เด็กไทยพัฒนาการช้ามากกว่า 1.2 ล้านคน พบเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ พัฒนาการสมวัย 4 ด้านเพียง 70% เสี่ยงไอคิวต่ำ สธ.เร่งจัดโครงการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กฟรี ในคลินิกสุขภาพเด็กดีทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ตั้งแต่ 12 ส.ค.-12 ก.ย.นี้ พร้อมแจกคู่มือกิน กอด เล่น เล่าให้พ่อแม่ฟรี 4 แสนเล่ม กระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้สมวัย
วันนี้ (10 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังแถลงข่าว “โครงการรณรงค์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี” ว่า ผลสำรวจของกรมอนามัยในปี 2553 ประเทศไทยพบเด็กบกพร่องทางพัฒนาการร้อยละ 1-2 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประมาณ 1 ล้าน 2 แสนคน โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีประมาณ 4 ล้านคน มีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 70 หรือประมาณ 3 ล้านคนเท่านั้น ในจำนวนนี้มีเด็กเพียงร้อยละ 20 ที่ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี และพบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 5.23 เท่านั้น สธ.ได้วางแผนแก้ไขโดยการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการด้านเด็กปฐมวัยตามนโยบายรัฐบาล พ.ศ. 2555-2559 เร่งรัดให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้านอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง เพื่อเด็กทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยทั้งด้านร่างกาย และสติปัญญา โดยมีนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดคลินิกสุขภาพเด็กดีดูแลเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ปี โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดแล้ว ขณะเดียวกันมีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ รณรงค์ให้หญิงฝากครรภ์อย่างน้อย 4 ครั้งก่อนคลอด
นายวิทยากล่าวอีกว่า สธ.ได้จัดทำโครงการรณรงค์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยฯ เพื่อทำการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กจำนวน 4 แสนคนทั่วประเทศ หรือร้อยละ 50 ของเด็กที่เกิดในปี 2553 โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. - 12 ก.ย. 2555 ในคลินิกสุขภาพเด็กดีของโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง แบบไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. 2555 และน้อมรับคำขวัญวันแม่พระราชทานประจำปี 2555 ว่า “มือของแม่นั้นคือมือช่างปั้นขึ้นรูปอันอ่อนลออจนหล่อเหลา อยากให้เป็นงานดีที่งามเงา อยู่ที่คอยขัดเกลาแต่เบามือ” ด้วย
นายวิทยากล่าวด้วยว่า สธ.จะจัดพิมพ์หนังสือกิน กอด เล่น เล่า จำนวน 400,000 เล่ม เพื่อแจกให้แม่นำไปใช้เป็นคู่มือส่งเสริมพัฒนาการลูก ประกอบด้วย โภชนาการอาหารของเด็ก การกอดลูกสร้างความรักความผูกพัน ความอบอุ่นให้เด็ก การเล่น/ของเล่นของเด็กตามวัย และการเล่านิทานให้เด็กฟัง หากพบว่าเด็กรายใดมีพัฒนาการไม่สมวัย จะแนะนำเทคนิควิธีการผู้ปกครองช่วยกันกระตุ้น ส่งเสริม และติดตามผลต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กเข้าสู่การเรียนรู้ในโรงเรียน ป้องกันปัญหาเด็กไอคิวต่ำ รายใดที่พัฒนาการบกพร่องรุนแรง จะให้การดูแลบำบัดฟื้นฟูเป็นการเฉพาะและทันท่วงที จะทำให้ปัญหาเด็กไทยมีพัฒนาล่าช้าหรือมีสติปัญญาต่ำลดลง
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.กล่าวว่า พัฒนาการเด็กมี 4 ด้าน ได้แก่ สติปัญญา การเคลื่อนไหว การสื่อสาร และทักษะทางสังคม เด็กที่มีพัฒนาการดังกล่าวล่าช้าในระยะหน้าต่างทองของการพัฒนาคืออายุต่ำกว่า 3 ปี จะส่งผลกระทบต่อระดับเชาวน์ปัญญา การปรับตัว อาจจะมีหรือไม่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือ จิตร่วมด้วย โดยเฉพาะเด็กอายุ 5 ปีแรกซึ่งจะมีพัฒนาการทางด้านสมองมากที่สุด หากมีพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น อ่อนแอ รูปร่างแคระแกร็น ศีรษะค่อนข้างเล็ก หรือโต ประวัติการเจริญเติบโตล่าช้า คือ มีการคว่ำ คลาน นั่ง ยืน เดิน ช้ากว่าเด็กปกติ จะมีโอกาสเกิดไอคิวต่ำมาก และส่งผลให้เด็ก มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1. กล้ามเนื้อการเคลื่อนไหวทำงานไม่ประสานกันระหว่างมือกับสายตา 2. ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี 3. พูดไม่ชัด ความรู้ทางภาษาจำกัด และ 4. มักประสบความล้มเหลวในการเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เด็กออกนอกระบบการศึกษา
วันนี้ (10 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังแถลงข่าว “โครงการรณรงค์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี” ว่า ผลสำรวจของกรมอนามัยในปี 2553 ประเทศไทยพบเด็กบกพร่องทางพัฒนาการร้อยละ 1-2 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประมาณ 1 ล้าน 2 แสนคน โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีประมาณ 4 ล้านคน มีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 70 หรือประมาณ 3 ล้านคนเท่านั้น ในจำนวนนี้มีเด็กเพียงร้อยละ 20 ที่ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี และพบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 5.23 เท่านั้น สธ.ได้วางแผนแก้ไขโดยการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการด้านเด็กปฐมวัยตามนโยบายรัฐบาล พ.ศ. 2555-2559 เร่งรัดให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้านอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง เพื่อเด็กทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยทั้งด้านร่างกาย และสติปัญญา โดยมีนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดคลินิกสุขภาพเด็กดีดูแลเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ปี โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดแล้ว ขณะเดียวกันมีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ รณรงค์ให้หญิงฝากครรภ์อย่างน้อย 4 ครั้งก่อนคลอด
นายวิทยากล่าวอีกว่า สธ.ได้จัดทำโครงการรณรงค์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยฯ เพื่อทำการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กจำนวน 4 แสนคนทั่วประเทศ หรือร้อยละ 50 ของเด็กที่เกิดในปี 2553 โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. - 12 ก.ย. 2555 ในคลินิกสุขภาพเด็กดีของโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง แบบไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. 2555 และน้อมรับคำขวัญวันแม่พระราชทานประจำปี 2555 ว่า “มือของแม่นั้นคือมือช่างปั้นขึ้นรูปอันอ่อนลออจนหล่อเหลา อยากให้เป็นงานดีที่งามเงา อยู่ที่คอยขัดเกลาแต่เบามือ” ด้วย
นายวิทยากล่าวด้วยว่า สธ.จะจัดพิมพ์หนังสือกิน กอด เล่น เล่า จำนวน 400,000 เล่ม เพื่อแจกให้แม่นำไปใช้เป็นคู่มือส่งเสริมพัฒนาการลูก ประกอบด้วย โภชนาการอาหารของเด็ก การกอดลูกสร้างความรักความผูกพัน ความอบอุ่นให้เด็ก การเล่น/ของเล่นของเด็กตามวัย และการเล่านิทานให้เด็กฟัง หากพบว่าเด็กรายใดมีพัฒนาการไม่สมวัย จะแนะนำเทคนิควิธีการผู้ปกครองช่วยกันกระตุ้น ส่งเสริม และติดตามผลต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กเข้าสู่การเรียนรู้ในโรงเรียน ป้องกันปัญหาเด็กไอคิวต่ำ รายใดที่พัฒนาการบกพร่องรุนแรง จะให้การดูแลบำบัดฟื้นฟูเป็นการเฉพาะและทันท่วงที จะทำให้ปัญหาเด็กไทยมีพัฒนาล่าช้าหรือมีสติปัญญาต่ำลดลง
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.กล่าวว่า พัฒนาการเด็กมี 4 ด้าน ได้แก่ สติปัญญา การเคลื่อนไหว การสื่อสาร และทักษะทางสังคม เด็กที่มีพัฒนาการดังกล่าวล่าช้าในระยะหน้าต่างทองของการพัฒนาคืออายุต่ำกว่า 3 ปี จะส่งผลกระทบต่อระดับเชาวน์ปัญญา การปรับตัว อาจจะมีหรือไม่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือ จิตร่วมด้วย โดยเฉพาะเด็กอายุ 5 ปีแรกซึ่งจะมีพัฒนาการทางด้านสมองมากที่สุด หากมีพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น อ่อนแอ รูปร่างแคระแกร็น ศีรษะค่อนข้างเล็ก หรือโต ประวัติการเจริญเติบโตล่าช้า คือ มีการคว่ำ คลาน นั่ง ยืน เดิน ช้ากว่าเด็กปกติ จะมีโอกาสเกิดไอคิวต่ำมาก และส่งผลให้เด็ก มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1. กล้ามเนื้อการเคลื่อนไหวทำงานไม่ประสานกันระหว่างมือกับสายตา 2. ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี 3. พูดไม่ชัด ความรู้ทางภาษาจำกัด และ 4. มักประสบความล้มเหลวในการเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เด็กออกนอกระบบการศึกษา