9 มิ.ย.นี้ กทม.ขอเชิญชวนประชาชนเฝ้าฯ ชื่นชมพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเสด็จฯเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.8
วันนี้ (2 มิ.ย.) เวลา 10.00 น.ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมการจัดพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ เชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด ในวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2555 เวลา 17.30 น.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมการจัดพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯ และจัดพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสมพระเกียรติ ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของปวงชนชาวไทยที่จะได้เฝ้าชื่นชมพระบารมี และถวายความจงรักภักดีตลอดเส้นทางเสด็จฯ ตั้งแต่โรงพยาบาลศิริราช ไปจนถึงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด โดย กทม.ได้เข้าสำรวจและปรับปรุงด้านกายภาพของพื้นที่ดังกล่าว และเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ แก่ประชาชนที่จะมาเฝ้ารับเสด็จฯ อาทิ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ น้ำดื่มบริการประชาชน ฯลฯ
สำหรับความเป็นมาของพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 นั้น เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อให้พระบรมราชานุสาวรีย์มีความยิ่งใหญ่สง่างามสมพระเกียรติ และเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสะพานพระราม 8 ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2538 โดยพระองค์มีพระราชดำริให้ กทม.ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ
โดยภายใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ ยังได้ถูกออกแบบให้เป็นอาคารอเนกประสงค์บนพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดีในหลายๆ ด้าน มีบรรยากาศและทิวทัศน์งดงามสามารถมองเห็นสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้หลายแห่ง เช่น ป้อมพระสุเมรุ วังบางขุนพรหม ยอดอาคารโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสะพานพระปิ่นเกล้า รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาให้เกิดภูมิทัศน์ที่ดี เป็นมุมมองที่สำคัญแห่งใหม่ของการสัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งการสัญจรบนสะพานพระราม 8
นอกจากนี้ กทม.ได้ก่อสร้างสวนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 8 ในพื้นที่บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณฝั่งธนบุรี เพื่อถวายเป็นราชสักการะ ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนได้ถวายความเคารพและใช้เป็นสถานที่สาธารณะ สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งต่อมาสวนแห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “สวนหลวงพระราม 8” และเนื่องจากเป็นสวนสาธารณะประกอบพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 ประชาชนทั่วไปสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อน หรือออกกำลังกาย ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่จะได้รำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภายใต้บรรยากาศความร่มรื่นและภูมิทัศน์ที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
วันนี้ (2 มิ.ย.) เวลา 10.00 น.ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมการจัดพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ เชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด ในวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2555 เวลา 17.30 น.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมการจัดพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯ และจัดพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสมพระเกียรติ ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของปวงชนชาวไทยที่จะได้เฝ้าชื่นชมพระบารมี และถวายความจงรักภักดีตลอดเส้นทางเสด็จฯ ตั้งแต่โรงพยาบาลศิริราช ไปจนถึงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด โดย กทม.ได้เข้าสำรวจและปรับปรุงด้านกายภาพของพื้นที่ดังกล่าว และเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ แก่ประชาชนที่จะมาเฝ้ารับเสด็จฯ อาทิ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ น้ำดื่มบริการประชาชน ฯลฯ
สำหรับความเป็นมาของพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 นั้น เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อให้พระบรมราชานุสาวรีย์มีความยิ่งใหญ่สง่างามสมพระเกียรติ และเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสะพานพระราม 8 ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2538 โดยพระองค์มีพระราชดำริให้ กทม.ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ
โดยภายใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ ยังได้ถูกออกแบบให้เป็นอาคารอเนกประสงค์บนพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดีในหลายๆ ด้าน มีบรรยากาศและทิวทัศน์งดงามสามารถมองเห็นสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้หลายแห่ง เช่น ป้อมพระสุเมรุ วังบางขุนพรหม ยอดอาคารโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสะพานพระปิ่นเกล้า รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาให้เกิดภูมิทัศน์ที่ดี เป็นมุมมองที่สำคัญแห่งใหม่ของการสัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งการสัญจรบนสะพานพระราม 8
นอกจากนี้ กทม.ได้ก่อสร้างสวนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 8 ในพื้นที่บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณฝั่งธนบุรี เพื่อถวายเป็นราชสักการะ ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนได้ถวายความเคารพและใช้เป็นสถานที่สาธารณะ สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งต่อมาสวนแห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “สวนหลวงพระราม 8” และเนื่องจากเป็นสวนสาธารณะประกอบพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 ประชาชนทั่วไปสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อน หรือออกกำลังกาย ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่จะได้รำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภายใต้บรรยากาศความร่มรื่นและภูมิทัศน์ที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา