สวธ.แนะ ผู้ประกอบการเรียนภาษาเพื่อนบ้าน รองรับประชาคมอาเซียน ชู ตลาดน้ำ วิถีชีวิตไทยดั้งเดิม เรียกนักท่องเที่ยว
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ร่วมเปิดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ เรื่อง ก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียน ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการวัฒนธรรม ณ โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ ทาง สวธ.อยากให้ผู้ประกอบการเห็นผลดีและผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะธุรกิจบริการ จะเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความโดดเด่น และได้รับผลกระทบจากการเปิดประชาคมอาเซียนที่ต้องมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ไม่ว่า จะเป็นร้านอาหาร โรงแรม สปา เป็นต้น โดยต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ รวมทั้งต้องพัฒนาด้านภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มอาเซียนไว้ใช้ในการสื่อสารระหว่างกันด้วย
นางปริศนา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มของสื่อ ประเภทละคร หรือซีรีย์ต่างๆ ของไทยในปัจจุบัน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บางเรื่องมีการแปลเป็นภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ตากาล็อก เป็นต้น ส่วนเนื้อหาในเรื่องอาจจะต้องปรับให้เหมาะกับการเปิดสังคมอาเซียนเชื่อว่า ธุรกิจด้านละคร ซีรีย์ของไทย จะเป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการและประเทศ
นางปริศนา กล่าวด้วยว่า ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม เชื่อว่าชาวต่างชาติจะนิยมมาดูของดั้งเดิมของเรา เช่น ตลาดน้ำ วิถีชีวิตชุมชน ดังนั้น ธุรกิจเหล่านี้จะต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ต้องรักษาของดั้งเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด และมีการพัฒนาสถานที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ ห้องน้ำ ให้มีมาตรฐานตามสภาพของพื้นที่ อีกสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรม จะต้องเรียนรู้ คือ การพัฒนาภาษา ศึกษาตลาดนักท่องเที่ยว หรือรสนิยมกลุ่มอาเซียนที่จะเข้ามา เพื่อจะได้บริการให้ตรงจุดจะทำให้การบริการของเราเกิดจุดแข็งและเป็นเอกลักษณ์ในอาเซียน
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ร่วมเปิดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ เรื่อง ก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียน ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการวัฒนธรรม ณ โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ ทาง สวธ.อยากให้ผู้ประกอบการเห็นผลดีและผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะธุรกิจบริการ จะเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความโดดเด่น และได้รับผลกระทบจากการเปิดประชาคมอาเซียนที่ต้องมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ไม่ว่า จะเป็นร้านอาหาร โรงแรม สปา เป็นต้น โดยต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ รวมทั้งต้องพัฒนาด้านภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มอาเซียนไว้ใช้ในการสื่อสารระหว่างกันด้วย
นางปริศนา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มของสื่อ ประเภทละคร หรือซีรีย์ต่างๆ ของไทยในปัจจุบัน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บางเรื่องมีการแปลเป็นภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ตากาล็อก เป็นต้น ส่วนเนื้อหาในเรื่องอาจจะต้องปรับให้เหมาะกับการเปิดสังคมอาเซียนเชื่อว่า ธุรกิจด้านละคร ซีรีย์ของไทย จะเป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการและประเทศ
นางปริศนา กล่าวด้วยว่า ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม เชื่อว่าชาวต่างชาติจะนิยมมาดูของดั้งเดิมของเรา เช่น ตลาดน้ำ วิถีชีวิตชุมชน ดังนั้น ธุรกิจเหล่านี้จะต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ต้องรักษาของดั้งเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด และมีการพัฒนาสถานที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ ห้องน้ำ ให้มีมาตรฐานตามสภาพของพื้นที่ อีกสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรม จะต้องเรียนรู้ คือ การพัฒนาภาษา ศึกษาตลาดนักท่องเที่ยว หรือรสนิยมกลุ่มอาเซียนที่จะเข้ามา เพื่อจะได้บริการให้ตรงจุดจะทำให้การบริการของเราเกิดจุดแข็งและเป็นเอกลักษณ์ในอาเซียน