ผลตรวจสอบพบแหล่งผลิตอาหารทั่วไทยไม่ผ่านมาตรฐาน GMP 7% ส่วนใหญ่เป็นโรงผลิตน้ำดื่ม-น้ำแข็ง ส่วนแหล่งกระจายอาหารไม่ผ่านเกณฑ์สุขาภิบาล 15% ขณะที่อาหารบริโภคตกเกณฑ์ 4% เหตุปัญหาสุขอนามัยพ่อค้าแม้ค้า "วิทยา" สั่ง สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย-อย.เฝ้าระวัง ตั้งเป้ายกระดับมาตรฐานอาหารไทยสู่ครัวโลก
วันนี้ (2 ก.ย.) ที่ลานหน้าศาลากลางหลังเก่า จังหวัดตรัง นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเทศกาลกินหมูย่างเมืองตรัง ครั้งที่ 23 และให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นครัวอาหารของโลก โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องคุณภาพมาตรฐานของอาหารไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล มีความปลอดภัย ซึ่งคุณภาพมาตรฐานของอาหาร ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งแหล่งจำหน่ายและแหล่งผลิตสินค้านั้นๆ คือหลักประกันอย่างหนึ่งของการก้าวสู่สากลหรือการยอมรับในระดับโลก ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาล
นายวิทยา กล่าวว่า ในการดูแลความปลอดภัยด้านอาหาร สธ.ได้มอบหมายให้ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหาร ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เน้นดำเนินการ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มผลิตแปรรูปอาหาร กลุ่มแหล่งกระจายอาหาร ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า/ซูเปอร์มาเก็ต ร้านอาหาร แผงลอย โรงครัวในโรงพยาบาล โรงอาหารในโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก และกลุ่มของอาหารที่จะต้องปลอดการปนเปื้อนสารอันตรายและเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผลการตรวจสอบที่ผ่านมาพบว่า แหล่งผลิตร้อยละ 93 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจีเอ็มพี ( GMP:Good Manufacturing Practice) สถานที่ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็ง ส่วนแหล่งกระจายอาหารผลการตรวจยังไม่ผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลและอาหารสะอาดร้อยละ 15 ซึ่งได้กำชับเร่งรัดให้หน่วยงานให้ความรู้ และสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัย
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ส่วนกลุ่มของอาหารทั้งดิบและสุก ผลการสุ่มตรวจสอบตัวอย่างอาหารทั่วประเทศ 435,740 ตัวอย่าง ในปี 2554 พบมีการปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ 15,869 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 4 อาหารที่ตกมาตรฐานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำแข็ง น้ำดื่ม และอาหารปรุงจำหน่าย โดยพบจุลินทรีย์ที่มือ ที่หยิบจับอาหาร เนื่องจากพ่อค้า-แม่ค้าปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ เช่น ไม่ล้างมือ ไม่ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหาร ได้กำชับให้ทุกจังหวัดเร่งดำเนินการจัดอบรม ให้ความรู้ในเรื่องความสะอาด อย่างเข้มงวดเพื่อให้อาหารปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ สธ.ยังมีระบบการเฝ้าระวังผลกระทบ กรณีเกิดภาวะฉุกเฉินด้านความปลอดภัยอาหารร่วมกับองค์กรนานาชาติด้วย (International Food Safety Authority Network : INFOSAN) ทำให้สามารถวางระบบป้องกันอันตรายได้อย่างทันท่วงที เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น กรณีของวัวติดเชื้อโรควัวบ้า เป็นต้น
วันนี้ (2 ก.ย.) ที่ลานหน้าศาลากลางหลังเก่า จังหวัดตรัง นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเทศกาลกินหมูย่างเมืองตรัง ครั้งที่ 23 และให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นครัวอาหารของโลก โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องคุณภาพมาตรฐานของอาหารไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล มีความปลอดภัย ซึ่งคุณภาพมาตรฐานของอาหาร ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งแหล่งจำหน่ายและแหล่งผลิตสินค้านั้นๆ คือหลักประกันอย่างหนึ่งของการก้าวสู่สากลหรือการยอมรับในระดับโลก ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาล
นายวิทยา กล่าวว่า ในการดูแลความปลอดภัยด้านอาหาร สธ.ได้มอบหมายให้ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหาร ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เน้นดำเนินการ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มผลิตแปรรูปอาหาร กลุ่มแหล่งกระจายอาหาร ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า/ซูเปอร์มาเก็ต ร้านอาหาร แผงลอย โรงครัวในโรงพยาบาล โรงอาหารในโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก และกลุ่มของอาหารที่จะต้องปลอดการปนเปื้อนสารอันตรายและเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผลการตรวจสอบที่ผ่านมาพบว่า แหล่งผลิตร้อยละ 93 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจีเอ็มพี ( GMP:Good Manufacturing Practice) สถานที่ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็ง ส่วนแหล่งกระจายอาหารผลการตรวจยังไม่ผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลและอาหารสะอาดร้อยละ 15 ซึ่งได้กำชับเร่งรัดให้หน่วยงานให้ความรู้ และสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัย
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ส่วนกลุ่มของอาหารทั้งดิบและสุก ผลการสุ่มตรวจสอบตัวอย่างอาหารทั่วประเทศ 435,740 ตัวอย่าง ในปี 2554 พบมีการปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ 15,869 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 4 อาหารที่ตกมาตรฐานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำแข็ง น้ำดื่ม และอาหารปรุงจำหน่าย โดยพบจุลินทรีย์ที่มือ ที่หยิบจับอาหาร เนื่องจากพ่อค้า-แม่ค้าปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ เช่น ไม่ล้างมือ ไม่ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหาร ได้กำชับให้ทุกจังหวัดเร่งดำเนินการจัดอบรม ให้ความรู้ในเรื่องความสะอาด อย่างเข้มงวดเพื่อให้อาหารปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ สธ.ยังมีระบบการเฝ้าระวังผลกระทบ กรณีเกิดภาวะฉุกเฉินด้านความปลอดภัยอาหารร่วมกับองค์กรนานาชาติด้วย (International Food Safety Authority Network : INFOSAN) ทำให้สามารถวางระบบป้องกันอันตรายได้อย่างทันท่วงที เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น กรณีของวัวติดเชื้อโรควัวบ้า เป็นต้น