“เครือข่ายเหยื่อน้ำเมา” ปลื้ม ครม.ปรับขึ้นภาษีสินค้าบาป เชื่อลดแรงจูงใจการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยันไม่กระทบสังคม
วันนี้ (22 ส.ค.) เวลา 10.30 น.ที่กรมสรรพสามิต กลุ่มเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพ และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนากว่า 30 คน เข้าพบนางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมสรรพสามิต เพื่อสนับสนุนนโยบายที่กระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้มีผลบังคับใช้ทันที ทั้งนี้ ในส่วนของการปรับขึ้นภาษีสุราขาวนั้น จากเดิมที่เก็บ 120 บาทต่อลิตรจะปรับเพิ่มเป็น 150 บาทต่อลิตร สุราผสมจากเดิมที่เก็บ 300 บาทต่อลิตร จะปรับเพิ่มเป็น 350 บาทต่อลิตร
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ที่เครือข่ายฯมาวันนี้ เพื่อต้องการสนับสนุนนโยบายของกรมสรรพสามิตที่เสนอ ครม.ให้มีมติปรับขึ้นภาษีประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมาตรการราคาที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดแรงจูงใจในการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับเยาวชน และผู้มีรายได้น้อย อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ลดการบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิตโดยมีสาเหตุมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น
นายจะเด็จ กล่าวว่า เครือข่ายฯต้องขอบคุณกรมสรรพสามิตที่เล็งเห็นถึงปัญหาสังคม เพราะมาตรการปรับขึ้นภาษีสุราจะเป็นแรงสำคัญในการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์การบริโภคจะลดลง โดยเฉพาะคนในชนบท กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ปกตินิยมดื่มสุราขาวเป็นจำนวนมาก และยืนยันว่า มาตรการเพิ่มภาษีถือว่ามาถูกทาง ประกอบกับกฎหมายที่รัฐบาลเคยทำไปก่อนหน้านี้ คือ การห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะขณะขับขี่หรือโดยสารอยู่บนรถทุกประเภท ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทุกประเทศในโลกที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี
“เชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมเนื่องจากสุราเป็นสินค้าอันตราย จึงไม่จำเป็นต่อการบริโภคอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน เพื่อให้มาตรการนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรจำกัดจำนวนการออกใบอนุญาต และเพิ่มค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราให้สูงขึ้นด้วย และที่รัฐบาลควรต้องพิจารณาต่อไป คือ เพดานภาษีเบียร์ และ วิสกี้ บรั่นดี สุราปรุงพิเศษ ซึ่งขึ้นมาเต็มเพดานแล้ว ควรจะศึกษาและปรับเพิ่มขึ้น โดยไม่ควรมีเพดาน และให้ขึ้นภาษีประจำทุกปีตามเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เพื่อช่วยลดการดื่มและจำกัดการเข้าถึงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน” นายจะเด็จ กล่าว
ด้านนายธีระภัทร คหะวงศ์ แกนนำเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ทางเยาวชนได้เฝ้าระวังเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาอย่างต่อเนื่อง เพราะสาเหตุการเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือแม้แต่การกระทำผิดของคนไทย มากกว่าครึ่งมาจากปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น โดยเราทำงานกับเยาวชนที่กระทำผิดในสถานพินิจ พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยกระตุ้นในการก่อเหตุมากกว่า 50% และนักดื่มมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นการที่กรมสรรพสามิตมีมติขึ้นภาษีสุราจึงเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐได้ตระหนักถึงพิษภัยของแอลกอฮอล์ ซึ่งการขึ้นภาษีจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะสกัดการเข้าถึงและป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ได้
“อยากวอนไปยังเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน ให้เอาจริงเอาจังกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี การขายโดยไม่มีใบอนุญาต เพราะถ้าผู้บังคับใช้กฎหมายเอาจริง ผู้ประกอบการก็จะไม่กล้าละเมิดกฎหมาย ปัญหาก็จะลดลงอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม สรรพสามิตเองก็ต้องเตรียมการและวางแผนรับมือการค้าเสรีอย่างเป็นระบบด้วย โดยเฉพาะไทยกับสหภาพยุโรป (อียู) เพราะสุรานำเข้าจากอียูมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 84% ของสุรานำเข้าทั้งหมด จะทำให้สุรานำเข้าจะทะลักเข้ามาจนเต็มประเทศ บรรดากลไกป้องกันต่างๆต้องมีประสิทธิภาพจริงๆ แต่จะดีที่สุดถ้าไม่เอาทั้งสุราและบุหรี่เข้าสู่การเจรจาการค้าเสรี” นายธีระภัทร กล่าว
