ศธ.ชงแผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษา 4 ประเด็น เสนอนายกฯ พรุ่งนี้
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (26 ก.ค.) ตนจะเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานแผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษา ในภาพรวม 4 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น 1.โอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นประเด็นที่ชาติสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญ โดยรัฐบาลของทุกประเทศกำลังพยายามขับเคลื่อนให้ประชาชนในประเทศเข้าถึงการศึกษาทุกคน ซึ่งเบื้องต้นจำเป็นต้องระบุตัวชี้วัดให้ได้ว่า จากนี้จนถึงปี 2558 มีประชากรในชาติสมาชิก รวมถึงประชากรไทย ได้รับโอกาสทางการศึกษา ทั้งการศึกษาภาคบังคับ การศึกษานอกระบบตามอัธยาศัย หรือเรียนด้วยตัวเอง มากขึ้นจำนวนเท่าไหร่
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า 2.การพัฒนามาตรฐานและทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยเตรียมเสนอให้เป็นหลักสูตรมาตรฐานอาเซียน โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงชั้น คือ ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีทั้งหมด 7 สาขาวิชา อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรียนรู้ประชาธิปไตย หรือ อัตลักษณ์ ความเป็นอาเซียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการพัฒนาครู การเทียบโอนวุฒิการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการเปิด-ปิดเรียนตรงกัน
3.แรงงาน ที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงแรงงาน โดยเบื้องต้นนักเรียน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำเป็นต้องหมุนเวียนทำงานระหว่างประเทศได้ เพื่อเป็นทิศทางกำหนดให้ผลิตคนได้ตรงตามความต้องการของตลาด โดยต่อไปนี้การจัดการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานของประเทศตัวเอง และประเทศสมาชิกอาเซียน และ 4.วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสมาชิกทุกประเทศให้ความสำคัญอย่างมาก ฉะนั้นการเรียนทางไกลผ่านเว็บไซต์ ดาวเทียม ศูนย์วิทยาศาสตร์ หรือคอมพิวเตอร์พกพาแท็บเล็ต จะต้องมีศักยภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งภาพรวมทั้ง 4 เรื่องนี้ นายกฯ ได้กำชับให้รายงานเรื่องโอกาส ศักยภาพ อุปสรรค ตลอดจนข้อดี ข้อเสียเมื่อเปรียบกับประเทศอื่นๆ ให้ทราบด้วย
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (26 ก.ค.) ตนจะเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานแผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษา ในภาพรวม 4 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น 1.โอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นประเด็นที่ชาติสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญ โดยรัฐบาลของทุกประเทศกำลังพยายามขับเคลื่อนให้ประชาชนในประเทศเข้าถึงการศึกษาทุกคน ซึ่งเบื้องต้นจำเป็นต้องระบุตัวชี้วัดให้ได้ว่า จากนี้จนถึงปี 2558 มีประชากรในชาติสมาชิก รวมถึงประชากรไทย ได้รับโอกาสทางการศึกษา ทั้งการศึกษาภาคบังคับ การศึกษานอกระบบตามอัธยาศัย หรือเรียนด้วยตัวเอง มากขึ้นจำนวนเท่าไหร่
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า 2.การพัฒนามาตรฐานและทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยเตรียมเสนอให้เป็นหลักสูตรมาตรฐานอาเซียน โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงชั้น คือ ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีทั้งหมด 7 สาขาวิชา อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรียนรู้ประชาธิปไตย หรือ อัตลักษณ์ ความเป็นอาเซียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการพัฒนาครู การเทียบโอนวุฒิการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการเปิด-ปิดเรียนตรงกัน
3.แรงงาน ที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงแรงงาน โดยเบื้องต้นนักเรียน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำเป็นต้องหมุนเวียนทำงานระหว่างประเทศได้ เพื่อเป็นทิศทางกำหนดให้ผลิตคนได้ตรงตามความต้องการของตลาด โดยต่อไปนี้การจัดการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานของประเทศตัวเอง และประเทศสมาชิกอาเซียน และ 4.วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสมาชิกทุกประเทศให้ความสำคัญอย่างมาก ฉะนั้นการเรียนทางไกลผ่านเว็บไซต์ ดาวเทียม ศูนย์วิทยาศาสตร์ หรือคอมพิวเตอร์พกพาแท็บเล็ต จะต้องมีศักยภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งภาพรวมทั้ง 4 เรื่องนี้ นายกฯ ได้กำชับให้รายงานเรื่องโอกาส ศักยภาพ อุปสรรค ตลอดจนข้อดี ข้อเสียเมื่อเปรียบกับประเทศอื่นๆ ให้ทราบด้วย