“ชินภัทร” รับลูก “สุชาติ” ใช้ O-Net จัดสอบวัดมาตรฐานผู้เรียนทุกระดับชั้น แม้ว่า สพฐ.จะมีการทดสอบ NT อยู่แล้วก็ตาม เล็งหารือแนวทางร่วมกับ สทศ.ชี้ หากใช้ O-Net จริง NT ก็ไม่จำเป็น เว้นแต่จะทำให้การทดสอบทั้ง 2 ประเภทมีมาตรฐานเดียวกัน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (O-Net) ให้กับนักเรียนทุกชั้นปี ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อวัดมาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียน ว่า ตนจะไปหารือกับ สทศ.เพื่อดูความเป็นไปได้ของการดำเนินการ โดยทั้งหมดอยู่ที่งบประมาณเป็นสำคัญ ซึ่งในหลักการค่อนข้างชัดเจนว่า ศธ.ต้องการให้นำคะแนน O-Net ไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากเดิมจะจัดสอบเฉพาะปลายช่วงชั้น คือ ป.6 ม.3 และ ม.6 และ มีการนำคะแนนไปใช้ในการศึกษาต่อแล้ว แต่หากจะให้จัดสอบทุกช่วงชั้นก็ต้องดูหลายๆ วิธี และต้องดูว่าเป็นไปตามพันธกิจ ของ สทศ.ที่มุ่งประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยใช้ข้อสอบมาตรฐานเพื่อสะท้อนคุณภาพหรือไม่ ขณะเดียวกัน สพฐ.ก็มีระบบการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (National Test หรือ NT) อยู่แล้ว จึงจะต้องมาทำการตกลงรวมกันและออกมาเป็นนโยบายของ ศธ.ว่า จะดำเนินการอย่างไร แต่เท่าที่หารือในเบื้องต้น อาจจะใช้แนวทางให้ สทศ.พัฒนาธนาคารข้อสอบ และ สพฐ.ก็นำข้อสอบมาใช้ดำเนินการจัดทดสอบ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็สามารถนำมาสอบทุกชั้นปีได้
เมื่อถามว่า จะใช้การสอบ O-Net มาแทนการสอบ NT ของ สพฐ.เลยหรือไม่ นายชินภัทร กล่าวว่า การสอบคงต้องผันให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะทั้ง NT กับ O-Net มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ประเมินสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลาง ดังนั้น เมื่อจะมี O-Net ที่จะวัดเป็นรายชั้นปี NT ก็คงหมดความจำเป็น หรือหากว่าเราจะใช้ NT ต่อไปก็ต้องปรับให้มีมาตรฐานเดียวกับ O-Net และให้สามารถนำผลการสอบไปใช้วัดประสิทธิภาพการสอนของครูด้วยในทุกชั้นปีด้วย
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า ถ้าเป็นนโยบายของนายสุชาติ สทศ.พร้อมที่จะดำเนินการ แต่หัวใจสำคัญต้องมีงบประมาณสนับสนุน และตนเห็นว่า การสอบนี้ไม่ซ้ำซ้อนหรือเพิ่มภาระให้เด็กต้องสอบหลายครั้ง แต่จะทำให้เด็กตื่นตัวที่จะสอบอยู่ตลอดเวลา และเป็นข้อสอบเพื่อวัดผลของนักเรียนแต่ละชั้นปีว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งนำมาใช้ในการเลื่อนขั้นให้กับครู ซึ่งจะทำให้ครูตั้งใจสอนเด็กมากขึ้นด้วย ส่วนจะดำเนินการได้เมื่อใดนั้นจะต้องมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (O-Net) ให้กับนักเรียนทุกชั้นปี ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อวัดมาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียน ว่า ตนจะไปหารือกับ สทศ.เพื่อดูความเป็นไปได้ของการดำเนินการ โดยทั้งหมดอยู่ที่งบประมาณเป็นสำคัญ ซึ่งในหลักการค่อนข้างชัดเจนว่า ศธ.ต้องการให้นำคะแนน O-Net ไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากเดิมจะจัดสอบเฉพาะปลายช่วงชั้น คือ ป.6 ม.3 และ ม.6 และ มีการนำคะแนนไปใช้ในการศึกษาต่อแล้ว แต่หากจะให้จัดสอบทุกช่วงชั้นก็ต้องดูหลายๆ วิธี และต้องดูว่าเป็นไปตามพันธกิจ ของ สทศ.ที่มุ่งประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยใช้ข้อสอบมาตรฐานเพื่อสะท้อนคุณภาพหรือไม่ ขณะเดียวกัน สพฐ.ก็มีระบบการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (National Test หรือ NT) อยู่แล้ว จึงจะต้องมาทำการตกลงรวมกันและออกมาเป็นนโยบายของ ศธ.ว่า จะดำเนินการอย่างไร แต่เท่าที่หารือในเบื้องต้น อาจจะใช้แนวทางให้ สทศ.พัฒนาธนาคารข้อสอบ และ สพฐ.ก็นำข้อสอบมาใช้ดำเนินการจัดทดสอบ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็สามารถนำมาสอบทุกชั้นปีได้
เมื่อถามว่า จะใช้การสอบ O-Net มาแทนการสอบ NT ของ สพฐ.เลยหรือไม่ นายชินภัทร กล่าวว่า การสอบคงต้องผันให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะทั้ง NT กับ O-Net มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ประเมินสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลาง ดังนั้น เมื่อจะมี O-Net ที่จะวัดเป็นรายชั้นปี NT ก็คงหมดความจำเป็น หรือหากว่าเราจะใช้ NT ต่อไปก็ต้องปรับให้มีมาตรฐานเดียวกับ O-Net และให้สามารถนำผลการสอบไปใช้วัดประสิทธิภาพการสอนของครูด้วยในทุกชั้นปีด้วย
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า ถ้าเป็นนโยบายของนายสุชาติ สทศ.พร้อมที่จะดำเนินการ แต่หัวใจสำคัญต้องมีงบประมาณสนับสนุน และตนเห็นว่า การสอบนี้ไม่ซ้ำซ้อนหรือเพิ่มภาระให้เด็กต้องสอบหลายครั้ง แต่จะทำให้เด็กตื่นตัวที่จะสอบอยู่ตลอดเวลา และเป็นข้อสอบเพื่อวัดผลของนักเรียนแต่ละชั้นปีว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งนำมาใช้ในการเลื่อนขั้นให้กับครู ซึ่งจะทำให้ครูตั้งใจสอนเด็กมากขึ้นด้วย ส่วนจะดำเนินการได้เมื่อใดนั้นจะต้องมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน