ผลสำรวจพบคนไทยสูบบุหรี่มากถึง 13 ล้านคน อัตราการรับควันบุหรี่มือสองพุ่ง 68% ขณะที่เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่ด้วยอายุที่น้อยลง เฉลี่ย 17.4 ปี สธ.เร่งจับมือ 35 หน่วยงาน เซ็น MOU ดำเนินการควบคุมบุหรี่
วันนี้ (16 ส.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบ ระหว่างกรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 35 เครือข่าย ว่า ปัจจุบันการสูบบุหรี่ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ โดยภาพรวมของสถานการณ์การบริโภคยาสูบในประเทศไทย จากผลการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก ปี 2554 พบว่า ประชากรไทยมีผู้บริโภคยาสูบชนิดมีควัน ประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 24 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ชายไทยยังคงสูบบุหรี่สูงมากถึงร้อยละ 46.6 และมีอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองเพิ่มขึ้น ทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน และสถานที่สาธารณะต่างๆ ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ ตามกฎหมาย เช่น ตลาดสด หรือตลาดนัด มีผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองสูงสุด ร้อยละ 68.8 เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2552 กับ ปี 2554 พบอีกว่า เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่ที่อายุน้อยลง คือ จากเริ่มสูบประจำเมื่ออายุเฉลี่ย 18.5 ปี เป็น 17.4 ปี เยาวชนกลุ่มอายุ 15-17 ปี ยังคงเข้าถึงบุหรี่ได้ง่าย เห็นได้จากการซื้อบุหรี่แบบแบ่งมวนขายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.3 เป็นร้อยละ 88.3
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า กรมควบคุมโรค จึงต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบการดำเนินงานให้สามารถควบคุมสถานการณ์การบริโภคยาสูบให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้การขับเคลื่อนและการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมยาสูบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและยั่งยืน ตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.2555-2557 คือ การลดอัตราการบริโภคยาสูบของประชาชน ลดปริมาณการบริโภคยาสูบ ต่อหัวประชาชน และการทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เหล่านี้จึงเป็นวัตถุประสงค์และที่มาในการจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค และภาคีเครือข่าย รวม 35 หน่วยงาน ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศ ดังนี้ 1.สนับสนุนการจัดทำและร่วมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ การควบคุมยาสูบแห่งชาติ และมาตรการต่างๆ ตามอนุสัญญาการควบคุมยาสูบแห่งองค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC) 2.สนับสนุนและร่วมดำเนินการเฝ้าระวังให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมยาสูบ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.สนับสนุนและร่วมรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบตามมาตรการต่างๆ การสร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่ในสังคม และการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ 4.สนับสนุนและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการบริโภคยาสูบ และ 5.กรมควบคุมโรคมีบทบาทหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสาน/สนับสนุน/ติดตามให้เกิด การขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายตามบทบาทหน้าที่หลักขององค์กร และที่ได้รับมอบหมายหรือที่เกี่ยวข้องให้บรรลุตามนโยบายและเป้าหมายการควบคุมยาสูบของประเทศ
“การจะทำให้สังคมไทยปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพแบบภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านการประสานงานและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันทุกภาคส่วนในการดำเนินมาตรการต่างๆ หากผู้ใดพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่ สามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กรมควบคุมโรค โทร.1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร.0-2590-3333 หรือต้องการคำปรึกษาเพื่อช่วยให้คุณเลิกบุหรี่ได้ สามารถโทรสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
สำหรับหน่วยงานที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบระหว่างกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายในครั้งนี้ รวม 35 หน่วยงาน ดังนี้ 1.เครือข่ายกายภาพบำบัดเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 2.เครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 3.เครือข่ายนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่แห่งเอเชียอาคเนย์ (SEATCA) 4.เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ 5.เครือข่ายวิชาชีพเทคนิคการแพทย์เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 6.เครือข่ายวิชาชีพนักจิตวิทยาคลินิกในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 7.เครือข่ายวิชาชีพนักรังสีเทคนิคในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 8.เครือข่ายวิชาชีพนักเวชนิทัศน์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 9.เครือข่ายวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 10.เครือข่ายวิชาชีพนักสาธารณสุขในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
11.เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย 12.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 13.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์แผนจีนในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 14.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์แผนไทยในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 15.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 16.เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ สภาเภสัชกรรม 17.เครือข่ายวิชาชีพสัตวแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 18.เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 19.เครือข่ายวิทยุชุมชน 20.สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย
21.เครือข่ายหมออนามัยเพื่อการควบคุมยาสูบ 22.ฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 23.มูลนิธิใบไม้เขียว 24.มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 25.ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ 26.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ 27.สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ 28.สมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ไทย 29.สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 30.สมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย 31.สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 32.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 33.สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ 34.สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และ 35.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