วันนี้ (22 ส.ค.) เวลา 10.30 น.ที่กรมสรรพสามิต กลุ่มเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพ และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนากว่า 30 คน เข้าพบนางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมสรรพสามิต เพื่อสนับสนุนนโยบายที่กระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้มีผลบังคับใช้ทันที ทั้งนี้ ในส่วนของการปรับขึ้นภาษีสุราขาวนั้น จากเดิมที่เก็บ 120 บาทต่อลิตรจะปรับเพิ่มเป็น 150 บาทต่อลิตร สุราผสมจากเดิมที่เก็บ 300 บาทต่อลิตร จะปรับเพิ่มเป็น 350 บาทต่อลิตร
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ที่เครือข่ายฯมาวันนี้ เพื่อต้องการสนับสนุนนโยบายของกรมสรรพสามิตที่เสนอ ครม.ให้มีมติปรับขึ้นภาษีประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมาตรการราคาที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดแรงจูงใจในการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับเยาวชน และผู้มีรายได้น้อย อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ลดการบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิตโดยมีสาเหตุมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น
นายจะเด็จ กล่าวว่า เครือข่ายฯต้องขอบคุณกรมสรรพสามิตที่เล็งเห็นถึงปัญหาสังคม เพราะมาตรการปรับขึ้นภาษีสุราจะเป็นแรงสำคัญในการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์การบริโภคจะลดลง โดยเฉพาะคนในชนบท กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ปกตินิยมดื่มสุราขาวเป็นจำนวนมาก และยืนยันว่า มาตรการเพิ่มภาษีถือว่ามาถูกทาง ประกอบกับกฎหมายที่รัฐบาลเคยทำไปก่อนหน้านี้ คือ การห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะขณะขับขี่หรือโดยสารอยู่บนรถทุกประเภท ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทุกประเทศในโลกที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี
“เชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมเนื่องจากสุราเป็นสินค้าอันตราย จึงไม่จำเป็นต่อการบริโภคอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน เพื่อให้มาตรการนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรจำกัดจำนวนการออกใบอนุญาต และเพิ่มค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราให้สูงขึ้นด้วย และที่รัฐบาลควรต้องพิจารณาต่อไป คือ เพดานภาษีเบียร์ และ วิสกี้ บรั่นดี สุราปรุงพิเศษ ซึ่งขึ้นมาเต็มเพดานแล้ว ควรจะศึกษาและปรับเพิ่มขึ้น โดยไม่ควรมีเพดาน และให้ขึ้นภาษีประจำทุกปีตามเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เพื่อช่วยลดการดื่มและจำกัดการเข้าถึงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน” นายจะเด็จ กล่าว
ด้านนายธีระภัทร คหะวงศ์ แกนนำเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ทางเยาวชนได้เฝ้าระวังเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาอย่างต่อเนื่อง เพราะสาเหตุการเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือแม้แต่การกระทำผิดของคนไทย มากกว่าครึ่งมาจากปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น โดยเราทำงานกับเยาวชนที่กระทำผิดในสถานพินิจ พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยกระตุ้นในการก่อเหตุมากกว่า 50% และนักดื่มมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นการที่กรมสรรพสามิตมีมติขึ้นภาษีสุราจึงเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐได้ตระหนักถึงพิษภัยของแอลกอฮอล์ ซึ่งการขึ้นภาษีจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะสกัดการเข้าถึงและป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ได้
“อยากวอนไปยังเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน ให้เอาจริงเอาจังกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี การขายโดยไม่มีใบอนุญาต เพราะถ้าผู้บังคับใช้กฎหมายเอาจริง ผู้ประกอบการก็จะไม่กล้าละเมิดกฎหมาย ปัญหาก็จะลดลงอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม สรรพสามิตเองก็ต้องเตรียมการและวางแผนรับมือการค้าเสรีอย่างเป็นระบบด้วย โดยเฉพาะไทยกับสหภาพยุโรป (อียู) เพราะสุรานำเข้าจากอียูมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 84% ของสุรานำเข้าทั้งหมด จะทำให้สุรานำเข้าจะทะลักเข้ามาจนเต็มประเทศ บรรดากลไกป้องกันต่างๆต้องมีประสิทธิภาพจริงๆ แต่จะดีที่สุดถ้าไม่เอาทั้งสุราและบุหรี่เข้าสู่การเจรจาการค้าเสรี” นายธีระภัทร กล่าว