“วิทยา” กำชับ สสจ.ทุกจังหวัดคุมมือเท้าปากเข้ม ส่วนเด็กตามแนวชายแดน ไม่พบติดเชื้อจากเพื่อนบ้าน วอนผู้บริหารโรงเรียนเข้าใจ ปิดโรงเรียนทำความสะอาด หลังพบเด็กป่วยเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรือเสียชื่อเสียง แต่เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อแพร่สู่เด็กอื่น ด้าน “หมอสุรวิทย์” เผย พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จากเสมหะในลำคอของเด็กเขมรตายที่ระยอง แต่ต้องรอผลสรุปจากผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง
วันนี้ (29 ก.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของโรคมือเท้าปาก ว่า สธ.ไม่ได้นิ่งนอนใจในการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปาก ขณะนี้ได้เร่งรัดประชุม กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาด ตัดวงจรเชื้ออย่างเต็มพิกัดทุกมาตรการ โดยไม่มีวันหยุด สถานการณ์ขณะนี้ยังพบเด็กป่วยประปรายหลายพื้นที่ เพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน โอกาสเกิดโรคในพื้นที่มีง่าย ส่วนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา หรือ ไทย-ลาว เช่น ที่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ สระแก้ว พบเด็กไทยป่วยเป็นมือเท้าปากบ้างตามปกติ แต่เด็กเหล่านี้ไม่ได้ติดเชื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับรายงานมีเด็กป่วยโรคมือเท้าปาก อายุ 1 ปี 4 เดือน อาศัยอยู่เขตชั้นในของพื้นที่ มีอาการหนัก เหนื่อยหอบ แพทย์ใส่เครื่องช่วยหายใจดูแลเต็มที่ ล่าสุดอาการดีขึ้น แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ได้ให้ทุกจังหวัดเร่งทำความเข้าใจผู้ปกครองทุกคน หากสงสัยว่าบุตรหลานเป็นมือเท้าปากเช่นมีไข้ มีตุ่มใสขี้นตามมือ ตามเท้า หรือในช่องปาก ขอให้พาไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ ดูแลความสะอาดส่วนบุคคล โดยเฉพาะการล้างมือบ่อยๆ จะตัดวงจรไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดดีที่สุด และทำความเข้าใจผู้บริหารโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชนทุกแห่ง ศูนย์เด็กเล็กและเนิร์สเซอรี ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ขอย้ำว่า การปิดโรงเรียนจากโรคมือเท้าปาก เป็นเรื่องปกติที่ดำเนินการในทุกประเทศ ไม่ใช่เรื่องน่าเสียหาย แต่เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันป้องกันและสร้างความปลอดภัยลูกหลานจากโรคนี้ และแสดงถึงมาตรฐานของโรงเรียนในการดูแลสุขภาพนักเรียนที่ดีมาก
ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าวว่า สถานการณ์โรคมือเท้าปากขณะนี้ ยังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง แต่พบในอัตราชะลอตัวลง เนื่องจากผลของมาตรการที่เคร่งครัด ทั้งสถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก ทำให้ตัดวงจรเชื้อได้เร็ว จำนวนผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2555 มีผู้ป่วยทั้งหมด 17,656 ราย เสียชีวิต 2 รายเท่าเดิม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบการแพทย์เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคนี้เป็นกรณีพิเศษ แม้ว่าความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าไข้เลือดออกก็ตาม โดยทุกแห่งมีกุมารแพทย์ มีเครื่องช่วยหายใจดูแลเต็มที่ และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 1 ชุด เป็นที่ปรึกษาแก่แพทย์ผู้รักษาตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน ผู้ปกครอง เมื่อเด็กป่วยให้รีบพามา อย่าปล่อยให้อาการหนัก เพราะโอกาสเสี่ยงการเสียชีวิตจะเพิ่ม เพราะโรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรง
ด้าน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อเตรียมความพร้อมสถานที่จัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคมือเท้าปากยังอยู่ในความสนใจของประชาชน โดยนายกรัฐมนตรีจะมอบนโยบายโรคมือเท้าปากในวันพรุ่งนี้ (30 ก.ค.) ด้วย ทั้งนี้ มาตรการที่ทางรัฐบาลได้ดำเนินการ ได้มอบให้ สธ.เป็นผู้ประสานงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นการทำงานเชิงรุก ครอบคลุมทั้งในเรื่องการเฝ้าระวังโรค การป้องกันควบคุมโรค การดูแลรักษา การให้สุขศึกษาและให้คำแนะนำประชาชน
นพ.สุรวิทย์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยยังสามารถควบคุมโรคมือเท้าปากได้ มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 1 ราย ส่วนอีก 1 รายเป็นเด็กกัมพูชาที่อยู่ในจังหวัดระยองที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ที่โรงพยาบาลแกลงนั้น ผลการตรวจเสมหะในลำคอ พบว่า เด็กรายดังกล่าวติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ชนิด บี5 ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการตรวจซ้ำถึง 3 ครั้ง เนื่องจากผล 2 ครั้งแรกไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ยังพบว่า ปริมาณเม็ดเลือดขาวของเด็กรายนี้ มีปริมาณสูงกว่าปกติ ซึ่งขัดแย้งกับการติดเชื้อไวรัส ทำให้อาจจะต้องสรุปอีกครั้งจากผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาก่อน ว่า มีการติดเชื้อชนิดอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เพราะจากผลการตรวจชันสูตรพบผลผู้เสียชีวิตมีอาการของหลายโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ เด็กยังมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ และพบอาการปอดอักเสบร่วมด้วย ส่วนสถานการณ์ผู้ป่วยในชุมชนเดียวกัน ซึ่งมีเด็กจำนวน 30 คน พบว่า มีเด็กป่วยทั้งหมด 11 คน โดยแพทย์ให้นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คน ซึ่งล่าสุดอาการปลอดภัยและกลับบ้านแล้ว
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า โรคมือเท้าปากจะมีระยะเวลาการระบาดของโรคอีกประมาณ 4 สัปดาห์ และจะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น พบได้ทุกปี โดยพบผู้ป่วยประปรายตลอดทั้งปี พบมากขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมีสภาพอากาศเย็นและชื้น
วันนี้ (29 ก.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของโรคมือเท้าปาก ว่า สธ.ไม่ได้นิ่งนอนใจในการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปาก ขณะนี้ได้เร่งรัดประชุม กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาด ตัดวงจรเชื้ออย่างเต็มพิกัดทุกมาตรการ โดยไม่มีวันหยุด สถานการณ์ขณะนี้ยังพบเด็กป่วยประปรายหลายพื้นที่ เพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน โอกาสเกิดโรคในพื้นที่มีง่าย ส่วนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา หรือ ไทย-ลาว เช่น ที่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ สระแก้ว พบเด็กไทยป่วยเป็นมือเท้าปากบ้างตามปกติ แต่เด็กเหล่านี้ไม่ได้ติดเชื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับรายงานมีเด็กป่วยโรคมือเท้าปาก อายุ 1 ปี 4 เดือน อาศัยอยู่เขตชั้นในของพื้นที่ มีอาการหนัก เหนื่อยหอบ แพทย์ใส่เครื่องช่วยหายใจดูแลเต็มที่ ล่าสุดอาการดีขึ้น แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ได้ให้ทุกจังหวัดเร่งทำความเข้าใจผู้ปกครองทุกคน หากสงสัยว่าบุตรหลานเป็นมือเท้าปากเช่นมีไข้ มีตุ่มใสขี้นตามมือ ตามเท้า หรือในช่องปาก ขอให้พาไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ ดูแลความสะอาดส่วนบุคคล โดยเฉพาะการล้างมือบ่อยๆ จะตัดวงจรไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดดีที่สุด และทำความเข้าใจผู้บริหารโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชนทุกแห่ง ศูนย์เด็กเล็กและเนิร์สเซอรี ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ขอย้ำว่า การปิดโรงเรียนจากโรคมือเท้าปาก เป็นเรื่องปกติที่ดำเนินการในทุกประเทศ ไม่ใช่เรื่องน่าเสียหาย แต่เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันป้องกันและสร้างความปลอดภัยลูกหลานจากโรคนี้ และแสดงถึงมาตรฐานของโรงเรียนในการดูแลสุขภาพนักเรียนที่ดีมาก
ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าวว่า สถานการณ์โรคมือเท้าปากขณะนี้ ยังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง แต่พบในอัตราชะลอตัวลง เนื่องจากผลของมาตรการที่เคร่งครัด ทั้งสถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก ทำให้ตัดวงจรเชื้อได้เร็ว จำนวนผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2555 มีผู้ป่วยทั้งหมด 17,656 ราย เสียชีวิต 2 รายเท่าเดิม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบการแพทย์เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคนี้เป็นกรณีพิเศษ แม้ว่าความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าไข้เลือดออกก็ตาม โดยทุกแห่งมีกุมารแพทย์ มีเครื่องช่วยหายใจดูแลเต็มที่ และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 1 ชุด เป็นที่ปรึกษาแก่แพทย์ผู้รักษาตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน ผู้ปกครอง เมื่อเด็กป่วยให้รีบพามา อย่าปล่อยให้อาการหนัก เพราะโอกาสเสี่ยงการเสียชีวิตจะเพิ่ม เพราะโรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรง
ด้าน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อเตรียมความพร้อมสถานที่จัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคมือเท้าปากยังอยู่ในความสนใจของประชาชน โดยนายกรัฐมนตรีจะมอบนโยบายโรคมือเท้าปากในวันพรุ่งนี้ (30 ก.ค.) ด้วย ทั้งนี้ มาตรการที่ทางรัฐบาลได้ดำเนินการ ได้มอบให้ สธ.เป็นผู้ประสานงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นการทำงานเชิงรุก ครอบคลุมทั้งในเรื่องการเฝ้าระวังโรค การป้องกันควบคุมโรค การดูแลรักษา การให้สุขศึกษาและให้คำแนะนำประชาชน
นพ.สุรวิทย์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยยังสามารถควบคุมโรคมือเท้าปากได้ มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 1 ราย ส่วนอีก 1 รายเป็นเด็กกัมพูชาที่อยู่ในจังหวัดระยองที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ที่โรงพยาบาลแกลงนั้น ผลการตรวจเสมหะในลำคอ พบว่า เด็กรายดังกล่าวติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ชนิด บี5 ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการตรวจซ้ำถึง 3 ครั้ง เนื่องจากผล 2 ครั้งแรกไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ยังพบว่า ปริมาณเม็ดเลือดขาวของเด็กรายนี้ มีปริมาณสูงกว่าปกติ ซึ่งขัดแย้งกับการติดเชื้อไวรัส ทำให้อาจจะต้องสรุปอีกครั้งจากผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาก่อน ว่า มีการติดเชื้อชนิดอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เพราะจากผลการตรวจชันสูตรพบผลผู้เสียชีวิตมีอาการของหลายโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ เด็กยังมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ และพบอาการปอดอักเสบร่วมด้วย ส่วนสถานการณ์ผู้ป่วยในชุมชนเดียวกัน ซึ่งมีเด็กจำนวน 30 คน พบว่า มีเด็กป่วยทั้งหมด 11 คน โดยแพทย์ให้นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คน ซึ่งล่าสุดอาการปลอดภัยและกลับบ้านแล้ว
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า โรคมือเท้าปากจะมีระยะเวลาการระบาดของโรคอีกประมาณ 4 สัปดาห์ และจะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น พบได้ทุกปี โดยพบผู้ป่วยประปรายตลอดทั้งปี พบมากขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมีสภาพอากาศเย็นและชื้น