สุ่มตรวจเกลือบริโภคเมืองสมุทร-เพชรบุรี พบเสริมไอโอดีนไม่ผ่านเกณฑ์ถึง 72.7% มีทั้งปริมาณต่ำและสูงเกินไป ชี้ ผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์ แถมเสี่ยงเป็นพิษต่อร่างกาย จี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคุมการผลิตเกลือ แนะผู้ประกอบการใช้ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคก่อนวางจำหน่าย
วันนี้ (8 ส.ค.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม 2555 มีการนำเสนอผลงานทางวิชาการมากกว่า 140 เรื่อง โดย นางจิราภา อุณหเลขกะ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการศึกษา เรื่อง “สถานการณ์ไอโอดีนในเกลือบริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี” ด้วยการศึกษาปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคจากแหล่งจำหน่ายและผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ ด้วยการสุ่มเกลือสินเธาว์ และเกลือสมุทร ที่มีและไม่มีฉลากแจ้งเสริมไอโอดีน จากร้านค้าริมถนนพระราม 2 จำนวน 94 ร้าน จากทั้งหมด 148 ร้าน จำนวน 126 ตัวอย่าง และจากร้านค้าในตลาดที่มีโครงสร้างถาวรในสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี จำนวน 11 ตัวอย่าง ที่มีเครื่องหมายการค้าไม่ซ้ำกัน รวม 137 ตัวอย่าง ดำเนินการเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2554 แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนด้วยวิธีการไตเตรท ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยพบว่าเป็นเกลือป่นที่ระบุว่าเสริมไอโอดีน จำนวน 27 ตัวอย่าง และเกลือไม่เสริมไอโอดีน จำนวน 110 ตัวอย่าง
นางจิราภา กล่าวอีกว่า ในส่วนของตัวอย่างที่เก็บจากร้านค้าในตลาดที่มีโครงสร้างถาวรใน 3 จังหวัด จำนวน 11 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้มีปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคไม่น้อยกว่า 20 และไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพียง 27.3% ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานถึง 72.7% สำหรับตัวอย่างจากตลาดที่มีโครงสร้างและร้านค้าแผงลอยริมถนนที่มีฉลากแจ้งว่าเสริมไอโอดีน จำนวน 27 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียง 26% ที่เหลือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และเกลือสมุทรที่ไม่เสริมไอโอดีนทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
นางจิราภา กล่าวด้วยว่า เกลือบริโภคที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีทั้งที่มีปริมาณไอโอดีนเกินค่ามาตรฐาน และต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะค่ามาตรฐานของปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคเดิมกำหนดว่าไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ผ่านมา ผู้ผลิตจำนวนมากจึงเติมไอโอดีนลงไปในปริมาณที่มากไว้ก่อน ซึ่งอาจจะเติมถึง 40 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งหากผู้บริโภคได้รับไอโอดีนในปริมาณที่น้อยจะไม่เกิดประโยชน์กับร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายแทน ดังนั้น ผู้ผลิตเกลือบริโภคควรใช้ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคก่อนที่จะวางจำหน่ายเกลือบริโภค เพราะจะทำให้ทราบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภค โดยปัจจุบันมี 3 หน่วยงานที่สามารถผลิตชุดทดสอบได้ คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย และมหาวิทยาลัยมหิดล
“ในธรรมชาติทั้งเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์ มีปริมาณไอโอดีนค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว ในเกลือบริโภคจึงต้องมีการกำหนดให้มีการเติมไอโอดีนลงไปเพิ่ม ซึ่งเกลือบริโภคนิยมนำเกลือสินเธาว์มาเพิ่มไอโอดีน เพราะเกลือสมุทรผลึกใหญ่ยากที่จะนำมาทำเป็นเกลือบริโภค มีบ้างบางส่วนที่ใช้เกลือสมุทรมาบดเป็นผงแต่ไม่มาก ส่วนเกลือที่จำหน่ายเป็นถุงใหญ่บางส่วนก็ไม่ใช่เกลือบริโภค อาจจะเป็นเกลือที่นำไปดองผัก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเติมไอโอดีน เพราะฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะตรวจสอบควบคุมการผลิตเกลือบริโภคให้มีปริมาณไอโอดีนได้มาตรฐานและเป็นไปตามที่แสดงในฉลากต่อไป” นางจิราภา กล่าว
