รองผู้ว่าฯ กทม.มั่นใจ กทม.สามารถบริหารจัดการน้ำได้ เชื่อแม้เกิดปัญหาน้ำท่วมอีกครั้งก็ไม่เป็นปัญหาของประชาชน
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงแผนการเตรียมรับน้ำท่วม ว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักการระบายน้ำ (สนน.) และสำนักงานเขตต่างๆ เข้ามาดูแล โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ลักษณะ คือ สำนักการระบายน้ำ จะรับผิดชอบดูแลส่วนกลาง ในคลองสายหลัก และถนนสายหลัก ส่วนสำนักงานเขต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เขตที่ประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมา18 เขต ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ส่วนเขตที่เหลือก็จะแบ่งเป็นชั้นกลาง และชั้นใน ด้าน 18 เขตที่ประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมา ผู้อำนวยการเขตได้มีการกำชับว่า ให้มีการขุดลอกคลองต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต และกรมราชทัณฑ์ เข้ามาช่วยดูแล ซึ่งขณะนี้โครงการดำเนินการไปแล้ว 90%
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ตนเองเชื่อว่าหากเกิดปัญหาอุทกภัยอีกครั้ง จะไม่เป็นปัญหาของประชาชนอย่างแน่นอน เพราะทาง กทม.มีการประสานงาน กับกรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ำ ให้เข้ามาดูแลเรื่องการระบายน้ำ หากมีน้ำในปริมาณมาก เขื่อนต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อาทิ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังสามารถรองรับน้ำได้อีก หากเกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือ ดังนั้น เมื่อมีเนื้อที่ในการกักเก็บน้ำ การปล่อยน้ำลงมาในจังหวัดที่เป็นกลางน้ำและปลายน้ำ อย่าง กทม.ก็ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนเหมือนปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้น้ำจะผ่าน กทม.ลงสู่ทะเล แต่ถ้ามาในระยะเวลาที่ไม่กระชั้นชิด และปริมาณไม่มาก กทม.ก็สามารถดูแลได้โดยไม่มีปัญหา ตนเองมีความเชื่อมั่น
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงแผนการเตรียมรับน้ำท่วม ว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักการระบายน้ำ (สนน.) และสำนักงานเขตต่างๆ เข้ามาดูแล โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ลักษณะ คือ สำนักการระบายน้ำ จะรับผิดชอบดูแลส่วนกลาง ในคลองสายหลัก และถนนสายหลัก ส่วนสำนักงานเขต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เขตที่ประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมา18 เขต ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ส่วนเขตที่เหลือก็จะแบ่งเป็นชั้นกลาง และชั้นใน ด้าน 18 เขตที่ประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมา ผู้อำนวยการเขตได้มีการกำชับว่า ให้มีการขุดลอกคลองต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต และกรมราชทัณฑ์ เข้ามาช่วยดูแล ซึ่งขณะนี้โครงการดำเนินการไปแล้ว 90%
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ตนเองเชื่อว่าหากเกิดปัญหาอุทกภัยอีกครั้ง จะไม่เป็นปัญหาของประชาชนอย่างแน่นอน เพราะทาง กทม.มีการประสานงาน กับกรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ำ ให้เข้ามาดูแลเรื่องการระบายน้ำ หากมีน้ำในปริมาณมาก เขื่อนต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อาทิ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังสามารถรองรับน้ำได้อีก หากเกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือ ดังนั้น เมื่อมีเนื้อที่ในการกักเก็บน้ำ การปล่อยน้ำลงมาในจังหวัดที่เป็นกลางน้ำและปลายน้ำ อย่าง กทม.ก็ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนเหมือนปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้น้ำจะผ่าน กทม.ลงสู่ทะเล แต่ถ้ามาในระยะเวลาที่ไม่กระชั้นชิด และปริมาณไม่มาก กทม.ก็สามารถดูแลได้โดยไม่มีปัญหา ตนเองมีความเชื่อมั่น