วันนี้ (16 ส.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบ ระหว่างกรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 35 เครือข่าย ว่า ปัจจุบันการสูบบุหรี่ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ โดยภาพรวมของสถานการณ์การบริโภคยาสูบในประเทศไทย จากผลการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก ปี 2554 พบว่า ประชากรไทยมีผู้บริโภคยาสูบชนิดมีควัน ประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 24 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ชายไทยยังคงสูบบุหรี่สูงมากถึงร้อยละ 46.6 และมีอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองเพิ่มขึ้น ทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน และสถานที่สาธารณะต่างๆ ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ ตามกฎหมาย เช่น ตลาดสด หรือตลาดนัด มีผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองสูงสุด ร้อยละ 68.8 เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2552 กับ ปี 2554 พบอีกว่า เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่ที่อายุน้อยลง คือ จากเริ่มสูบประจำเมื่ออายุเฉลี่ย 18.5 ปี เป็น 17.4 ปี เยาวชนกลุ่มอายุ 15-17 ปี ยังคงเข้าถึงบุหรี่ได้ง่าย เห็นได้จากการซื้อบุหรี่แบบแบ่งมวนขายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.3 เป็นร้อยละ 88.3
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า กรมควบคุมโรค จึงต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบการดำเนินงานให้สามารถควบคุมสถานการณ์การบริโภคยาสูบให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้การขับเคลื่อนและการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมยาสูบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและยั่งยืน ตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.2555-2557 คือ การลดอัตราการบริโภคยาสูบของประชาชน ลดปริมาณการบริโภคยาสูบ ต่อหัวประชาชน และการทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เหล่านี้จึงเป็นวัตถุประสงค์และที่มาในการจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค และภาคีเครือข่าย รวม 35 หน่วยงาน ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศ ดังนี้ 1.สนับสนุนการจัดทำและร่วมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ การควบคุมยาสูบแห่งชาติ และมาตรการต่างๆ ตามอนุสัญญาการควบคุมยาสูบแห่งองค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC) 2.สนับสนุนและร่วมดำเนินการเฝ้าระวังให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมยาสูบ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.สนับสนุนและร่วมรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบตามมาตรการต่างๆ การสร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่ในสังคม และการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ 4.สนับสนุนและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการบริโภคยาสูบ และ 5.กรมควบคุมโรคมีบทบาทหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสาน/สนับสนุน/ติดตามให้เกิด การขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายตามบทบาทหน้าที่หลักขององค์กร และที่ได้รับมอบหมายหรือที่เกี่ยวข้องให้บรรลุตามนโยบายและเป้าหมายการควบคุมยาสูบของประเทศ
“การจะทำให้สังคมไทยปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพแบบภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านการประสานงานและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันทุกภาคส่วนในการดำเนินมาตรการต่างๆ หากผู้ใดพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่ สามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กรมควบคุมโรค โทร.1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร.0-2590-3333 หรือต้องการคำปรึกษาเพื่อช่วยให้คุณเลิกบุหรี่ได้ สามารถโทรสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
สำหรับหน่วยงานที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบระหว่างกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายในครั้งนี้ รวม 35 หน่วยงาน ดังนี้ 1.เครือข่ายกายภาพบำบัดเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 2.เครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 3.เครือข่ายนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่แห่งเอเชียอาคเนย์ (SEATCA) 4.เครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ 5.เครือข่ายวิชาชีพเทคนิคการแพทย์เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 6.เครือข่ายวิชาชีพนักจิตวิทยาคลินิกในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 7.เครือข่ายวิชาชีพนักรังสีเทคนิคในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 8.เครือข่ายวิชาชีพนักเวชนิทัศน์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 9.เครือข่ายวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 10.เครือข่ายวิชาชีพนักสาธารณสุขในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
11.เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย 12.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 13.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์แผนจีนในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 14.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์แผนไทยในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 15.เครือข่ายวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 16.เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ สภาเภสัชกรรม 17.เครือข่ายวิชาชีพสัตวแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 18.เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 19.เครือข่ายวิทยุชุมชน 20.สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย
21.เครือข่ายหมออนามัยเพื่อการควบคุมยาสูบ 22.ฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 23.มูลนิธิใบไม้เขียว 24.มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 25.ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ 26.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ 27.สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ 28.สมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ไทย 29.สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยในการควบคุมการบริโภคยาสูบ 30.สมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย 31.สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 32.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 33.สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ 34.สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และ 35.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข