“สุกุมล” ตระหนก รุดตรวจพระปรางค์วัดอรุณ สั่งกรมศิลป์ บูรณะม้ายอดปรางค์ 4 ทิศ คาด ใช้งบ 5 แสนบาท เผยเตรียมบูรณะครั้งใหญ่ใน ปี 2557 ใช้งบกว่า 80 ล้านบาท
วันนี้ (15 ส.ค.) นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ วัดอุรณราชวราราม ตรวจสอบองค์พระปรางค์ หลังเกิดเหตุการณ์ คอม้าบริเวณยอดองค์พระปรางค์หักโค่นลงมาหลังเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง โดย นางสุกุมล กล่าวภายหลังตรวจสอบพระปรางค์ว่า ผู้ช่วยเจ้าอาวาส แจ้งว่า เมื่อปีที่ผ่านมา คอม้าบริเวณยอดองค์พระปรางค์มีบางส่วนได้หักลงมา และล่าสุด ม้าอีกตัวหนึ่งก็หักลงมา จึงหารือกับกรมศิลปากร ว่า ม้าที่ประดับบนพระปรางค์ทั้ง 4 ทิศ ควรบูรณะอย่างเร่งด่วน โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายของกรมศิลปากร ประมาณ 5 แสนบาท เพื่อใช้ในการบูรณะให้กลับมาแข็งแรงและสวยงามดั่งเดิม คาดว่า จะเริ่มบูรณะปลายเดือนสิงหาคมนี้
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า วัดอรุณ กับ กรมศิลปากร มีโครงการบูรณะวัดอรุณ ครั้งใหญ่ในปี 2557 ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท โดยจะบูรณะตัวองค์พระปรางค์ และภูมิทัศน์โดยรอบ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ดำเนินบูรณะคอม้าทั้ง 4 ทิศ จะประสานกับทางวัดให้ปิดตัวองค์พระปรางค์เป็นบางส่วน เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวที่เข้ามาได้รับอันตราย นอกจากนี้ ยังให้กรมศิลปากรประสานงานกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) นำเครื่องตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน มาติดตั้งในพื้นที่วัดอรุณ เพื่อวัดแรงสั่นสะเทือนการขึ้นลงองค์พระปรางค์ ว่า มีผลกระทบต่อโครงสร้างขององค์พระปรางค์หรือไม่ ถ้าผลการวัดพบว่ามีผลกระทบจริง จะหารือกับทางวัดว่าจะให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปบนเพียงบางส่วนเท่านั้น
“ ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก องค์พระปรางค์ยังไม่ได้รับผลกระทบ มีเพียงคอม้าที่ตกลงมาเท่านั้น เราในฐานะที่เป็นหน่วยงานดูแลโบราณสถาน ก็ได้มอบให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลอยู่เป็นระยะ ล่าสุด ทราบว่า เจ้าหน้าที่ก็เพิ่งเข้ามาตรวจสอบเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาแต่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งตรงนี้ ตนก็ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ว่า หากวัดมีปัญหาอะไรให้ประสานมายังกรมศิลปากรอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ หากประชาชนอยากที่จะมีส่วนร่วมบูรณะโบราณสถาน สามารถสมทบทุนเข้า กองทุนเพื่อการบูรณะโบราณสถาน เลขที่บัญชี 081-0-09603-6 ธนาคารกรุงไทย สาขาราชดำเนินได้” นางสุกุมล กล่าว
