โดย...เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะหวังรอเพียงงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรผ่านเงินรายหัวนักเรียนคงไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย ทำให้สถานศึกษาต้องหาวิธีการเพื่อหาเงินมาพัฒนาโรงเรียน ซึ่ง “วิธีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา” ถือเป็นช่องทางที่สถานศึกษาเล็งเห็นว่าเป็นทางออกที่ดีหนทางหนึ่ง
..โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหนึ่งโรงเรียนที่ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนด้วยการนำวิธีการระดมทรัพยากรมาใช้ และได้รับการยกย่องว่า เป็นโรงเรียนต้นแบบที่มีการระดมทรัพยากรโดยความสมัครใจของคนในชุมชนและผู้ปกครอง จนนำไปสู่ประโยชน์ของการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังนำเงินที่ได้พัฒนาระบบการใช้เทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนในระดับชั้นแนวหน้าของประเทศ
นายจักรกฤษ แย้มสรวล ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยถึงเส้นทางต้นแบบโรงเรียนระดมทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพว่า โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นั้น มีมากกว่า 30,000 โรง เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเรามีจุดศูนย์กลางอยู่หนึ่งเดียว แต่มีลูกๆ อยู่มาก การดูแลจึงไม่ทั่วถึง เพราะฉะนั้น ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาก็ได้มาคิดหาหนทางว่าจะใช้ทางใดมาช่วยเหลือตนเอง เพื่อจะดูแลนักเรียนของเราให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น จึงคิดถึงวิธีการระดมทรัพยากรขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือตัวเอง โดยเริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี 2549 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากว่ารัฐบาลได้มีโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ที่อุดหนุนใน 5 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ตำราเรียน อุปกรณ์การเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพราะฉะนั้น โรงเรียนจะระดมทรัพยากรโดยเน้นเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่รัฐจัดสรรให้จากโครงการเรียนฟรีฯ เช่น ค่าไฟ วันละ 1 บาท ค่าจ้างครูต่างชาติ วันละ 2 บาท ฯลฯ แต่ทั้งหมดโรงเรียนจะคิดคำนวณเป็นเทอมๆ หนึ่ง มี 200 วัน ก็จะเฉลี่ยขอรับการระดมเงินประมาณ 500 บาทต่อเทอม ซึ่งตรงนี้ถ้าผู้ปกครองคนใดที่สมัครใจและมีความพร้อมจะบริจาคมากกว่านั้นก็ได้ หรือน้อยกว่าก็ได้ หรือหากผู้ปกครองที่ไม่พร้อมจะร่วมบริจาคโรงเรียนก็ไม่บังคับ และทุกคนที่บริจาคไม่ว่าจะมูลค่าเท่าใดโรงเรียนจะออกใบเสร็จให้ซึ่งใครที่มีมูลค่าเงินสูงตามที่มีเกณฑ์กำหนดก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า และไม่เพียงแต่ผู้ปกครองเท่านั้นแม้แต่ ครูของโรงเรียน รวมทั้งตนในฐานะผู้บริหารก็มีส่วนร่วมระดมทรัพยากรด้วยเช่นกัน
“ที่สำคัญ การระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองเราต้องทำอย่างโปร่งใส ทำให้เขาเห็นว่าเงินทุกบาทที่เขาให้โรงเรียนมานั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เหล่านี้จะเป็นแรงจูงใจให้เขาพร้อมจะสนับสนุนโรงเรียน ซึ่งผมจะใช้โอกาสที่มีการประชุมผู้ปกครองจะเชิญให้ทุกคนเข้าไปนั่งในห้องเรียนไอที ส่วนนักเรียนก็จะมารวมตัวที่ห้องประชุมแล้วใช้วิธีการส่งสัญญาณเชื่อมต่อไปยังแต่ละห้องเรียนที่ผู้ปกครองนั่งอยู่ วิธีนี้ก็จะได้รู้ว่าโรงเรียนนำเงินที่ได้รับมาพัฒนาอะไรบ้าง ซึ่งจากเดิมที่ได้นำเงินมาพัฒนาให้มีห้องเรียนไอที ที่มีจอโปรเจกเตอร์ กระดานอิเล็กทรอนิกส์ 3 ห้องตอนนี้ขยายเพิ่มจนมีมากถึง 99 ห้อง และห้องเรียนทั้งหมด 145 ห้องของโรงเรียนก็ติดแอร์ทุกห้องเช่นกัน ขณะเดียวกัน ก็มีการทำห้องเรียนภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และจ้างครูต่างชาติเจ้าของภาษามาเป็นผู้สอนด้วย” นายจักรกฤษ กล่าว
นายจักรกฤษ เล่าให้ฟังด้วยว่า กว่าจะดำเนินการมาได้นานขนาดนี้นั้นก็มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่เรื่องของการระดมทรัพยากร เพราะเมื่อจะทำเรื่องดังกล่าวได้เสนอแผนการดำเนินงานและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียน แต่ปัญหาที่ว่าเกิดภายหลังจากการระดมทรัพยากรแล้ว นั่นคือ ตัวครูผู้สอน ซึ่งช่วงแรกไม่ค่อยเข้าใจและไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการเรียนการสอน ด้วยครูมองว่าที่ผ่านมาการสอนของครูในแบบเดิมก็สร้างนักเรียนจนจบออกไปเป็นแพทย์ เป็นทหาร มากมาย ซึ่งก็ต้องมาสร้างความเข้าใจและปรับทัศนคติกัน ก็ใช้เวลาประมาณ 2 ปีความไม่เข้าใจก็กลายเป็นเข้าใจและยอมรับมากขึ้น
“ทุกวันนี้มีสถานศึกษาติดต่อขอดูแนวทางการทำงานอยู่มาก เฉลี่ยวันหนึ่งประมาณ 2 โรง จนตอนนี้เชื่อว่า มีการนำผลจากการดูงานไปขยายผลแล้วทั่วประเทศกว่า 700 โรง ซึ่งผมมักจะบอกผู้บริหารทุกท่านที่มาอยู่เสมอว่า มาดูเป็นแบบอย่างได้ แต่อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนเพราะเรามีโรงเรียนหลายขนาดทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่พิเศษ เพราะฉะนั้น เมื่อดูแล้วจะเอาไปเป็นแบบอย่างทำตามทั้งหมดไม่ได้ แต่ต้องดูแล้วเอาไปปรับคิดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารแต่ละท่านเองหากไม่คิดก็ไม่เกิดประโยชน์” นายจักรกฤษ กล่าวทิ้งท้าย
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะหวังรอเพียงงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรผ่านเงินรายหัวนักเรียนคงไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย ทำให้สถานศึกษาต้องหาวิธีการเพื่อหาเงินมาพัฒนาโรงเรียน ซึ่ง “วิธีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา” ถือเป็นช่องทางที่สถานศึกษาเล็งเห็นว่าเป็นทางออกที่ดีหนทางหนึ่ง
..โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหนึ่งโรงเรียนที่ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนด้วยการนำวิธีการระดมทรัพยากรมาใช้ และได้รับการยกย่องว่า เป็นโรงเรียนต้นแบบที่มีการระดมทรัพยากรโดยความสมัครใจของคนในชุมชนและผู้ปกครอง จนนำไปสู่ประโยชน์ของการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังนำเงินที่ได้พัฒนาระบบการใช้เทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนในระดับชั้นแนวหน้าของประเทศ
นายจักรกฤษ แย้มสรวล ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยถึงเส้นทางต้นแบบโรงเรียนระดมทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพว่า โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นั้น มีมากกว่า 30,000 โรง เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเรามีจุดศูนย์กลางอยู่หนึ่งเดียว แต่มีลูกๆ อยู่มาก การดูแลจึงไม่ทั่วถึง เพราะฉะนั้น ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาก็ได้มาคิดหาหนทางว่าจะใช้ทางใดมาช่วยเหลือตนเอง เพื่อจะดูแลนักเรียนของเราให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น จึงคิดถึงวิธีการระดมทรัพยากรขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือตัวเอง โดยเริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี 2549 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากว่ารัฐบาลได้มีโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ที่อุดหนุนใน 5 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ตำราเรียน อุปกรณ์การเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพราะฉะนั้น โรงเรียนจะระดมทรัพยากรโดยเน้นเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่รัฐจัดสรรให้จากโครงการเรียนฟรีฯ เช่น ค่าไฟ วันละ 1 บาท ค่าจ้างครูต่างชาติ วันละ 2 บาท ฯลฯ แต่ทั้งหมดโรงเรียนจะคิดคำนวณเป็นเทอมๆ หนึ่ง มี 200 วัน ก็จะเฉลี่ยขอรับการระดมเงินประมาณ 500 บาทต่อเทอม ซึ่งตรงนี้ถ้าผู้ปกครองคนใดที่สมัครใจและมีความพร้อมจะบริจาคมากกว่านั้นก็ได้ หรือน้อยกว่าก็ได้ หรือหากผู้ปกครองที่ไม่พร้อมจะร่วมบริจาคโรงเรียนก็ไม่บังคับ และทุกคนที่บริจาคไม่ว่าจะมูลค่าเท่าใดโรงเรียนจะออกใบเสร็จให้ซึ่งใครที่มีมูลค่าเงินสูงตามที่มีเกณฑ์กำหนดก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า และไม่เพียงแต่ผู้ปกครองเท่านั้นแม้แต่ ครูของโรงเรียน รวมทั้งตนในฐานะผู้บริหารก็มีส่วนร่วมระดมทรัพยากรด้วยเช่นกัน
“ที่สำคัญ การระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองเราต้องทำอย่างโปร่งใส ทำให้เขาเห็นว่าเงินทุกบาทที่เขาให้โรงเรียนมานั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เหล่านี้จะเป็นแรงจูงใจให้เขาพร้อมจะสนับสนุนโรงเรียน ซึ่งผมจะใช้โอกาสที่มีการประชุมผู้ปกครองจะเชิญให้ทุกคนเข้าไปนั่งในห้องเรียนไอที ส่วนนักเรียนก็จะมารวมตัวที่ห้องประชุมแล้วใช้วิธีการส่งสัญญาณเชื่อมต่อไปยังแต่ละห้องเรียนที่ผู้ปกครองนั่งอยู่ วิธีนี้ก็จะได้รู้ว่าโรงเรียนนำเงินที่ได้รับมาพัฒนาอะไรบ้าง ซึ่งจากเดิมที่ได้นำเงินมาพัฒนาให้มีห้องเรียนไอที ที่มีจอโปรเจกเตอร์ กระดานอิเล็กทรอนิกส์ 3 ห้องตอนนี้ขยายเพิ่มจนมีมากถึง 99 ห้อง และห้องเรียนทั้งหมด 145 ห้องของโรงเรียนก็ติดแอร์ทุกห้องเช่นกัน ขณะเดียวกัน ก็มีการทำห้องเรียนภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และจ้างครูต่างชาติเจ้าของภาษามาเป็นผู้สอนด้วย” นายจักรกฤษ กล่าว
นายจักรกฤษ เล่าให้ฟังด้วยว่า กว่าจะดำเนินการมาได้นานขนาดนี้นั้นก็มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่เรื่องของการระดมทรัพยากร เพราะเมื่อจะทำเรื่องดังกล่าวได้เสนอแผนการดำเนินงานและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียน แต่ปัญหาที่ว่าเกิดภายหลังจากการระดมทรัพยากรแล้ว นั่นคือ ตัวครูผู้สอน ซึ่งช่วงแรกไม่ค่อยเข้าใจและไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการเรียนการสอน ด้วยครูมองว่าที่ผ่านมาการสอนของครูในแบบเดิมก็สร้างนักเรียนจนจบออกไปเป็นแพทย์ เป็นทหาร มากมาย ซึ่งก็ต้องมาสร้างความเข้าใจและปรับทัศนคติกัน ก็ใช้เวลาประมาณ 2 ปีความไม่เข้าใจก็กลายเป็นเข้าใจและยอมรับมากขึ้น
“ทุกวันนี้มีสถานศึกษาติดต่อขอดูแนวทางการทำงานอยู่มาก เฉลี่ยวันหนึ่งประมาณ 2 โรง จนตอนนี้เชื่อว่า มีการนำผลจากการดูงานไปขยายผลแล้วทั่วประเทศกว่า 700 โรง ซึ่งผมมักจะบอกผู้บริหารทุกท่านที่มาอยู่เสมอว่า มาดูเป็นแบบอย่างได้ แต่อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนเพราะเรามีโรงเรียนหลายขนาดทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่พิเศษ เพราะฉะนั้น เมื่อดูแล้วจะเอาไปเป็นแบบอย่างทำตามทั้งหมดไม่ได้ แต่ต้องดูแล้วเอาไปปรับคิดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารแต่ละท่านเองหากไม่คิดก็ไม่เกิดประโยชน์” นายจักรกฤษ กล่าวทิ้งท้าย