“สุชาติ” ถาม สทศ.เป็นไปได้หรือไม่ ลดจำนวนข้อสอบลง เพื่อลดปัญหาเด็กวิ่งสอบ บอกอยากเห็นการออกข้อสอบแบบตรงๆ ไม่ใช่ให้เด็กต้องมาคาดเดา
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมมอบนโยบายคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ว่า ได้มอบให้ สสวท.ตั้งเป้าหมายระดับชาติว่าจะยกระดับคะแนนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเด็กไทย ให้สูงขึ้นได้อย่างไร แม้ว่า ทาง สสวท.จะส่งเด็กไปแข่งโอลิมปิกวิชาการได้รางวัลมา ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยังเป็นเด็กกลุ่มเล็ก เพราะเป้าหมายที่แท้จริง คือ การยกระดับคะแนนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งประเทศให้สูงขึ้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่า ในการเรียนการสอนควรเปิดกว้าง ไม่ควรไปบังคับเด็กมากนัก เพราะเยาวชนรุ่นใหม่ต้องมีความใฝ่ฝันและจินตนาการ หากครูไปบังคับว่าเด็กต้องคิดเช่นเดียวกับครูจะทำให้ประเทศไม่พัฒนา นอกจากนี้ ระบบคอมพิวเตอร์และสื่อต่างๆ ต้องเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกด้วยเพื่อให้เด็กได้ใช้ไม่ควรปิดกั้นทุกอย่าง
“เรื่องการสอบในบ้านเรา ผมได้ถามสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ว่า ทำไมการทดสอบในเมืองไทยถึงมีการทดสอบต่างๆ เยอะมาก ทั้งการสอบแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) แบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) และแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จึงถามด้วยว่าเป็นได้หรือไม่ว่าจะมีเฉพาะการสอบ O-NET เพียงอย่างเดียว เพราะการทดสอบก็เหมือนๆ กัน ซึ่งหากลดการทดสอบลงได้ จะทำให้ลดปัญหาที่นักเรียนต้องวิ่งสอบ นอกจากนี้ก็อยากให้ออกข้อสอบตรงๆ โดยเฉพาะนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ต้องไปสอบเรียนต่อจะต้องคาดเดาข้อสอบกันมากมาย ซึ่งหากไปดูในต่างประเทศการออกข้อสอบก็ไม่ได้เป็นอย่างนี้” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมมอบนโยบายคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ว่า ได้มอบให้ สสวท.ตั้งเป้าหมายระดับชาติว่าจะยกระดับคะแนนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเด็กไทย ให้สูงขึ้นได้อย่างไร แม้ว่า ทาง สสวท.จะส่งเด็กไปแข่งโอลิมปิกวิชาการได้รางวัลมา ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยังเป็นเด็กกลุ่มเล็ก เพราะเป้าหมายที่แท้จริง คือ การยกระดับคะแนนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งประเทศให้สูงขึ้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่า ในการเรียนการสอนควรเปิดกว้าง ไม่ควรไปบังคับเด็กมากนัก เพราะเยาวชนรุ่นใหม่ต้องมีความใฝ่ฝันและจินตนาการ หากครูไปบังคับว่าเด็กต้องคิดเช่นเดียวกับครูจะทำให้ประเทศไม่พัฒนา นอกจากนี้ ระบบคอมพิวเตอร์และสื่อต่างๆ ต้องเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกด้วยเพื่อให้เด็กได้ใช้ไม่ควรปิดกั้นทุกอย่าง
“เรื่องการสอบในบ้านเรา ผมได้ถามสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ว่า ทำไมการทดสอบในเมืองไทยถึงมีการทดสอบต่างๆ เยอะมาก ทั้งการสอบแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) แบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) และแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จึงถามด้วยว่าเป็นได้หรือไม่ว่าจะมีเฉพาะการสอบ O-NET เพียงอย่างเดียว เพราะการทดสอบก็เหมือนๆ กัน ซึ่งหากลดการทดสอบลงได้ จะทำให้ลดปัญหาที่นักเรียนต้องวิ่งสอบ นอกจากนี้ก็อยากให้ออกข้อสอบตรงๆ โดยเฉพาะนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ต้องไปสอบเรียนต่อจะต้องคาดเดาข้อสอบกันมากมาย ซึ่งหากไปดูในต่างประเทศการออกข้อสอบก็ไม่ได้เป็นอย่างนี้” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว