กทม.ซ้อมใหญ่แผนรับมืออุทกภัย วางระบบแจ้งเตือน 3 ระยะ
วันนี้ (30 ก.ค.) เวลา 14.00 น.ที่เชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี เขตบางพลัด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปิดพิธีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุอุทกภัยกรุงเทพมหานคร โดยมี นายยุทธศักดิ์ ร่มฉัตรทอง ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กล่าวรายงานว่า ปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ประเทศไทยได้รับผลกระทบหลายด้าน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงต้องจัดทำแผนเพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือ โดยสั่งการให้หน่วยงานจัดทำแผนไปพร้อมกัน เพื่อทดสอบความพร้อมในการตอบโต้สถานการณ์เมื่อเกิดเหตุ โดยจำลองสถานการณ์ความรุนแรงระดับ 2 กรณีที่ผู้อำนวยการเขตไม่สามารถควบคุมสถานการณ์เพียงลำพังได้ จึงจะมีการเตรียมการแจ้งเตือน อพยพ การบริหารศูนย์พักพิงเมื่อเผชิญเหตุน้ำท่วม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมในเรื่องความปลอดภัยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของเมืองหลวงทั่วโลก โดยหลังจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 กทม.จึงได้วางมาตรการเตรียมความพร้อมเป็น 3 ระยะ ทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ให้มีการจัดทำแผนรับสถานการณ์ทันที ซึ่งการฝึกซ้อมครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมพัฒนาระบบป้องกันของทุกฝ่ายเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
จากนั้นเวลา 15.00 น.เริ่มการฝึกซ้อมจริงโดยใช้ผู้ร่วมฝึกซ้อมทั้งหมดกว่า 800 คน เป็นการจำลองสถานการณ์สำคัญเสมือนจริง 4 ขั้นตอน โดยใช้พื้นที่ฝึกซ้อม และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเขตบางพลัด ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ประสบเหตุน้ำท่วมใหญ่ โดยการฝึกซ้อมเริ่มจากการแจ้งเตือนภัย ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอุทกภัย สั่งการระดมกำลังจากหน่วยงาน เพื่อแจ้งเตือนภัยและเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่การอพยพ ทั้งทางบกและทางน้ำเพื่อส่งต่อไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ที่สามารถรองรับประชาชนได้ถึง 200 คน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเผชิญเหตุแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตเข้าชี้แจง ทำความเข้าใจให้กับประชาชนกรณีเกิดเหตุการณ์รื้อกระสอบทรายในแนวกั้นน้ำ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการฝึกซ้อม ว่า การเตรียมพร้อม กทม.ต้องมีการประสานงานจากหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาบ้าง จึงต้องมีการวางระบบตรงนี้ให้ดีที่สุด เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอาจจะปฎิบัติได้ยาก ส่วนกรณีเงินเยียวยาน้ำท่วม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เตือนมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ จะให้ทุกที่จ่ายเงินเท่าเทียมกันคงไม่ได้ นอกจากพบว่ามีความเสียหายเท่ากัน แต่ตนได้กำชับเจ้าหน้าให้ใจกว้างในการตีความสิ่งที่เสียหาย โดยจะยึดตามอักษรอย่างเดียวไม่ได้ เพราะต้องตีความให้เป็นประโยชน์จากประชาชนมากที่สุด
“ระเบียบกระทรวงการคลัง เราทำตามอย่างอย่างเคร่งครัด แต่การตีความข้อเท็จจริงจะต้องเพื่อประโยชน์ประชาชน หากตีความแล้วประชาชนเดือดร้อน คงจะไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน”ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
วันนี้ (30 ก.ค.) เวลา 14.00 น.ที่เชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี เขตบางพลัด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปิดพิธีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุอุทกภัยกรุงเทพมหานคร โดยมี นายยุทธศักดิ์ ร่มฉัตรทอง ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กล่าวรายงานว่า ปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ประเทศไทยได้รับผลกระทบหลายด้าน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงต้องจัดทำแผนเพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือ โดยสั่งการให้หน่วยงานจัดทำแผนไปพร้อมกัน เพื่อทดสอบความพร้อมในการตอบโต้สถานการณ์เมื่อเกิดเหตุ โดยจำลองสถานการณ์ความรุนแรงระดับ 2 กรณีที่ผู้อำนวยการเขตไม่สามารถควบคุมสถานการณ์เพียงลำพังได้ จึงจะมีการเตรียมการแจ้งเตือน อพยพ การบริหารศูนย์พักพิงเมื่อเผชิญเหตุน้ำท่วม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมในเรื่องความปลอดภัยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของเมืองหลวงทั่วโลก โดยหลังจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 กทม.จึงได้วางมาตรการเตรียมความพร้อมเป็น 3 ระยะ ทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ให้มีการจัดทำแผนรับสถานการณ์ทันที ซึ่งการฝึกซ้อมครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมพัฒนาระบบป้องกันของทุกฝ่ายเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
จากนั้นเวลา 15.00 น.เริ่มการฝึกซ้อมจริงโดยใช้ผู้ร่วมฝึกซ้อมทั้งหมดกว่า 800 คน เป็นการจำลองสถานการณ์สำคัญเสมือนจริง 4 ขั้นตอน โดยใช้พื้นที่ฝึกซ้อม และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเขตบางพลัด ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ประสบเหตุน้ำท่วมใหญ่ โดยการฝึกซ้อมเริ่มจากการแจ้งเตือนภัย ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอุทกภัย สั่งการระดมกำลังจากหน่วยงาน เพื่อแจ้งเตือนภัยและเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่การอพยพ ทั้งทางบกและทางน้ำเพื่อส่งต่อไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ที่สามารถรองรับประชาชนได้ถึง 200 คน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเผชิญเหตุแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตเข้าชี้แจง ทำความเข้าใจให้กับประชาชนกรณีเกิดเหตุการณ์รื้อกระสอบทรายในแนวกั้นน้ำ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการฝึกซ้อม ว่า การเตรียมพร้อม กทม.ต้องมีการประสานงานจากหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาบ้าง จึงต้องมีการวางระบบตรงนี้ให้ดีที่สุด เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอาจจะปฎิบัติได้ยาก ส่วนกรณีเงินเยียวยาน้ำท่วม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เตือนมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ จะให้ทุกที่จ่ายเงินเท่าเทียมกันคงไม่ได้ นอกจากพบว่ามีความเสียหายเท่ากัน แต่ตนได้กำชับเจ้าหน้าให้ใจกว้างในการตีความสิ่งที่เสียหาย โดยจะยึดตามอักษรอย่างเดียวไม่ได้ เพราะต้องตีความให้เป็นประโยชน์จากประชาชนมากที่สุด
“ระเบียบกระทรวงการคลัง เราทำตามอย่างอย่างเคร่งครัด แต่การตีความข้อเท็จจริงจะต้องเพื่อประโยชน์ประชาชน หากตีความแล้วประชาชนเดือดร้อน คงจะไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน”ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว