 จะเตี้ยลง เพราะกระดูกสันหลังทรุดตัวอันเนื่องมาจากกระดูกพรุน
“จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในอีก 40 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นเป็น 6.3 ล้านคน ในส่วนของการรักษาพยาบาล พบว่า ในสถานพยาบาลของรัฐ มีการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนสูงมากเป็นอันดับ 2 และส่วนมากเป็นยานำเข้า หากเรามีการศึกษาวิจัยต่อยอดความรู้จากภูมิปัญญาไทย โดยการใช้เพชรสังฆาตเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก จะช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศต่อไป” ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวด้วยว่า ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีความรู้ในการใช้เพชรสังฆาตสมานกระดูก เพิ่มมวลกระดูก ก็มีการศึกษาวิจัยต่อยอด จนมีผลิตภัณฑ์ขายทั่วโลก ปัจจุบันในประเทศไทยก็เริ่มมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรตัวนี้ จากการวิจัยเบื้องต้นของ รศ.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า เพชรสังฆาตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมวลกระดูกได้
สำหรับผู้สนใจที่อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถพบกับเรื่องราวของเพชรสังฆาต ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม รวมทั้งชิมน้ำเพชรสังฆาตที่ผ่านกรรมวิธีพิเศษ ไม่ทำให้คันหรือระคายคอ ได้ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 5-9 กันยายนนี้ ที่อาคาร 7-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี หรือ โทร.037-211-289