ก.พ.อ.ไฟเขียวยกร่าง พ.ร.บ.พนักงานมหา’ลัย แนะพิจารณาเอื้อประโยชน์ต่อ ขรก.ในสถาบันอุดมศึกษา พร้อมให้ตั้ง กก.ศึกษาเส้นทางเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ที่มี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด โดยชุดแรกมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เป็นประธาน ยกร่าง พ.ร.บ.พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... โดยจะเชิญตัวแทนจากเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณารายละเอียดต่างๆ ที่จะนำไปกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังให้คณะกรรมการไปดูด้วยว่ากฎหมายที่จะออกมานั้น จะเอื้อให้กับข้าราชการที่อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาได้ด้วยหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก ต้องมีกฎหมายหลายฉบับ เพราะขณะนี้ ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ก็ถือว่าเหลืออยู่จำนวนไม่มาก และคิดว่าน่าจะน้อยลงเรื่อยๆ
นอกจากนั้น ที่ประชุมยังตั้งคณะกรรมการที่มี นายถนอม อินทรกำเนิด ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.พ.อ. เป็นประธาน เพื่อศึกษาเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด โดยที่ผ่านมาพบว่ามีบางประเด็นที่ต้องแก้ไข อาทิ เดิมกำหนดให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) จะต้องมีผลงานวิชาและผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทางวิชาการ เปลี่ยนเป็น จะต้องมี ผลงานวิชาหรือผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทางวิชาการ และมาเพิ่มว่าจะต้องเป็นผลงานที่มีผลกระทบทางสังคมด้วย ซึ่งเท่ากับว่า ทำให้การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการยากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกัน ปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการยังมีเรื่องอื่นๆ มีมาก ดังนั้น จึงเห็นว่า ควรจะต้องมีการยกเครื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการใหม่ทั้งระบบ โดยมีเป้าหมายว่าระเบียบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการใหม่จะต้องทำให้คนสามารถเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้เร็วขึ้น แต่ไม่ใช่ง่ายขึ้น รวมถึงให้ดู้ด้วยว่า จะนำผลงานสายรับใช้สังคมมาใช้เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างไร
“ทั้ง 2 ประเด็น คือ การยกร่าง พ.ร.บ.พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และการแก้ไขระเบียบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการ ศธ.สนับสนุนตั้งแต่แรก เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่จะทำประโยชน์ให้กับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม”รองเลขาธิการ กล่าว
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ที่มี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด โดยชุดแรกมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เป็นประธาน ยกร่าง พ.ร.บ.พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... โดยจะเชิญตัวแทนจากเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณารายละเอียดต่างๆ ที่จะนำไปกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังให้คณะกรรมการไปดูด้วยว่ากฎหมายที่จะออกมานั้น จะเอื้อให้กับข้าราชการที่อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาได้ด้วยหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก ต้องมีกฎหมายหลายฉบับ เพราะขณะนี้ ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ก็ถือว่าเหลืออยู่จำนวนไม่มาก และคิดว่าน่าจะน้อยลงเรื่อยๆ
นอกจากนั้น ที่ประชุมยังตั้งคณะกรรมการที่มี นายถนอม อินทรกำเนิด ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.พ.อ. เป็นประธาน เพื่อศึกษาเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด โดยที่ผ่านมาพบว่ามีบางประเด็นที่ต้องแก้ไข อาทิ เดิมกำหนดให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) จะต้องมีผลงานวิชาและผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทางวิชาการ เปลี่ยนเป็น จะต้องมี ผลงานวิชาหรือผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทางวิชาการ และมาเพิ่มว่าจะต้องเป็นผลงานที่มีผลกระทบทางสังคมด้วย ซึ่งเท่ากับว่า ทำให้การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการยากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกัน ปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการยังมีเรื่องอื่นๆ มีมาก ดังนั้น จึงเห็นว่า ควรจะต้องมีการยกเครื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการใหม่ทั้งระบบ โดยมีเป้าหมายว่าระเบียบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการใหม่จะต้องทำให้คนสามารถเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้เร็วขึ้น แต่ไม่ใช่ง่ายขึ้น รวมถึงให้ดู้ด้วยว่า จะนำผลงานสายรับใช้สังคมมาใช้เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างไร
“ทั้ง 2 ประเด็น คือ การยกร่าง พ.ร.บ.พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และการแก้ไขระเบียบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการ ศธ.สนับสนุนตั้งแต่แรก เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่จะทำประโยชน์ให้กับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม”รองเลขาธิการ กล่าว