อาชีวศึกษา จัดงานสถาปนาครบรอบ 71 ปี “ศักดา” ย้ำ อาชีวะต้องก้าวไปข้างหน้าเตรียมพร้อมรับเข้าอาเซียน ทั้งเน้นผลิตบุคลากรที่มีทักษะและฝีมือแรงงาน ยกระดับการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมทั้งจะเร่งสร้างความมีวินัย ความอดทน ฟุ้งเชื่อเมื่อเปิดป.ตรีสายปฏิบัติการในปี 56 จะมีคนสนใจเรียนอาชีวะมากขึ้น
วันนี้ (20 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดทำบุญเลี้ยงพระ เนื่องในวันสถาปนา สอศ.หรือ กรมอาชีวศึกษา ครบรอบ 71 ปี โดยมี นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงของ สอศ.ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกำกับ และเจ้าหน้าที่ สอศ.เข้าร่วมงาน
นายศักดา กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 71 ปี ของการก่อตั้ง สอศ.ต่อจากนี้เป็นช่วงเวลาของการก้าวไปข้างหน้า โดยเฉพาะนโยบายสำคัญของ สอศ.คือจะต้องผลิตบุคลากรที่มีทักษะความสามารถ เป็นระดับฝีมือแรงงานเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ความต้องการแรงงานจะมีเพิ่มมากขึ้นจากที่ปัจจุบันนั้นแรงงานที่มีฝีมือ ก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนหนัก ขณะเดียวกัน จะต้องเร่งส่งเสริมเรื่องของภาษาสำหรับใช้สื่อสาร เนื่องจากประเทศไทยยังมีจุดอ่อนเรื่องของการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมถึงภาษาของเพื่อนบ้านในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งเฉพาะเรื่องภาษาอังกฤษนั้นใน 10 ประเทศเราถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 เราชนะเพียงแค่ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ดังนั้น สอศ.จำเป็นต้องเร่งยกระดับภาษาอังกฤษของนักเรียน
“ทั้งการพัฒนาคุณภาพทักษะฝีมือแรงงานให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาและการยกระดับภาษาซึ่งเป็นกุญแจสำคัญแล้ว ยังมีกุญแจสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องความขยัน ความอดทน และระเบียบวินัย ที่ สอศ.จะต้องปลูกฝังควบคู่ไปกับเรื่องอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในด้านวิชาการ วิทยาการต่างๆ นั้น เชื่อว่า อาชีวศึกษาของเราไม่ด้อยไปกว่าใครเพียงแต่ที่ผ่านมาวิทยาลัยยังขาดเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อมาสอนเด็กอาชีวะโดยเฉพาะใน 5 กลุ่มอาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยการอาชีพ ก็ยังประสบปัญหาการขาดแคลนครุภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งบางวิทยาลัยพบว่าเป็นเวลา 2-3 ปี หรือบางแห่งเป็น 10 ปี ไม่จัดซื้อเครื่องมือที่ทันสมัยเลย โดยเวลานี้นั้นทางอาชีวศึกษาก็ได้พยายามจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้วิทยาลัยซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ด้วย” นายศักดา กล่าว
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศมีความผูกพันกับระบบการศึกษาอาชีวศึกษาอย่างมาก ในประเทศที่มีความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจะส่งเสริมเรื่องการเรียนอาชีวะอย่างมาก เช่น ประเทศสิงคโปร มีผู้เรียนอาชีวศึกษามากกว่า 60% ขณะที่ไทยเองเรียนอาชีวะเพียง 39% เพราะผู้ปกครองอยากให้ลูกได้เรียนถึงระดับปริญญาตรีมากกว่า และขณะนี้อาชีวศึกษาก็ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีการเปิดสอบปริญญาตรีสายปฏิบัติการแล้วในสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่ง โดยจะเริ่มในปีการศึกษา 2556 เพราะฉะนั้นเชื่อมั่นได้ว่าต่อไปอาชีวศึกษาจะได้รับยอมรับและมีผู้สนใจเรียนมากขึ้น
วันนี้ (20 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดทำบุญเลี้ยงพระ เนื่องในวันสถาปนา สอศ.หรือ กรมอาชีวศึกษา ครบรอบ 71 ปี โดยมี นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงของ สอศ.ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกำกับ และเจ้าหน้าที่ สอศ.เข้าร่วมงาน
นายศักดา กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 71 ปี ของการก่อตั้ง สอศ.ต่อจากนี้เป็นช่วงเวลาของการก้าวไปข้างหน้า โดยเฉพาะนโยบายสำคัญของ สอศ.คือจะต้องผลิตบุคลากรที่มีทักษะความสามารถ เป็นระดับฝีมือแรงงานเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ความต้องการแรงงานจะมีเพิ่มมากขึ้นจากที่ปัจจุบันนั้นแรงงานที่มีฝีมือ ก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนหนัก ขณะเดียวกัน จะต้องเร่งส่งเสริมเรื่องของภาษาสำหรับใช้สื่อสาร เนื่องจากประเทศไทยยังมีจุดอ่อนเรื่องของการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมถึงภาษาของเพื่อนบ้านในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งเฉพาะเรื่องภาษาอังกฤษนั้นใน 10 ประเทศเราถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 เราชนะเพียงแค่ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ดังนั้น สอศ.จำเป็นต้องเร่งยกระดับภาษาอังกฤษของนักเรียน
“ทั้งการพัฒนาคุณภาพทักษะฝีมือแรงงานให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาและการยกระดับภาษาซึ่งเป็นกุญแจสำคัญแล้ว ยังมีกุญแจสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องความขยัน ความอดทน และระเบียบวินัย ที่ สอศ.จะต้องปลูกฝังควบคู่ไปกับเรื่องอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในด้านวิชาการ วิทยาการต่างๆ นั้น เชื่อว่า อาชีวศึกษาของเราไม่ด้อยไปกว่าใครเพียงแต่ที่ผ่านมาวิทยาลัยยังขาดเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อมาสอนเด็กอาชีวะโดยเฉพาะใน 5 กลุ่มอาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยการอาชีพ ก็ยังประสบปัญหาการขาดแคลนครุภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งบางวิทยาลัยพบว่าเป็นเวลา 2-3 ปี หรือบางแห่งเป็น 10 ปี ไม่จัดซื้อเครื่องมือที่ทันสมัยเลย โดยเวลานี้นั้นทางอาชีวศึกษาก็ได้พยายามจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้วิทยาลัยซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ด้วย” นายศักดา กล่าว
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศมีความผูกพันกับระบบการศึกษาอาชีวศึกษาอย่างมาก ในประเทศที่มีความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจะส่งเสริมเรื่องการเรียนอาชีวะอย่างมาก เช่น ประเทศสิงคโปร มีผู้เรียนอาชีวศึกษามากกว่า 60% ขณะที่ไทยเองเรียนอาชีวะเพียง 39% เพราะผู้ปกครองอยากให้ลูกได้เรียนถึงระดับปริญญาตรีมากกว่า และขณะนี้อาชีวศึกษาก็ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีการเปิดสอบปริญญาตรีสายปฏิบัติการแล้วในสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่ง โดยจะเริ่มในปีการศึกษา 2556 เพราะฉะนั้นเชื่อมั่นได้ว่าต่อไปอาชีวศึกษาจะได้รับยอมรับและมีผู้สนใจเรียนมากขึ้น