สธ.จัดยุทธศาสตร์ 5 ปี พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ พ.ศ.2555-2559 บริการ 4 สาขาหลัก ทั้งรักษาพยาบาล สปา แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เดินเครื่องพัฒนาโรงพยาบาล คลินิกทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ บริการครบสูตร ทั้งล่าม บริการต่อวีซ่า เผย ขณะนี้มีแล้ว 21 แห่ง จะอบรมเพิ่มในเดือนนี้อีก ขณะเดียวกัน ได้ขยายเวลาพำนักรักษาตัวให้ผู้ป่วยจาก 5 ประเทศกลุ่มอาหรับ พักในไทยได้ 90 วัน และต่ออายุได้ไม่เกิน 1 ปี
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชียและนานาชาติ หรือ เมดิคัล ฮับ (Medical Hub) เพื่อนำรายได้เข้าประเทศ แนวคิดหลักของนโยบายนี้ คือ เน้นในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพแบบนานาชาติ (Medical Hub and Wellness) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการตลาด ดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาที่ได้เริ่มช่วงแรกมาตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ที่มี 3 บริการหลัก คือ 1.รักษาพยาบาล 2.การส่งเสริมสุขภาพ และ 3.ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย สร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจสุขภาพ และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด ในปี 2554 มีรายได้ประมาณ 97,874 ล้านบาท มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และรับบริการด้านสุขภาพเป็นจำนวนมากถึง 2.2 ล้านคน
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาช่วงที่ 2 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของนานาชาติในปี 2555-2559 โดยให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดรูปแบบแนวทางการดำเนินงานของศูนย์บริการสุขภาพทั่วประเทศ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอีกด้านหนึ่งด้วย โดยมีเป้าหมายหลัก 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การรักษาพยาบาล เช่น ทันตกรรม การรักษาโรคเฉพาะทาง การพำนักระยะยาว 2.การส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา นวดเพื่อสุขภาพ 3.ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐาน จีเอซีพี (GACP) ขององค์การอนามัยโลก และ 4.การเพิ่มผลผลิตด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมให้จัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์ทางเลือกทุกภูมิภาค ให้โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนเปิดคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล ทั้งหมดนี้จะไม่ให้เกิดผลกระทบกับการบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายเวลาพำนักของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย จากเดิม 30 วัน เป็น 90 วัน โดยไม่ต้องทำวีซ่า และสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้หลายครั้ง รวมกันแล้วไม่เกิน 1 ปี ในขั้นต้นอนุโลมให้ 5 ประเทศในกลุ่มอาหรับ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ รัฐกาตาร์ รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน และรัฐบาห์เรน ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน จะพัฒนาโรงพยาบาลและคลินิกของไทยให้ได้มาตรฐาน ระดับนานาชาติ หรือมาตรฐาน เจซีไอเอ (JCIA: Joint Commission International on Accrediation) ซึ่งจะเป็นศูนย์บริการเฉพาะชาวต่างชาติที่เดียวเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop service Center) มีล่าม มีหอผู้ป่วย บริการต่ออายุวีซ่า หรือบริการตามหลักศาสนาทั้งอาหารและบุคลากร
ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและคลินิกของไทย ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 21 แห่ง ซึ่งจะมีการจัดอบรมเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก รวมทั้งตรวจรับรองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทุกประเภทให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อก้าวสู่การรับรองคุณภาพในระดับสากล เตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนด้านสุขภาพของประชาคมอาเซียนในอนาคต ซึ่งจะทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเวทีโลกด้านบริการสุขภาพอย่างแท้จริง
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า แผนพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของนานาชาติในปี 2555-2559 ใช้งบประมาณในการดำเนินงานประมาณ 3,131 ล้านบาท และคาดว่า จะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศรวม 5 ปี ประมาณ 814,266 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี โดยด้านการรักษาพยาบาล คาดว่า จะสร้างรายได้ 672,236 ล้านบาท ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 85,669 ล้านบาท ด้านแพทย์แผนไทยฯ 3,868 ล้านบาท ด้านสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 52,493 ล้านบาท
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชียและนานาชาติ หรือ เมดิคัล ฮับ (Medical Hub) เพื่อนำรายได้เข้าประเทศ แนวคิดหลักของนโยบายนี้ คือ เน้นในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพแบบนานาชาติ (Medical Hub and Wellness) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการตลาด ดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาที่ได้เริ่มช่วงแรกมาตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ที่มี 3 บริการหลัก คือ 1.รักษาพยาบาล 2.การส่งเสริมสุขภาพ และ 3.ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย สร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจสุขภาพ และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด ในปี 2554 มีรายได้ประมาณ 97,874 ล้านบาท มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และรับบริการด้านสุขภาพเป็นจำนวนมากถึง 2.2 ล้านคน
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาช่วงที่ 2 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของนานาชาติในปี 2555-2559 โดยให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดรูปแบบแนวทางการดำเนินงานของศูนย์บริการสุขภาพทั่วประเทศ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอีกด้านหนึ่งด้วย โดยมีเป้าหมายหลัก 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การรักษาพยาบาล เช่น ทันตกรรม การรักษาโรคเฉพาะทาง การพำนักระยะยาว 2.การส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา นวดเพื่อสุขภาพ 3.ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐาน จีเอซีพี (GACP) ขององค์การอนามัยโลก และ 4.การเพิ่มผลผลิตด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมให้จัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์ทางเลือกทุกภูมิภาค ให้โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนเปิดคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล ทั้งหมดนี้จะไม่ให้เกิดผลกระทบกับการบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายเวลาพำนักของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย จากเดิม 30 วัน เป็น 90 วัน โดยไม่ต้องทำวีซ่า และสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้หลายครั้ง รวมกันแล้วไม่เกิน 1 ปี ในขั้นต้นอนุโลมให้ 5 ประเทศในกลุ่มอาหรับ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ รัฐกาตาร์ รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน และรัฐบาห์เรน ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน จะพัฒนาโรงพยาบาลและคลินิกของไทยให้ได้มาตรฐาน ระดับนานาชาติ หรือมาตรฐาน เจซีไอเอ (JCIA: Joint Commission International on Accrediation) ซึ่งจะเป็นศูนย์บริการเฉพาะชาวต่างชาติที่เดียวเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop service Center) มีล่าม มีหอผู้ป่วย บริการต่ออายุวีซ่า หรือบริการตามหลักศาสนาทั้งอาหารและบุคลากร
ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและคลินิกของไทย ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 21 แห่ง ซึ่งจะมีการจัดอบรมเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก รวมทั้งตรวจรับรองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทุกประเภทให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อก้าวสู่การรับรองคุณภาพในระดับสากล เตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนด้านสุขภาพของประชาคมอาเซียนในอนาคต ซึ่งจะทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเวทีโลกด้านบริการสุขภาพอย่างแท้จริง
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า แผนพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของนานาชาติในปี 2555-2559 ใช้งบประมาณในการดำเนินงานประมาณ 3,131 ล้านบาท และคาดว่า จะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศรวม 5 ปี ประมาณ 814,266 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี โดยด้านการรักษาพยาบาล คาดว่า จะสร้างรายได้ 672,236 ล้านบาท ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 85,669 ล้านบาท ด้านแพทย์แผนไทยฯ 3,868 ล้านบาท ด้านสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 52,493 ล้านบาท