กทม.เตรียมแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแยกการบริหาร กทม.เป็น 2 ส่วน มีการเลือกตั้งนายกนครบาล หลัง “วิชาญ” เสนอมหาดไทยให้พิจารณา
วันนี้ (30 ก.ค.) นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ส่งร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน (ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับคณะเป็นผู้เสนอ) ให้ผู้ว่าฯ กทม.พิจารณา ซึ่งร่างดังกล่าวมีเนื้อหาหลัก คือ มุ่งปรับโครงสร้าง กทม.เป็น 2 ชั้น มี กทม.และมีนคร 50 เขต เป็นส่วนราชการของ กทม.มีการเลือกตั้งนายกนครบาลโดยตรง และมีฝ่ายข้าราชการประจำนคร คือ ปลัดนครบาล คณะผู้บริหาร กทม. มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ให้ นายวัลลภ สุวรรณดี
รองผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธาน เพื่อจะได้สอดคล้องกับการทำงานของคณะกรรมการยกร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมี นายวัลลภ เป็นประธานเช่นเดียวกัน โดยคณะกรรมการชุดนี้ จะมีหน้าที่พิจารณาถึงผลดีผลเสีย โดยเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้อยู่ในขณะนี้ หรือเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันของหน่วยงานหากกำลังยกร่าง รวมทั้งสมควรให้คำรับรองหรือไม่รับรอง พร้อมให้เหตุผลประกอบ และมีนโยบายในเรื่องนี้อย่างไร เพื่อสรุปตอบกลับไปยังกระทรวงมหาดไทยต่อไป
วันนี้ (30 ก.ค.) นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ส่งร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน (ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับคณะเป็นผู้เสนอ) ให้ผู้ว่าฯ กทม.พิจารณา ซึ่งร่างดังกล่าวมีเนื้อหาหลัก คือ มุ่งปรับโครงสร้าง กทม.เป็น 2 ชั้น มี กทม.และมีนคร 50 เขต เป็นส่วนราชการของ กทม.มีการเลือกตั้งนายกนครบาลโดยตรง และมีฝ่ายข้าราชการประจำนคร คือ ปลัดนครบาล คณะผู้บริหาร กทม. มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ให้ นายวัลลภ สุวรรณดี
รองผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธาน เพื่อจะได้สอดคล้องกับการทำงานของคณะกรรมการยกร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมี นายวัลลภ เป็นประธานเช่นเดียวกัน โดยคณะกรรมการชุดนี้ จะมีหน้าที่พิจารณาถึงผลดีผลเสีย โดยเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้อยู่ในขณะนี้ หรือเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันของหน่วยงานหากกำลังยกร่าง รวมทั้งสมควรให้คำรับรองหรือไม่รับรอง พร้อมให้เหตุผลประกอบ และมีนโยบายในเรื่องนี้อย่างไร เพื่อสรุปตอบกลับไปยังกระทรวงมหาดไทยต่อไป