รพ.จุฬาฯ เจ๋ง คิดค้นอุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง โดยไม่ต้องผ่าตัดได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แพทย์เผยส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหัวใจพิการแต่กำเนิด
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าว “ผลสำเร็จ การคิดค้นอุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง โดยไม่ต้องผ่าตัด” โดย รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศูนย์โรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาเป็นผลสำเร็จในการคิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง โดยไม่ต้องผ่าตัด จึงนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่สามารถเลือกการรักษาแทนการผ่าตัดได้ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้รวดเร็วขึ้น นับเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ครั้งแรกโดยคนไทยที่สามารถผลิตอุปกรณ์เพื่อรักษาผู้ป่วยได้จริง
รศ.นพ.พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเด็ก ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ กล่าวว่า การคิดค้นอุปกรณ์ชิ้นนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปิดรูรั่วหัวใจห้องล่าง ซึ่งมีความพิเศษกว่าอุปกรณ์เดิม เพราะอุปกรณ์ชิ้นนี้ผลิตจากโลหะนิทินอล และเคลือบด้วยทองคำขาวจากนาโนเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากนี้ ยังมีความยืดหยุ่นสูงกว่าอุปกรณ์เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้นิเกิลทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อเหมือนอุปกรณ์เดิม ซึ่งจะช่วยลดอาการข้างเคียง อาทิ นิเกิลเข้ากระแสเลือด และการกดทับทางเดินเส้นประสาท และกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาภาวะหัวใจขัด (Heart Lock) ที่เกิดจากอุปกรณ์เดิม โดยภาวะดังกล่าวทำให้หัวใจห้องล่างเต้นช้ากว่าห้องบน ผู้ป่วยจึงต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2-8
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะเป็นการนำลวดนิทินอล มาสานและขึ้นรูปเป็นอุปกรณ์ที่สามารถปิดรูรั่วได้ดี และเปลี่ยนโครงสร้างของแกนกลางทำให้เกิดแรงกดบนเนื้อเยื่อรอบข้างน้อยที่สุด และได้ออกแบบรูปร่างของอุปกรณ์เป็น 3 แบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะที่แตกต่างกันของรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง สำหรับการใช้งานนั้น แพทย์จะเจาะรู 2 รู บริเวณเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง ที่ขาหนีบ ซึ่งมีขนาดเพียง 2 มิลลิเมตร และใช้อุปกรณ์ใหม่นี้ใส่เข้าไปในลวดตัวนำ คล้ายๆ ท่อนำผ่านอุปกรณ์เข้าสู่หัวใจห้องล่างที่มีรูรั่ว และยิงอุปกรณ์ปิดรูรั่วนั้นๆ ซึ่งหลังการใส่อุปกรณ์แพทย์จะสังเกตอาการผู้ป่วย 1 คืนก็สามารถกลับบ้านได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ ยังไม่ได้กำหนดราคา แต่จากการที่จุฬาฯ ร่วมพัฒนาได้ขอให้มีการกำหนดราคาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในประเทศ ไม่ให้เดือดร้อน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับอุปกรณ์เดิมอยู่ที่ 55,000 บาท
“ผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งปัจจุบันตัวเลขเด็กที่มีปัญหาหัวใจพิการแต่กำเนิดอยู่ที่ 8 ต่อหนึ่งพันราย ส่วนเด็กที่มีรอยรั่วหัวใจจะมีอัตราส่วนร้อยละ 30 ของเด็กที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิด และอาจมีหลายปัจจัยร่วมด้วย อาทิ หัวใจตีบตัน รูรั่วหัวใจบน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในการใช้ คือ แพทย์จะพิจารณาถึงตำแหน่ง และขนาดของรูรั่ว หากตำแหน่งอยู่ใกล้กับทางเดินเส้นประสาท และขนาดรูรั่วใหญ่เกิน แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัด สำหรับในเด็กนั้น หากมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 8 กิโลกรัม แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเช่นเดียวกัน” นพ.พรเทพ กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับการคิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าว ไม่ใช่อุปกรณ์ชิ้นแรกในโลก เพราะมีการใช้มาร่วมกว่า 30 ปี เพียงแต่ผลไม่ค่อยดี เนื่องจากมีผลข้างเคียง จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นนี้ขึ้น ซึ่งมีการใส่อุปกรณ์ชิ้นนี้ไปแล้ว 16 ราย สามารถทำการปิดรูรั่วสำเร็จ 12 ราย โดย 2 ราย ใส่ไปแล้ว แต่เกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อน อุปกรณ์ปิดไม่สนิท เส้นเลือดแดงแตก ส่วนอีก 2 ราย เกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจหลังการผ่าตัด และเม็ดเลือดแดงแตก จึงต้องหยุดทำทันที และแนะนำให้ทำการผ่าตัดแทน ทั้งนี้ จากการติดตามผู้ป่วยภายหลังการใส่อุปกรณ์ พบว่า ผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้น และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการใส่อุปกรณ์แต่อย่างใด
รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์ กล่าวว่า นอกจากการรักษาผู้ป่วยที่มีผนังกั้นหัวใจพิการแต่กำเนิดแล้ว ในผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งในบางรายกล้ามเนื้อบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องล่างมีการเปื่อยยุ่ยและทะลุ เกิดเป็นรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิมและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาที่เป็นมาตรฐาน คือ การผ่าตัดเย็บปิดรูรั่ว แต่เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดสูงมาก การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์ปิดผนังกั้นหัวใจที่รั่วนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ศูนย์โรคหัวใจได้ทำการรักษาผู้ป่วยรายแรกที่มีอาการหอบเหนื่อย และมีภาวะหัวใจล้มเหลวจากโรคดังกล่าวด้วยอุปกรณ์ชนิดใหม่นี้ เมื่อหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา ภายหลังการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่องและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ควบคุมไขมันในเลือด หยุดการสูบบุหรี่ รักษาความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ
ผศ.พญ.สมนพร บุณยะรัตเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด ฝ่ายอายุรศาสตร์ กล่าวว่า ขั้นตอนของการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ดังกล่าว ต้องมีการประเมินขนาดและตำแหน่งของรูรั่วว่าเหมาะสมที่จะปิดด้วยอุปกรณ์หรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการตรวจประเมินโดยใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือ Echo ทั้งแบบผ่านผนังทรวงอกและบางรายอาจต้องกลืนสายเพื่อตรวจผ่านหลอดอาหาร เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดเจนขึ้น การทำงานประสานกันของทีมผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจสามมิติในการตรวจแสดงภาพ เป็นผลให้สามารถเลือกวิธี ชนิด และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ในขณะปิดรูรั่ว แพทย์จะใช้ข้อมูลจากการสวนหัวใจร่วมกับข้อมูลจาก Echo ในการวางตำแหน่งอุปกรณ์ และประเมินผลการปิดรูรั่ว ส่วนการติดตามผลในระยะยาว ซึ่งมีความสำคัญมาก นอกจากการตรวจพื้นฐานแล้ว แพทย์จะตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเป็นระยะ เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลได้ดี ไม่มีรังสี สามารถตรวจซ้ำได้โดยไม่เป็นอันตราย และค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก
นายสุดศิลป์ ศรีสุวรรณ อายุ 57 ปี ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีผนังหัวใจรั่ว กล่าวว่า ก่อนจะรับการผ่าตัด มีอาการเหนื่อยง่าย แม้จะเดินเข้าห้องน้ำยังต้องหยุดพักอย่างน้อย 2-3 ครั้ง แต่หลังรับการผ่าตัดไม่มีอาการเหนื่อยเหมือนที่ผ่านมา สามารถทำงานได้ตามปกติ เดินขึ้นบันไดได้ และไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าว “ผลสำเร็จ การคิดค้นอุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง โดยไม่ต้องผ่าตัด” โดย รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศูนย์โรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาเป็นผลสำเร็จในการคิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง โดยไม่ต้องผ่าตัด จึงนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่สามารถเลือกการรักษาแทนการผ่าตัดได้ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้รวดเร็วขึ้น นับเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ครั้งแรกโดยคนไทยที่สามารถผลิตอุปกรณ์เพื่อรักษาผู้ป่วยได้จริง
รศ.นพ.พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเด็ก ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ กล่าวว่า การคิดค้นอุปกรณ์ชิ้นนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปิดรูรั่วหัวใจห้องล่าง ซึ่งมีความพิเศษกว่าอุปกรณ์เดิม เพราะอุปกรณ์ชิ้นนี้ผลิตจากโลหะนิทินอล และเคลือบด้วยทองคำขาวจากนาโนเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากนี้ ยังมีความยืดหยุ่นสูงกว่าอุปกรณ์เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้นิเกิลทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อเหมือนอุปกรณ์เดิม ซึ่งจะช่วยลดอาการข้างเคียง อาทิ นิเกิลเข้ากระแสเลือด และการกดทับทางเดินเส้นประสาท และกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาภาวะหัวใจขัด (Heart Lock) ที่เกิดจากอุปกรณ์เดิม โดยภาวะดังกล่าวทำให้หัวใจห้องล่างเต้นช้ากว่าห้องบน ผู้ป่วยจึงต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2-8
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะเป็นการนำลวดนิทินอล มาสานและขึ้นรูปเป็นอุปกรณ์ที่สามารถปิดรูรั่วได้ดี และเปลี่ยนโครงสร้างของแกนกลางทำให้เกิดแรงกดบนเนื้อเยื่อรอบข้างน้อยที่สุด และได้ออกแบบรูปร่างของอุปกรณ์เป็น 3 แบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะที่แตกต่างกันของรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง สำหรับการใช้งานนั้น แพทย์จะเจาะรู 2 รู บริเวณเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง ที่ขาหนีบ ซึ่งมีขนาดเพียง 2 มิลลิเมตร และใช้อุปกรณ์ใหม่นี้ใส่เข้าไปในลวดตัวนำ คล้ายๆ ท่อนำผ่านอุปกรณ์เข้าสู่หัวใจห้องล่างที่มีรูรั่ว และยิงอุปกรณ์ปิดรูรั่วนั้นๆ ซึ่งหลังการใส่อุปกรณ์แพทย์จะสังเกตอาการผู้ป่วย 1 คืนก็สามารถกลับบ้านได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ ยังไม่ได้กำหนดราคา แต่จากการที่จุฬาฯ ร่วมพัฒนาได้ขอให้มีการกำหนดราคาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในประเทศ ไม่ให้เดือดร้อน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับอุปกรณ์เดิมอยู่ที่ 55,000 บาท
“ผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งปัจจุบันตัวเลขเด็กที่มีปัญหาหัวใจพิการแต่กำเนิดอยู่ที่ 8 ต่อหนึ่งพันราย ส่วนเด็กที่มีรอยรั่วหัวใจจะมีอัตราส่วนร้อยละ 30 ของเด็กที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิด และอาจมีหลายปัจจัยร่วมด้วย อาทิ หัวใจตีบตัน รูรั่วหัวใจบน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในการใช้ คือ แพทย์จะพิจารณาถึงตำแหน่ง และขนาดของรูรั่ว หากตำแหน่งอยู่ใกล้กับทางเดินเส้นประสาท และขนาดรูรั่วใหญ่เกิน แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัด สำหรับในเด็กนั้น หากมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 8 กิโลกรัม แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเช่นเดียวกัน” นพ.พรเทพ กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับการคิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าว ไม่ใช่อุปกรณ์ชิ้นแรกในโลก เพราะมีการใช้มาร่วมกว่า 30 ปี เพียงแต่ผลไม่ค่อยดี เนื่องจากมีผลข้างเคียง จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นนี้ขึ้น ซึ่งมีการใส่อุปกรณ์ชิ้นนี้ไปแล้ว 16 ราย สามารถทำการปิดรูรั่วสำเร็จ 12 ราย โดย 2 ราย ใส่ไปแล้ว แต่เกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อน อุปกรณ์ปิดไม่สนิท เส้นเลือดแดงแตก ส่วนอีก 2 ราย เกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจหลังการผ่าตัด และเม็ดเลือดแดงแตก จึงต้องหยุดทำทันที และแนะนำให้ทำการผ่าตัดแทน ทั้งนี้ จากการติดตามผู้ป่วยภายหลังการใส่อุปกรณ์ พบว่า ผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้น และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการใส่อุปกรณ์แต่อย่างใด
รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์ กล่าวว่า นอกจากการรักษาผู้ป่วยที่มีผนังกั้นหัวใจพิการแต่กำเนิดแล้ว ในผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งในบางรายกล้ามเนื้อบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องล่างมีการเปื่อยยุ่ยและทะลุ เกิดเป็นรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิมและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาที่เป็นมาตรฐาน คือ การผ่าตัดเย็บปิดรูรั่ว แต่เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดสูงมาก การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์ปิดผนังกั้นหัวใจที่รั่วนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ศูนย์โรคหัวใจได้ทำการรักษาผู้ป่วยรายแรกที่มีอาการหอบเหนื่อย และมีภาวะหัวใจล้มเหลวจากโรคดังกล่าวด้วยอุปกรณ์ชนิดใหม่นี้ เมื่อหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา ภายหลังการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่องและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ควบคุมไขมันในเลือด หยุดการสูบบุหรี่ รักษาความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ
ผศ.พญ.สมนพร บุณยะรัตเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด ฝ่ายอายุรศาสตร์ กล่าวว่า ขั้นตอนของการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ดังกล่าว ต้องมีการประเมินขนาดและตำแหน่งของรูรั่วว่าเหมาะสมที่จะปิดด้วยอุปกรณ์หรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการตรวจประเมินโดยใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือ Echo ทั้งแบบผ่านผนังทรวงอกและบางรายอาจต้องกลืนสายเพื่อตรวจผ่านหลอดอาหาร เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดเจนขึ้น การทำงานประสานกันของทีมผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจสามมิติในการตรวจแสดงภาพ เป็นผลให้สามารถเลือกวิธี ชนิด และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ในขณะปิดรูรั่ว แพทย์จะใช้ข้อมูลจากการสวนหัวใจร่วมกับข้อมูลจาก Echo ในการวางตำแหน่งอุปกรณ์ และประเมินผลการปิดรูรั่ว ส่วนการติดตามผลในระยะยาว ซึ่งมีความสำคัญมาก นอกจากการตรวจพื้นฐานแล้ว แพทย์จะตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเป็นระยะ เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลได้ดี ไม่มีรังสี สามารถตรวจซ้ำได้โดยไม่เป็นอันตราย และค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก
นายสุดศิลป์ ศรีสุวรรณ อายุ 57 ปี ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีผนังหัวใจรั่ว กล่าวว่า ก่อนจะรับการผ่าตัด มีอาการเหนื่อยง่าย แม้จะเดินเข้าห้องน้ำยังต้องหยุดพักอย่างน้อย 2-3 ครั้ง แต่หลังรับการผ่าตัดไม่มีอาการเหนื่อยเหมือนที่ผ่านมา สามารถทำงานได้ตามปกติ เดินขึ้นบันไดได้ และไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