สพฐ.เตรียมจัดทดสอบประเมินสมรรถนะครู พัฒนาการออกข้อสอบ O-Net/NT ตามนโยบาย รมว.ศึกษาฯ ส่วนค่าตอบแทนต้องหารือภายหลัง
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือกับในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เกี่ยวกับแนวคิดของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้มีการปรับรูปแบบการออกข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน (NT) โดยจะให้ครูที่สอนแต่ละวิชาทั่วประเทศเป็นผู้ออกข้อสอบ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า แนวทางนี้สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องมีขั้นตอนในการคัดเลือกครูที่มีสมรรถนะในการดำเนินการด้านการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานของการวัดผล เพราะ สทศ.จะต้องรักษามาตรฐานคุณภาพของข้อสอบด้วย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในผลการสอบที่จะออกมา
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลนักเรียน ซึ่ง สทศ.จะพัฒนาเครื่องมือขึ้นมา และดำเนินการทดสอบ เมื่อครูผู้สอนสอบผ่านการประเมินฯ แล้ว จะถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาคลังข้อสอบ และออกข้อสอบ แต่หากครูคนใดสอบไม่ผ่านการประเมินฯ สทศ.จะจัดหลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อให้ครูได้มีโอกาสพัฒนาตนเองสักระยะหนึ่ง จากนั้นจะทำการทดสอบเพื่อประเมินฯ อีกครั้ง ทั้งนี้ หลักสูตรและเครื่องมือการประเมินฯ นั้น จะเป็นหลักสูตรที่วัดสมรรถนะพื้นฐานด้านการวัดและประเมินผล โดยจะวัดความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการสร้างแบบทดสอบที่มีคุณภาพ
“สำหรับขั้นตอนการพัฒนาข้อสอบนั้น จะเริ่มจากให้ครูที่ผ่านการประเมินฯ ได้รับคำชี้แจงและคำอธิบายเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบของแต่ละชั้นปี ซึ่งในกระบวนการออกข้อสอบจะมีพิมพ์เขียว หรือ Blueprint โดยจะเป็นกรอบโครงสร้างของข้อสอบว่าจะครอบคลุมเนื้อหาสาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ในเรื่องใดบ้าง ซึ่งผู้ออกข้อสอบจะต้องเดินตามพิมพ์เขียวนี้ จากนั้นจะนำข้อสอบที่ได้ส่งเข้ามาที่ สทศ.เป็นตัวข้อสอบเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ก่อนจะบรรจุเข้าในคลังข้อสอบต่อไป” เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า ส่วนเรื่องค่าตอบแทนที่จะจ่ายให้กับผู้ที่ออกข้อสอบ ตามที่ รมว.ศึกษาธิการ ระบุนั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งว่าจะจ่ายเป็นรายข้อที่ได้รับการคัดเลือก หรือจะจ่ายในลักษณะอื่น
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือกับในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เกี่ยวกับแนวคิดของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้มีการปรับรูปแบบการออกข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน (NT) โดยจะให้ครูที่สอนแต่ละวิชาทั่วประเทศเป็นผู้ออกข้อสอบ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า แนวทางนี้สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องมีขั้นตอนในการคัดเลือกครูที่มีสมรรถนะในการดำเนินการด้านการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานของการวัดผล เพราะ สทศ.จะต้องรักษามาตรฐานคุณภาพของข้อสอบด้วย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในผลการสอบที่จะออกมา
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลนักเรียน ซึ่ง สทศ.จะพัฒนาเครื่องมือขึ้นมา และดำเนินการทดสอบ เมื่อครูผู้สอนสอบผ่านการประเมินฯ แล้ว จะถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาคลังข้อสอบ และออกข้อสอบ แต่หากครูคนใดสอบไม่ผ่านการประเมินฯ สทศ.จะจัดหลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อให้ครูได้มีโอกาสพัฒนาตนเองสักระยะหนึ่ง จากนั้นจะทำการทดสอบเพื่อประเมินฯ อีกครั้ง ทั้งนี้ หลักสูตรและเครื่องมือการประเมินฯ นั้น จะเป็นหลักสูตรที่วัดสมรรถนะพื้นฐานด้านการวัดและประเมินผล โดยจะวัดความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการสร้างแบบทดสอบที่มีคุณภาพ
“สำหรับขั้นตอนการพัฒนาข้อสอบนั้น จะเริ่มจากให้ครูที่ผ่านการประเมินฯ ได้รับคำชี้แจงและคำอธิบายเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบของแต่ละชั้นปี ซึ่งในกระบวนการออกข้อสอบจะมีพิมพ์เขียว หรือ Blueprint โดยจะเป็นกรอบโครงสร้างของข้อสอบว่าจะครอบคลุมเนื้อหาสาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ในเรื่องใดบ้าง ซึ่งผู้ออกข้อสอบจะต้องเดินตามพิมพ์เขียวนี้ จากนั้นจะนำข้อสอบที่ได้ส่งเข้ามาที่ สทศ.เป็นตัวข้อสอบเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ก่อนจะบรรจุเข้าในคลังข้อสอบต่อไป” เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า ส่วนเรื่องค่าตอบแทนที่จะจ่ายให้กับผู้ที่ออกข้อสอบ ตามที่ รมว.ศึกษาธิการ ระบุนั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งว่าจะจ่ายเป็นรายข้อที่ได้รับการคัดเลือก หรือจะจ่ายในลักษณะอื่น