วันนี้ (8 ส.ค.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม 2555 มีการนำเสนอผลงานทางวิชาการมากกว่า 140 เรื่อง โดย นางจิราภา อุณหเลขกะ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการศึกษา เรื่อง “สถานการณ์ไอโอดีนในเกลือบริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี” ด้วยการศึกษาปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคจากแหล่งจำหน่ายและผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ ด้วยการสุ่มเกลือสินเธาว์ และเกลือสมุทร ที่มีและไม่มีฉลากแจ้งเสริมไอโอดีน จากร้านค้าริมถนนพระราม 2 จำนวน 94 ร้าน จากทั้งหมด 148 ร้าน จำนวน 126 ตัวอย่าง และจากร้านค้าในตลาดที่มีโครงสร้างถาวรในสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี จำนวน 11 ตัวอย่าง ที่มีเครื่องหมายการค้าไม่ซ้ำกัน รวม 137 ตัวอย่าง ดำเนินการเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2554 แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนด้วยวิธีการไตเตรท ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยพบว่าเป็นเกลือป่นที่ระบุว่าเสริมไอโอดีน จำนวน 27 ตัวอย่าง และเกลือไม่เสริมไอโอดีน จำนวน 110 ตัวอย่าง
นางจิราภา กล่าวอีกว่า ในส่วนของตัวอย่างที่เก็บจากร้านค้าในตลาดที่มีโครงสร้างถาวรใน 3 จังหวัด จำนวน 11 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้มีปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคไม่น้อยกว่า 20 และไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพียง 27.3% ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานถึง 72.7% สำหรับตัวอย่างจากตลาดที่มีโครงสร้างและร้านค้าแผงลอยริมถนนที่มีฉลากแจ้งว่าเสริมไอโอดีน จำนวน 27 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียง 26% ที่เหลือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และเกลือสมุทรที่ไม่เสริมไอโอดีนทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
นางจิราภา กล่าวด้วยว่า เกลือบริโภคที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีทั้งที่มีปริมาณไอโอดีนเกินค่ามาตรฐาน และต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะค่ามาตรฐานของปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคเดิมกำหนดว่าไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ผ่านมา ผู้ผลิตจำนวนมากจึงเติมไอโอดีนลงไปในปริมาณที่มากไว้ก่อน ซึ่งอาจจะเติมถึง 40 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งหากผู้บริโภคได้รับไอโอดีนในปริมาณที่น้อยจะไม่เกิดประโยชน์กับร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายแทน ดังนั้น ผู้ผลิตเกลือบริโภคควรใช้ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคก่อนที่จะวางจำหน่ายเกลือบริโภค เพราะจะทำให้ทราบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภค โดยปัจจุบันมี 3 หน่วยงานที่สามารถผลิตชุดทดสอบได้ คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย และมหาวิทยาลัยมหิดล
“ในธรรมชาติทั้งเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์ มีปริมาณไอโอดีนค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว ในเกลือบริโภคจึงต้องมีการกำหนดให้มีการเติมไอโอดีนลงไปเพิ่ม ซึ่งเกลือบริโภคนิยมนำเกลือสินเธาว์มาเพิ่มไอโอดีน เพราะเกลือสมุทรผลึกใหญ่ยากที่จะนำมาทำเป็นเกลือบริโภค มีบ้างบางส่วนที่ใช้เกลือสมุทรมาบดเป็นผงแต่ไม่มาก ส่วนเกลือที่จำหน่ายเป็นถุงใหญ่บางส่วนก็ไม่ใช่เกลือบริโภค อาจจะเป็นเกลือที่นำไปดองผัก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเติมไอโอดีน เพราะฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะตรวจสอบควบคุมการผลิตเกลือบริโภคให้มีปริมาณไอโอดีนได้มาตรฐานและเป็นไปตามที่แสดงในฉลากต่อไป” นางจิราภา กล่าว