คร.ชี้ ควายป่วยวัณโรค ค่ารักษาสูง และใช้เวลานาน แนะฆ่าทิ้งตัดวงจรการแพร่ระบาด เผยเชื้อติดคนได้หากไม่ป้องกัน
วันนี้ (29 ส.ค.) นพ.เฉวตสรร นามวาท ผอ.สำนักวัณโรค กล่าวถึงกรณีที่เกิดเหตุกระบือของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สุราษฎร์ธานี ป่วยเป็นโรคระบาด โดยพบว่า มีกระบือป่วยเป็นโรควัณโรคในสัตว์แล้วจำนวน 50 ตัว กระบือที่ติดเชื้อรุนแรงจำนวน 23 ตัว และกระบือที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวนนับ 100 ตัว ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน มี.ค.2555 แล้ว โดยเป็นการพบจากการตรวจสุขภาพประจำปีตามปกติ และเรื่องนี้ก็อยู่ในการดูแลของปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะสัตวแพทย์จากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ทีมสอบสวนโรคกรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ที่เข้าไปช่วยดูแลในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ทางกรมควบคุมโรคก็มีการเฝ้าระวังอย่างเต็มที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดต่อไป
สพ.ญ.อภิรมย์ พวงหัตถ์ หัวหน้ากลุ่มสำนักโรคติดต่อจากสัตว์และคน กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เชื้อวัณโรคในกระบือที่เป็นเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ ไมโคแบคทีเรียม โบวิส นั้น หากตรวจพบว่า สัตว์เป็นโรคควรแยกสัตว์ที่ป่วยออกจากฝูงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งการติดโรคจากสัตว์สู่สัตว์ มีหลายวิธีทั้งทางลมหายใจ การกินอาหาร การดื่มน้ำร่วมกัน หรือแม้แต่การที่ลูกดูดนมจากแม่ที่ติดเชื้อวัณโรคก็สามารถติดเชื้อได้ เช่นเดียวกับในคนที่สามารถติดเชื้อวัณโรคจากกระบือได้เช่นเดียวกันโดยในคน นั้นจะติดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากสัมผัสจากสารคัดหลั่งของกระบือ การคลุกคลีกับสัตว์ การบริโภคนมกระบือที่มีเชื้อวัณโรคและยังไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ การรับประทานกระบือแบบสุกๆ ดิบๆ เป็นต้น ทั้งนี้ หากพบว่าเป็นโรควัณโรคก็ควรทำการตรวจกระบือบริเวณใกล้เคียงด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างและเป็นการวงจรการแพร่ระบาด
สพ.ญ.อภิรมย์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากพบว่า กระบือเป็นโรควัณโรคก็ควรทำการตรวจสัตว์บริเวณใกล้เคียงด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดและเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดด้วย ทั้งนี้ ตนขอแนะนำว่า หากพบว่าสัตว์ป่วยเป็นวัณโรค ก็ควรทำการฆ่าทิ้ง เพราะในการรักษานั้นจะมีราคาสูงและใช้เวลาในการรักษานาน จึงไม่ควรเสี่ยงเพราะระหว่างการรักษาก็อาจเกิดการแพร่เชื้อได้ อย่างไรก็ตามควรทำการตรวจโรคกับโรงเลี้ยงสัตว์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย เพราะสัตว์ที่ป่วยเป็นวัณโรคส่วนใหญ่จะไม่มีการแสดงอาการ อย่างไรก็ตามโรควัณโรคปกติแล้วในสัตว์จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันอยู่แล้ว
วันนี้ (29 ส.ค.) นพ.เฉวตสรร นามวาท ผอ.สำนักวัณโรค กล่าวถึงกรณีที่เกิดเหตุกระบือของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สุราษฎร์ธานี ป่วยเป็นโรคระบาด โดยพบว่า มีกระบือป่วยเป็นโรควัณโรคในสัตว์แล้วจำนวน 50 ตัว กระบือที่ติดเชื้อรุนแรงจำนวน 23 ตัว และกระบือที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวนนับ 100 ตัว ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน มี.ค.2555 แล้ว โดยเป็นการพบจากการตรวจสุขภาพประจำปีตามปกติ และเรื่องนี้ก็อยู่ในการดูแลของปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะสัตวแพทย์จากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ทีมสอบสวนโรคกรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ที่เข้าไปช่วยดูแลในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ทางกรมควบคุมโรคก็มีการเฝ้าระวังอย่างเต็มที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดต่อไป
สพ.ญ.อภิรมย์ พวงหัตถ์ หัวหน้ากลุ่มสำนักโรคติดต่อจากสัตว์และคน กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เชื้อวัณโรคในกระบือที่เป็นเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ ไมโคแบคทีเรียม โบวิส นั้น หากตรวจพบว่า สัตว์เป็นโรคควรแยกสัตว์ที่ป่วยออกจากฝูงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งการติดโรคจากสัตว์สู่สัตว์ มีหลายวิธีทั้งทางลมหายใจ การกินอาหาร การดื่มน้ำร่วมกัน หรือแม้แต่การที่ลูกดูดนมจากแม่ที่ติดเชื้อวัณโรคก็สามารถติดเชื้อได้ เช่นเดียวกับในคนที่สามารถติดเชื้อวัณโรคจากกระบือได้เช่นเดียวกันโดยในคน นั้นจะติดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากสัมผัสจากสารคัดหลั่งของกระบือ การคลุกคลีกับสัตว์ การบริโภคนมกระบือที่มีเชื้อวัณโรคและยังไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ การรับประทานกระบือแบบสุกๆ ดิบๆ เป็นต้น ทั้งนี้ หากพบว่าเป็นโรควัณโรคก็ควรทำการตรวจกระบือบริเวณใกล้เคียงด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างและเป็นการวงจรการแพร่ระบาด
สพ.ญ.อภิรมย์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากพบว่า กระบือเป็นโรควัณโรคก็ควรทำการตรวจสัตว์บริเวณใกล้เคียงด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดและเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดด้วย ทั้งนี้ ตนขอแนะนำว่า หากพบว่าสัตว์ป่วยเป็นวัณโรค ก็ควรทำการฆ่าทิ้ง เพราะในการรักษานั้นจะมีราคาสูงและใช้เวลาในการรักษานาน จึงไม่ควรเสี่ยงเพราะระหว่างการรักษาก็อาจเกิดการแพร่เชื้อได้ อย่างไรก็ตามควรทำการตรวจโรคกับโรงเลี้ยงสัตว์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย เพราะสัตว์ที่ป่วยเป็นวัณโรคส่วนใหญ่จะไม่มีการแสดงอาการ อย่างไรก็ตามโรควัณโรคปกติแล้วในสัตว์จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันอยู่แล้ว