ด้านนางโสมสุดา กล่าวว่า การบูรณะประติมกรรมคอม้าที่หักนั้น จะเก็บรักษาปูนเดิมที่ร่วงหล่น หากมีสภาพดีเพียงพอก็จะนำไปติดตั้งที่เดิม โดยการปั้นเสริมในส่วนที่ขาด เสริมโครงสร้างแกนให้เชื่อมต่อกับประติมากรรมที่ติดองค์พระปรางค์เดิม หากสภาพปูนเดิมที่ร่วงหล่นมีสภาพชำรุดและเสื่อมสภาพ จะปั้นเสริมใหม่ โดยการกระสวนแบบ หรือคัดลอกมาจากพระปรางค์ทิศอื่นๆ ที่ยังปรากฏอยู่ และพอจะใช้ทำต้นแบบได้ การปั้นจะใช้ปูนโบราณ คือ ปูนน้ำอ้อย หรือปูนหมัก ในส่วนงานละเอียดก็จะใช้ปูนปั้น หรือปูนเพชร ในการขึ้นรูปแต่งรายละเอียด พร้อมกำชับให้สำนักโบราณคดีตรวจสอบความแข็งแรงของประติมากรรมในบริเวณองค์พระปรางค์ทั้งหมด หากมีชิ้นส่วนใดที่มีแนวโน้มว่าจะร่วงหล่นเป็นอันตราย ให้ซ่อมทันที
ส่วนกรณีการบูรณะใหญ่และการล้างชำระเชื้อราและคราบดำขององค์พระปรางค์ ตามปกติจะดำเนินการเป็นวงรอบโดยประมาณ 23-25 ปีต่อครั้ง การบูรณะครั้งที่ผ่านๆ มาได้มีขึ้นเมื่อปี 2510-2511 และบูรณะใหญ่อีกหนเมื่อปี 2538-2539 ทั้งนี้ การบูรณะแบบเต็มองค์มีปัญหาที่จะต้องตั้งนั่งร้านเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นผลเสียต่อการท่องเที่ยวเพราะนักท่องเที่ยวไม่สามารถชมความงามของพระปรางค์และไม่สามรถถ่ายรูปพระปรางค์เต็มองค์ได้ การบูรณะและการขัดล้างจึงจะควรทำตามวงรอบคือประมาณ 20 ปี ส่วนการซ่อมเล็กน้อยเป็นการดำเนินการตามลักษณะงานที่ชำรุดไปตามสภาพ
ด้านพระครูอรุณธรรมานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณ กล่าวว่า ล่าสุด ได้มีข้อมูลแจ้งไปว่า ยอดพระปรางค์วัดอรุณถล่ม เป็นเรื่องที่เข้าใจคลาดเคลื่อนกัน ทางวัดอรุณ จึงขอชี้แจงว่า ยอดพระปรางค์ไม่ได้ถล่ม มีเพียงคอม้าที่หักลงมาเท่านั้น ส่วนโครงสร้างพระปรางค์ยังแข็งแรง ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากกรมศิลปากรเข้ามาบูรณะในส่วนของคอม้า และการบูรณะใหญ่ ทางวัดจะต้องมีการปิดพื้นที่บางส่วน เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวได้รับอันตราย
วันนี้ (15 ส.ค.) นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ วัดอุรณราชวราราม ตรวจสอบองค์พระปรางค์ หลังเกิดเหตุการณ์ คอม้าบริเวณยอดองค์พระปรางค์หักโค่นลงมาหลังเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง โดย นางสุกุมล กล่าวภายหลังตรวจสอบพระปรางค์ว่า ผู้ช่วยเจ้าอาวาส แจ้งว่า เมื่อปีที่ผ่านมา คอม้าบริเวณยอดองค์พระปรางค์มีบางส่วนได้หักลงมา และล่าสุด ม้าอีกตัวหนึ่งก็หักลงมา จึงหารือกับกรมศิลปากร ว่า ม้าที่ประดับบนพระปรางค์ทั้ง 4 ทิศ ควรบูรณะอย่างเร่งด่วน โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายของกรมศิลปากร ประมาณ 5 แสนบาท เพื่อใช้ในการบูรณะให้กลับมาแข็งแรงและสวยงามดั่งเดิม คาดว่า จะเริ่มบูรณะปลายเดือนสิงหาคมนี้
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า วัดอรุณ กับ กรมศิลปากร มีโครงการบูรณะวัดอรุณ ครั้งใหญ่ในปี 2557 ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท โดยจะบูรณะตัวองค์พระปรางค์ และภูมิทัศน์โดยรอบ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ดำเนินบูรณะคอม้าทั้ง 4 ทิศ จะประสานกับทางวัดให้ปิดตัวองค์พระปรางค์เป็นบางส่วน เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวที่เข้ามาได้รับอันตราย นอกจากนี้ ยังให้กรมศิลปากรประสานงานกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) นำเครื่องตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน มาติดตั้งในพื้นที่วัดอรุณ เพื่อวัดแรงสั่นสะเทือนการขึ้นลงองค์พระปรางค์ ว่า มีผลกระทบต่อโครงสร้างขององค์พระปรางค์หรือไม่ ถ้าผลการวัดพบว่ามีผลกระทบจริง จะหารือกับทางวัดว่าจะให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปบนเพียงบางส่วนเท่านั้น
“ ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก องค์พระปรางค์ยังไม่ได้รับผลกระทบ มีเพียงคอม้าที่ตกลงมาเท่านั้น เราในฐานะที่เป็นหน่วยงานดูแลโบราณสถาน ก็ได้มอบให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลอยู่เป็นระยะ ล่าสุด ทราบว่า เจ้าหน้าที่ก็เพิ่งเข้ามาตรวจสอบเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาแต่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งตรงนี้ ตนก็ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ว่า หากวัดมีปัญหาอะไรให้ประสานมายังกรมศิลปากรอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ หากประชาชนอยากที่จะมีส่วนร่วมบูรณะโบราณสถาน สามารถสมทบทุนเข้า กองทุนเพื่อการบูรณะโบราณสถาน เลขที่บัญชี 081-0-09603-6 ธนาคารกรุงไทย สาขาราชดำเนินได้” นางสุกุมล กล่าว
ด้านนางโสมสุดา กล่าวว่า การบูรณะประติมกรรมคอม้าที่หักนั้น จะเก็บรักษาปูนเดิมที่ร่วงหล่น หากมีสภาพดีเพียงพอก็จะนำไปติดตั้งที่เดิม โดยการปั้นเสริมในส่วนที่ขาด เสริมโครงสร้างแกนให้เชื่อมต่อกับประติมากรรมที่ติดองค์พระปรางค์เดิม หากสภาพปูนเดิมที่ร่วงหล่นมีสภาพชำรุดและเสื่อมสภาพ จะปั้นเสริมใหม่ โดยการกระสวนแบบ หรือคัดลอกมาจากพระปรางค์ทิศอื่นๆ ที่ยังปรากฏอยู่ และพอจะใช้ทำต้นแบบได้ การปั้นจะใช้ปูนโบราณ คือ ปูนน้ำอ้อย หรือปูนหมัก ในส่วนงานละเอียดก็จะใช้ปูนปั้น หรือปูนเพชร ในการขึ้นรูปแต่งรายละเอียด พร้อมกำชับให้สำนักโบราณคดีตรวจสอบความแข็งแรงของประติมากรรมในบริเวณองค์พระปรางค์ทั้งหมด หากมีชิ้นส่วนใดที่มีแนวโน้มว่าจะร่วงหล่นเป็นอันตราย ให้ซ่อมทันที
ส่วนกรณีการบูรณะใหญ่และการล้างชำระเชื้อราและคราบดำขององค์พระปรางค์ ตามปกติจะดำเนินการเป็นวงรอบโดยประมาณ 23-25 ปีต่อครั้ง การบูรณะครั้งที่ผ่านๆ มาได้มีขึ้นเมื่อปี 2510-2511 และบูรณะใหญ่อีกหนเมื่อปี 2538-2539 ทั้งนี้ การบูรณะแบบเต็มองค์มีปัญหาที่จะต้องตั้งนั่งร้านเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นผลเสียต่อการท่องเที่ยวเพราะนักท่องเที่ยวไม่สามารถชมความงามของพระปรางค์และไม่สามรถถ่ายรูปพระปรางค์เต็มองค์ได้ การบูรณะและการขัดล้างจึงจะควรทำตามวงรอบคือประมาณ 20 ปี ส่วนการซ่อมเล็กน้อยเป็นการดำเนินการตามลักษณะงานที่ชำรุดไปตามสภาพ
ด้านพระครูอรุณธรรมานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณ กล่าวว่า ล่าสุด ได้มีข้อมูลแจ้งไปว่า ยอดพระปรางค์วัดอรุณถล่ม เป็นเรื่องที่เข้าใจคลาดเคลื่อนกัน ทางวัดอรุณ จึงขอชี้แจงว่า ยอดพระปรางค์ไม่ได้ถล่ม มีเพียงคอม้าที่หักลงมาเท่านั้น ส่วนโครงสร้างพระปรางค์ยังแข็งแรง ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากกรมศิลปากรเข้ามาบูรณะในส่วนของคอม้า และการบูรณะใหญ่ ทางวัดจะต้องมีการปิดพื้นที่บางส่วน เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวได้รับอันตราย